ประเด็นคำถามการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

21/12/2016

16. Computer Assisted Instruction (CAI) จัดเป็นผลงานทางวิชาการประเภทใด และใช้ขอตำแหน่งในระดับใดได้บ้าง?

ตอบ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เช่น CD-ROM ใช้แทนตำราหรือหนังสือในการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้
21/12/2016

15. E-Book จัดเป็นตำราที่ใช้ขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่ ใช้ขอในระดับใดได้บ้างและต้องมี Hard Copy หรือไม่?

ตอบ หากเสนอผลงานประเภทตำราหรือหนังสือ ในรูปแบบ e-book ต้องมีรูปแบบและการเผยแพร่เป็นไปตามคำนิยามของตำรา หรือหนังสือที่กำหนด และต้องพิมพ์รายละเอียดให้คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิฯ พิจารณา
21/12/2016

14. การเขียน Review ลงในวารสารที่มี Impact Factor ให้นับเป็นหนังสือหรืองานวิจัยหรือไม่?

ตอบ – พนักงานมหาวิทยาลัยที่เสนอขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ สามารถเสนอบทความทางวิชาการ (scholarly article หรือ learned article) ที่เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติในฐานข้อมูลที่มี impact factor ในสาขาวิชาที่เสนอขอ และได้รับการเผยแพร่แล้ว โดยผู้ขอแต่งตั้งเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ดำเนินการหลัก และมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือเป็น corresponding author – พนักงานมหาวิทยาลัยที่เสนอขอตำแหน่งศาสตราจารย์ สามารถเสนองานวิจัยรวมกับบทความทางวิชาการ (scholarly article […]
21/12/2016

13. การขอตำแหน่ง รองศาสตราจารย์ สามารถใช้ตำรา 1 บท ที่มีจำนวนหน้ามาก แต่มีส่วนร่วมน้อยกว่าร้อยละ 50 เพื่อนับเป็นผลงานทางวิชาการ 1 ชิ้นได้หรือไม่ (เนื่องจากเมื่อคำนวนสัดส่วนแล้วยังมีจำนวนหน้ามากกว่า หนังสือ/ตำรา 1 บท ที่มีผู้เขียนเพียงคนเดียว)?

ตอบ  เกณฑ์การขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ข้าราชการ : ตำราหรือหนังสือที่ผู้เสนอขอตำแหน่งเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ดำเนินการหลัก โดยการมีส่วนร่วมให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด พนักงานมหาวิทยาลัย: ตำราหรือหนังสือที่ผู้เสนอขอตำแหน่งเป็นเจ้าของ และเป็นผู้ดำเนินการหลัก และมีส่วนร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 หรือเป็น corresponding author