ประเด็นคำถามการเสนอขอตำแหน่งของสายสนับสนุน

30/08/2016

3. กรณีนำเสนอบทความวิจัยด้วยโปสเตอร์ แต่หลังการนำเสนอ ที่ประชุมรวมบทความวิจัยเป็น Proceeding จะสามารถนำมาขอตำแหน่งชำนาญการพิเศษได้หรือไม่?

ตอบ กรณีเสนอผลงานที่ใช้ในการเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น ประเภทผลงานวิจัย สามารถนำเสนอในลักษณะใดลักษณะหนึ่ง ดังนี้ 1. เผยแพร่ในรูปของบทความวิจัยในวารสารทางวิชาการ ทั้งนี้วารสารทางวิชาการนั้น อาจเผยแพร่เป็นรูปเล่ม สิ่งพิมพ์หรือเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีกำหนดการเผยแพร่อย่างแน่นอน ชัดเจน 2. เผยแพร่ในหนังสือรวมบทความวิจัยในรูปแบบอื่นที่มีกองบรรณาธิการประเมินและตรวจสอบคุณภาพ 3. นำเสนอเป็นบทความวิจัยต่อที่ประชุมวิชาการ ซึ่งภายหลังจากการประชุมทางวิชาการ ได้มีกองบรรณาธิการนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) ของการประชุมทางวิชาการนั้นกรณีเสนอ Proceedings ขอให้ระบุรายละเอียดของวัน เวลา สถานที่จัดประชุม และแนบรายชื่อคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่กลั่นกรองบทความก่อนนำไปรวมเล่มเผยแพร่ในหนังสือประมวลผลการประชุมทางวิชาการ (Proceedings) 4. […]
30/08/2016

4. กรณีที่นำเสนอแบบโปสเตอร์แต่ได้รับการรวบรวมบทความเป็น Proceeding ก็ถือว่าได้ใช่หรือไม่ อย่างไร?

ตอบ กรณีการรวบรวมบทความเป็น Proceeding ต้องเป็นการรวมโดยมีหัวข้อและเนื้อหาที่ครบถ้วน ซึ่งไม่ใช่การรวบรวมใน ลักษณะรวมบทคัดย่อ
30/08/2016

5. เรื่องคุณภาพของผลงาน ความหมายของผลงานที่นำเสนอมีคุณภาพในระดับ “ดี” วัดจากอะไร หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร?

ตอบ ระดับคุณภาพของผลงาน readers จะเป็นผู้ประเมินและพิจารณาจากผลงานคะ ตัวอย่างเช่น เสนอผลงานประเภทคู่มือ ปฏิบัติงาน เกณฑ์ผ่านต้องมีคุณภาพในระดับ “ดี” โดยพิจารณาจากคู่มือปฏิบัติงานที่มีเนื้อหาสาระทางวิชาการถูกต้อง สมบูรณ์ และทันสมัยมีแนวคิด และการนำเสนอที่ชัดเจนเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการและวิชาชีพ ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดต่างๆ ได้ในประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินเพื่อแต่งตั้ง พนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่งผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ พ.ศ.2556 ซึ่งในประกาศดังกล่าวจะมีหลักเกณฑ์การขอตำแหน่ง ประเภทผลงาน ระดับคุณภาพของผลงานประเภทต่างๆ […]
30/08/2016

7. จากประกาศคณะกรรมการพิจารณาตำแหน่งทางวิชาการ มหาวิทยาลัยมหิดล เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งตำแหน่งทางวิชาการของพนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน) พนักงานวิทยาลัย และอาจารย์พิเศษ พ.ศ.๒๕๕๕

ตอบ  ข้าราชการ และพนักงานมหาวิทยาลัยที่จะเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการในตำแหน่งที่สูงขึ้น ต้องมีผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ หากผลงานทางวิชาการที่เพิ่มขึ้นนั้นมีส่วนร่วมเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดก็จะเป็นผลดีต่อการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ