เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)

การดูแลตนเอง (Self-care)

บทเรียนออนไลน์

ช่องทางการรับการปรึกษา

ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง

สถิติการให้บริการด้านสุขภาพใจ

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

การดูแลตนเอง (self-care)

การจัดการความเครียด (Stress management)

ความเครียด เป็นการตอบสนองต่อร่างกายที่มากระตุ้น มีผลให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยา ในลักษณะสู้หรือหนี (Fight or flight) เพื่อรักษาภาวะสมดุล ซึ่งแต่ละคนตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและสิ่งแวดล้อม

ปฏิกิริยาเครียดและวิธีการจัดการ

ปฏิกิริยาเครียด
วิธีการจัดการ
ขั้นที่ 1 มีความเครียดต่ำๆ การรับรู้ดี ตื่นตัว มีการแสดงออกทางบวก กระตือรือร้น
รักษาระดับความเครียดต่ำไว้ ไม่เพิ่มตัวกระตุ้น หรือสิ่งที่จะทำให้เครียดเพิ่มมากขึ้น พักผ่อนให้เพียงพอและระบายออกอย่างเหมาะสม
ขั้นที่ 2 เริ่มพลังถดถอย เครียด ปวดศีรษะ มีปัญหาเกี่ยวกับการนอน
พยายามรู้เท่าทัน เลี่ยงสถานการณ์ที่ทำให้เครียด พูดคุยกับคนรอบข้าง ช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้น โดยทำกิจกรรมที่ชอบเพื่อให้อาการเหล่านั้นลดลง หรือใช้เทคนิคการผ่อนคลาย
ขั้นที่ 3 เพิ่มมีปฏิกิริยาตอบสนองที่ไม่เหมาะสม หงุดหงิด วิตกกังวล สมาธิไม่ดี กลัวอะไรที่บอกไม่ได้ เริ่มต่อต้าน
สังเกต และพยายามควบคุมอาการ หรือลดอาการลง ถ้าไม่ดีขึ้นควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อช่วยเหลือต่อไป
ขั้นที่ 4 ฮอร์โมน adrenaline หลั่ง ใจเต้นแรงและเร็ว เหงื่อออกชุ่ม ตัวสั่น อ่อนล้า ในที่สุดควบคุมอารมณ์ไม่ได้
ควรพบผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมิน อาจต้องใช้ยา ควบคู่กับการบำบัดทางจิตใจ หรือฝึกการผ่อนคลายความเครียด
ขั้นที่ 5 หมดความอดทน (burn out) รู้สึกด้อยค่า ขมขื่น ไร้ความสามารถ มีอาการทางกาย เช่น ปวดท้อง ปวดศีรษะ หอบหืด ใจสั่น เจ็บหน้าแก ความดันโลหิตสูง ท้องผูก ท้องเสีย
จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา รวมถึงฟื้นฟูสภาพจิตใจ

วิธีการจัดการความเครียด

วิธีการ
ตัวอย่าง
ด้านความคิด
ปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่
ด้านอารมณ์
หาคนให้กำลังใจ สนับสนุน เป็นที่ปรึกษา สร้างอารมณ์ขัน
ด้านพฤติกรรม
เปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เพื่อลดความเครียด เช่น บริหารจัดการเวลาให้ดี
ด้านร่างกาย
ออกกำลังกาย กินอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อน ฝึกการผ่อนคลาย นั่งสมาธิ หรือกินยาตามแพทย์สั่ง

5 ขั้นตอนสงบใจด้วยเทคนิค 54321 (Grounding Technique)

เทคนิคการตั้งหลัก/ตั้งสติหรือเราเรียกกันว่า Grounding Technique เป็นกระบวนการที่ช่วยนำพาความสงบใจกลับมาสู่ตัวเรา โดยสามารถใช้เมื่อเกิดความรู้สึกบางอย่างอย่างท่วมท้น เช่น รู้สึกเครียด วิตกกังวล ประหม่า Grounding Technique มีเทคนิควิธีมากมายหลายวิธี หนึ่งในนั้นที่น้อง ๆสามารถทำตามได้ง่าย ๆด้วยตนเองคือเทคนิค 54321 ซึ่งใช้การตั้งหลักโดยการพาการรับรู้ด้านต่าง ๆของเรากลับมาอยู่ที่ปัจจุบันขณะ และระบุการรับรู้นั้นออกมาเพื่อสร้างความตระหนักตัวเอง

ถ้าใครอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว ถ้าสะดวกสามารถลองทำตามไปด้วยกันได้เลย ถ้าพร้อมแล้ว 5-4-3-2-1 เริ่ม!

5 สิ่งที่มองเห็น เริ่มต้นจากตา กวาดสายตามองไปรอบ ๆตัว และระบุ 5 สิ่งที่เราเห็นตรงหน้าในตอนนี้มีอะไรบ้าง หรือจะตั้งโจทย์มากขึ้นเช่น มองหาสิ่งที่เป็นสีฟ้า/สีเขียว 5 รอบตัวเรา

4 สัมผัส ใช้ช่วงเวลานี้พาการรับรู้กลับมาอยู่กับร่างกายของเรา ตระหนักถึงสิ่งที่สัมผัสผิวกายของเราและระบุออกมา 4 อย่าง อาจจะเป็นสิ่งที่สัมผัสกับเราอยู่แล้วเช่นเสื้อผ้า เท้าที่สัมผัสพื้น หรือจะลองหาสิ่งของรอบตัวมาหยิบจับ เมื่อเรารับรู้ถึงสัมผัสเหล่านี้แล้วบอกได้ไหมว่าสัมผัสนั้นรู้สึกอย่างไร

3 เสียงที่ได้ยิน ให้เวลาตัวเองหยุดเงียบเพื่อฟัง ระบุ 3 เสียงรอบตัวที่ได้ยินอยู่ในขณะนี้

2 กลิ่น สังเกตการรับรู้ผ่านจมูกของเรากันบ้าง สูดดมกลิ่นรอบตัว ระบุ 2 กลิ่นที่เราสัมผัสได้ ตอบได้ไหมว่าแต่ละกลิ่นเป็นอย่างไร

1 ลมหายใจ สูดลมหายใจเข้าทางจมูกลึกๆช้า ๆนับ 1-2-3-4 ในใจ กลั้นลมหายใจพร้อมนับ 1-2 ในใจ ค่อยๆผ่อนลมหายใจออกช้า ๆขณะนับในใจ 1-2-3-4 อยู่กับลมหายใจของเราได้มากเท่าที่ต้องการ เพื่อสร้างความพร้อมในการตั้งหลักตั้งสติและพร้อมไปต่อกับตัวเราเอง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save