งานบริหารสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ (HR Welfare & Benefit Unit)

หน้าที่และความรับผิดชอบ

ดำเนินการเกี่ยวกับการกำกับ ดูแลงานด้านสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของบุคลากรทุกประเภท ตลอดจนวิเคราะห์หาแนวทางและดำเนินการจัดสวัสดิการรูปแบบใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของบุคลากร และสอดคล้องกับนโยบายของมหาวิทยาลัย ในกระบวนการต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

1. การรักษาพยาบาลข้าราชการ/ข้าราชการบำนาญ/ลูกจ้างประจำ

  1. การดำเนินการเกี่ยวกับการเบิกจ่ายตรงเงินสวัสดิการรักษาพยาบาล
  2. การบันทึกข้อมูลการเปลี่ยนแปลงประวัติของผู้มีสิทธิรับการให้บริการ

2. การดำเนินการสิทธิประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน (พนักงานมหาวิทยาลัย/พนักงานชื่อส่วนงาน/ลูกจ้างเงินรายได้)

  1. การแจ้งเข้า/ออกจากประกันสังคม
  2. การออกบัตรประจำตัว / การเลือกสถานพยาบาล
  3. การดำเนินการเบิกจ่ายสิทธิต่างๆ ตามสิทธิประกันสังคม
  4. การติดตาม การประสานงาน ตรวจสอบสิทธิประกันสังคมของบุคลากรในมหาวิทยาลัย

3. การเบิกค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนสวัสดิการพนักงานมหาวิทยาลัย

  1. การตรวจสอบและเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของพนักงานมหาวิทยาลัย/พ.ส. (กรณีปกติวงเงิน 20,000 บาท Co-pay 25,000 บาท)
  2. การขออนุมัติเบิกจ่ายกรณีการเบิกเกินวงเงินตามสิทธิ

4. สวัสดิการแบบยืดหยุ่นด้านสุขภาพ (Flexible Benefit)

  1. การเปิดสิทธิและการตรวจสอบสิทธิของพนักงาน
  2. การตรวจสอบและการเบิกจ่ายเงินสวัสดิการ (Flexible Benefit) ในสำนักงานอธิการบดี
  3. การตรวจสอบ  แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการดำเนินการของส่วนงานต่างๆ
  4. การพิจารณาเพิ่มเติมปรับปรุงการจัดสวัสดิการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

5. การตรวจสุขภาพประจำปีของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี

การประสานงานกับหน่วยงานผู้ให้บริการ และหน่วยงานภายในสำนักงานอธิการบดี

6. การจัดสวัสดิการอื่นๆ

  1. การจัดทำประกัน Covid-19 กับบุคลากร
  2. การประสานงานฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่
1. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพมหาวิทยาลัยมหิดล (กสช.)
  1. การดำเนินการยื่นสมัครเข้ากองทุน  การเปลี่ยนแปลงข้อมูล และการออกจากกองทุน
  2. การตรวจสอบและการติดตามส่งเงินเข้ากองทุน
  3. การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เพื่อสมาชิกปรับเปลี่ยนการลงทน
  4. การเบิกจ่ายเงินกองทุนเมื่อสมาชิกพ้นสภาพ
  5. การดำเนินการในฐานฝ่ายเลขานุการกองทุนเพื่อปรับปรุง และพัฒนาการลงทุนให้ดียิ่งขึ้น
2. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับลูกจ้างประจำของส่วนราชการ (กสจ.)
  1. การดำเนินการยื่นสมัครเข้ากองทุน  การเปลี่ยนแปลงข้อมูล และการออกจากกองทุน
  2. การตรวจสอบและการติดตามส่งเงินเข้ากองทุน
  3. การเบิกจ่ายเงินกองทุนเมื่อสมาชิกพ้นสภาพ
3. สวัสดิการด้านการเงินการธนาคารสำหรับบุคลากร
  1. การพิจารณาการจัดทำ MOU กับธนาคารและสถาบันการเงินที่ประสงค์จะทำกับมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมี 7 หน่วยงาน ได้แก่ ธ.กรุงเทพ ธ.กรุงไทย ธ.ออมสิน ธ.อาคารสงเคราะห์ ธ.ธนชาต  ธ.ไทยพาณิชย์ ธ.อิสลาม
  2. การออกหนังสือรับรองกับบุคลากรเพื่ออำนวยความสะดวกในการกู้ยืม
  3. การตดตามและตรวจสอบการกู้ยืม
4. สวัสดิการอื่นๆ
  1. การทำประกันชีวิต
  2. บริการส่วนลดต่างๆ
  3. โครงการสวัสดิการกู้ยืมอื่นๆ เช่น ส่วนลดค่าธรรมเนียมโรงเรียนสาธิตนานาชาติ, การให้ยืมเงินสวัสดิการเพื่อการศึกษาของบุคลากร ช่วง Covid-19
1. การเสนอขอเครื่องราชอิสริยาภรณ์  เหรียญดุษฎีมาลา และเข็มศิลปวิทยา 
  1. ดำเนินการในฐานะฝ่ายเลขานุการในการรวบรวมข้อมูล และตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับทุกประเภทให้ถูกต้อง
  2. ประสานงานกับส่วนงาน และหน่วยงานภายนอกในการจัดส่งข้อมูล การรับเครื่องราชย์ และใบประกาศฯ
  3. แจ้งปรับปรุงการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน
2. รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล
  1. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการพิจารณารางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล   รวมทั้งแต่งตั้ง ประสานงานกับฝ่ายเลขานุการอนุกรรมการ  ในการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัล
  2. ประสานงานและติดต่อกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ได้รับรางวัลได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างภาคภูมิใจ
  3. ติดตามและประสานงาน แก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงการพิจารณารางวัลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
3. รางวัลข้าราชการ ลูกจ้าง และพนักงานมหาวิทยาลัยดีเด่นของมหาวิทยาลัย
  1. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการในการคัดเลือกผู้สมควรได้รับรางวัล
  2. ประสานงานและติดต่อกับผู้เกี่ยวข้อง เพื่อให้ผู้ได้รับรางวัลได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างภาคภูมิใจ
  3. ติดตามและประสานงาน แก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงการพิจารณารางวัลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
4. เข็มเครื่องหมายเชิดชูตามอายุงาน
  1. ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการในการตรวจสอบข้อมูลผู้ที่มีคุณสมบัติครบเพื่อเข้ารับเข็มเครื่องหมาย
  2. ประสานงานกับหน่วยงาน และส่วนงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ผู้ได้รับเข็มเครื่องหมายได้รับการเชิดชูเกียรติอย่างภาคภูมิใจ
  3. ติดตามและประสานงาน แก้ปัญหาเพื่อปรับปรุงการพิจารณารางวัลให้เหมาะสมยิ่งขึ้น
5. เกียรติบัตรสำหรับผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัย (เกษียณอายุ) ภาระงานตามข้อ 4
1. การลาหยุดงานตามสิทธิของบุคลากร (ลาป่วย/ลากิจส่วนตัว/ลาพักผ่อน/และการลาอื่นๆ)
  1. การลาตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีของข้าราชการ
  2. การลาหยุดงานของพนักงานมหาวิทยาลัย  พนักงานมหาวิทยาลัย(ชื่อส่วนงาน) ลูกจ้าง
  3. การลาของบุคลากรประเภทผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
  4. การขออนุมัติลาเกินสิทธิ
2. การลาเพื่อไปเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
  1. การลาไปราชการหรือประชุม ฯ ต่างประเทศ
  2. การลาไปประชุมสัมมนาในประเทศ (ระดับหัวหน้าส่วนงานขึ้นไป)
  3. การลาไปศึกษาต่อในระดับสูงขึ้น  การไปปฏิบัติงานวิจัย
  4. การไปปฏิบัติงานบริการวิชาการภายนอกมหาวิทยาลัย
1.  การจัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ /บัตรข้าราชการบำนาญ จัดทำบัตรประจำตัวเจ้าหน้าที่ของรัฐ/ บัตรข้าราชการบำนาญ และจัดส่งให้กับผู้ขอ
2. การจัดทำบัตรแสดงตนของบุคลากร
  1. จัดทำบัตรแสดงตนของบุคลากรในสำนักงานอธิการบดี
  2. ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำบัตรแสดงตนของส่วนงานต่างๆ
3. การเข้าปฏิบัติงานของบุคลากร
  1. ดูแลรับผิดชอบการบันทึกเวลาการเข้าออกเพื่อปฏิบัติงานของบุคลากร
  2. กำกับ ดูแล  และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการเข้าออกเพื่อปฏิบัติงานของบุคลากรของส่วนงานด่าง ๆ
  3. ปรับปรุง และพัฒนาการเข้าปฏิบัติงานของบุคลากรให้มีความเหมาะสม ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน
4. หนังสือรับรองการปฏิบัติงาน/รับรองเงินเดือน
5. เครื่องแต่งกายของพนักงานมหาวิทยาลัย กำกับ ดูแล  และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการแต่งเครื่องแบบของพนักงานมหาวิทยาลัย
1. การจัดการแข่งขันกีฬาของบุคลากรมหาวิทยาลัย
  1. ฝ่ายเลขานุการและผู้ดำเนินการของคณะกรรมการบริหารจัดการกีฬาบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล
  2. การจัดการและประสานงานการเข้าร่วมการแข่งขันกีฬาบุคลากรของมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ
2. การจัดกิจกรรมนันทนาการอื่นๆ
  1. กิจกรรมการส่งเสริมการเลิกสูบบุหรี่
  2. ส่งเสริมการจัดกิจกรรมนันทนาการในสำนักงานอธิการบดี
1.  กรณีพ้นจากงานของข้าราชการ/ลูกจ้างประจำ(กรณีปกติ)
  1. การยื่นรับบำเหน็จ/บำนาญ
  2. การรับบำเหน็จดำรงชีพ
2. กรณีการพ้นจากงานของพนักงานมหาวิทยาลัย/พนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่วนงาน)
  1. การยื่นรับเงินชดเชย
  2. การยื่นรับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  3. การยื่นรับเงินจากประกันสังคม
3. กรณีการเสียชีวิต
  1. การจ่ายเงินสงเคราะห์ และเงินช่วยพิเศษ
  2. การรับเงินบำเหน็จ บำนาญ และบำเหน็จตกทอด (ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ)
4. สวัสดิการอื่นๆ
  1. การจัดหาพวงหรีดเพื่อเคารพศพบุคลากรที่ถึงแก่กรรม
  2. การจัดหายานพาหนะ  หรือเงินช่วยเหลือ
1.  งานสารบรรณ การบริหารจัดการแฟ้มหนังสือเวียน และกิจกรรมวันนันทนาการ
  1. การรับเรื่องจากหน่วยงานและส่วนงานเพื่อส่งให้งานต่างดำเนินการ
  2. การรวบรวมเรื่องจากงานต่างๆ เพื่อเสนอผู้บริหารตามลำดับ
  3. การประสานออกเลขที่หนังสือ คำสั่งกับหน่วยงานบริหารเอกสารงานกลาง
  4. การติดตามและตรวจสอบเอกสาร
2. จัดระบบ กำกับ และตรวจสอบวันลาหยุด การสรุป ติดตามและกำกับให้บุคลากรภายในกองตรวจสอบการใช้วันลาหยุดให้ถูกต้อง
3.ดูแลเกี่ยวกับการเบิกจ่าย ค่าใช้จ่ายต่างๆ เงินยืมหมุนเวียนในกอง ตรวจรับพัสดุ
  1. ประสานงานและกำกับดูแลการเบิกจ่ายเงิน  การใช้เงินยืมของกองให้เป็นไปอย่างถูกต้องครบถ้วน
  2. ประสานกับผู้ที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการตรวจรับพัสดุ  ครุภัณฑ์
4. การดูแลพื้นที่ และอุปกรณ์ส่วนกลาง ดูแล รับผิดชอบ ในการใช้อุปกรณ์ส่วนกลางให้ใช้งานได้ดีอยู่เสมอ