เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
- การนอนหลับ (Sleeping)
- ภาวะ Panic ช่วงสอบ
บทเรียนออนไลน์
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
การดูแลตนเอง (self-care)
การจัดการความเครียด (Stress management)
ความเครียด เป็นการตอบสนองต่อร่างกายที่มากระตุ้น มีผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยา ในลักษณะสู้หรือหนี (Fight or flight) เพื่อรักษาภาวะสมดุล ซึ่งแต่ละคนตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม
ปฏิกิริยาเครียดและวิธีการจัดการ
ปฏิกิริยาเครียด |
วิธีการจัดการ |
ขั้นที่ 1 มีความเครียดต่ำๆ การรับรู้ดี ตื่นตัว มีการแสดงออกทางบวก กระตือรือร้น |
รักษาระดับความเครียดต่ำไว้ ไม่เพิ่มตัวกระตุ้น หรือสิ่งที่จะทำให้เครียดเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอและระบายออกอย่างเหมาะสม |
ขั้นที่ 2 เริ่มพลังถดถอย เครียด ปวดศีรษะ มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน |
พยายามรู้เท่าทัน เลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เครียด พูดคุยกับคนรอบข้าง ช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น โดยทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อให้อาการเหล่านั้นลดลง หรือใช้เทคนิคการผ่อนคลาย |
ขั้นที่ 3 เพิ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่เหมาะสม หงุดหงิด วิตกกังวล สมาธิไม่ดี กลัวอะไรที่บอกไม่ได้ เริ่มต่อต้าน |
สังเกต และพยายามควบคุมอาการ หรือลดอาการลง ถ้าไม่ดีขึ้นควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือต่อไป |
ขั้นที่ 4 ฮอร์โมน adrenaline หลั่ง ใจเต้นแรงและเร็ว เหงื่อออกชุ่ม ตัวสั่น อ่อนล้า ในที่สุดควบคุมอารมณ์ไม่ได้ |
ควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมิน อาจต้องใช้ยา ควบคู่กับการบำบัดทางจิตใจ หรือฝึกการผ่อนคลายความเครียด |
ขั้นที่ 5 หมดความอดทน (burn out) รู้สึกด้อยค่า ขมขื่น ไร้ความสามารถ มีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ หอบหืด ใจสั่น เจ็บหน้าแก ความดันโลหิตสูง ท้องผูก ท้องเสีย |
จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา รวมถึงฟื้นฟูสภาพจิตใจ |
วิธีการจัดการความเครียด
วิธีการ |
ตัวอย่าง |
ด้านความคิด |
ปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ |
ด้านอารมณ์ |
หาคนให้กำลังใจ สนับสนุน เป็นที่ปรึกษา สร้างอารมณ์ขัน |
ด้านพฤติกรรม |
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อลดความเครียด เช่น บริหารจัดการเวลาให้ดี |
ด้านร่างกาย |
ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อน ฝึกการผ่อนคลาย นั่งสมาธิ หรือกินยาตามแพทย์สั่ง |
5 ขั้นตอนสงบใจด้วยเทคนิค 54321 (Grounding Technique)
เทคนิคการตั้งหลัก/ตั้งสติหรือเราเรียกกันว่า Grounding Technique เป็นกระบวนการที่ช่วยนำพาความสงบใจกลับมาสู่ตัวเรา โดยสามารถใช้เมื่อเกิดความรู้สึกบางอย่างอย่างท่วมท้น เช่น รู้สึกเครียด วิตกกังวล ประหม่า Grounding Technique มีเทคนิควิธีมากมายหลายวิธี หนึ่งในนั้นที่น้อง ๆสามารถทำตามได้ง่าย ๆด้วยตนเองคือเทคนิค 54321 ซึ่งใช้การตั้งหลักโดยการพาการรับรู้ด้านต่าง ๆของเรากลับมาอยู่ที่ปัจจุบันขณะ และระบุการรับรู้นั้นออกมาเพื่อสร้างความตระหนักตัวเอง
ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าสะดวกสามารถลองทำตามไปด้วยกันได้เลย ถ้าพร้อมแล้ว 5-4-3-2-1 เริ่ม!
5 สิ่งที่มองเห็น เริ่มต้นจากตา กวาดสายตามองไปรอบ ๆตัว และระบุ 5 สิ่งที่เราเห็นตรงหน้าในตอนนี้มีอะไรบ้าง หรือจะตั้งโจทย์มากขึ้นเช่น มองหาสิ่งที่เป็นสีฟ้า/สีเขียว 5 รอบตัวเรา
4 สัมผัส ใช้ช่วงเวลานี้พาการรับรู้กลับมาอยู่กับร่างกายของเรา ตระหนักถึงสิ่งที่สัมผัสผิวกายของเราและระบุออกมา 4 อย่าง อาจจะเป็นสิ่งที่สัมผัสกับเราอยู่แล้วเช่นเสื้อผ้า เท้าที่สัมผัสพื้น หรือจะลองหาสิ่งของรอบตัวมาหยิบจับ เมื่อเรารับรู้ถึงสัมผัสเหล่านี้แล้วบอกได้ไหมว่าสัมผัสนั้นรู้สึกอย่างไร
3 เสียงที่ได้ยิน ให้เวลาตัวเองหยุดเงียบเพื่อฟัง ระบุ 3 เสียงรอบตัวที่ได้ยินอยู่ในขณะนี้
2 กลิ่น สังเกตการรับรู้ผ่านจมูกของเรากันบ้าง สูดดมกลิ่นรอบตัว ระบุ 2 กลิ่นที่เราสัมผัสได้ ตอบได้ไหมว่าแต่ละกลิ่นเป็นอย่างไร
1 ลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆช้า ๆนับ 1-2-3-4 ในใจ กลั้นลมหายใจพร้อมนับ 1-2 ในใจ ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้า ๆขณะนับในใจ 1-2-3-4 อยู่กับลมหายใจของเราได้มากเท่าที่ต้องการ เพื่อสร้างความพร้อมในการตั้งหลักตั้งสติและพร้อมไปต่อกับตัวเราเอง