เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
- การนอนหลับ (Sleeping)
- ภาวะ Panic ช่วงสอบ
บทเรียนออนไลน์
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
ดนตรีบำบัด (music therapy)
- ดนตรีบำบัด (music therapy) คือ ?
การใช้กิจกรรมทางดนตรี ไม่ว่าจะเป็นการฟังหรือเล่นดนตรี การร้องเพลง แต่งเพลง เพื่อบำบัดความเจ็บป่วย ฟื้นฟูสภาพร่างกาย อารมณ์ และสติปัญญา
- ดนตรีเป็น “mind medicine”
ธรรมชาติของดนตรีที่ไร้พรมแดน มีได้หลากหลายรูปแบบ ทำให้เข้ากับคนได้อย่างไม่จำกัดเพศ วัย เชื้อชาติและศาสนา ดนตรีช่วยในการรักษาปัญหาทางร่างกายและจิตใจ ไม่ว่าท่านจะฟังดนตรีประเภทใด
ดนตรีกระตุ้นสมองเกือบทุกส่วน เช่น ส่วน auditory (การได้ยิน), motor cortex (เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของแขน ขา ใบหน้า) limbic system (อารมณ์ จิตใจ การตระหนักรู้ ความเข้าใจ และความจำ)
- ดนตรีบำบัดช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เช่น
- ช่วยเพิ่มความมั่นใจและการกล้าแสดงออก
- ช่วยในการฝึกควบคุมอารมณ์ของตนเอง
- ช่วยให้เกิดจินตนาการ และการฝึกคิดวิเคราะห์
- ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ
- ช่วยผ่อนคลายทางด้านจิตใจ
- การใช้ดนตรีบำบัดจะให้ผลดีมากน้อยเพียงใด
ขึ้นอยู่กับความชอบดนตรี และสภาวะทางร่างกายและจิตใจของแต่ละบุคคล ซึ่งมีความแตกต่างกัน ทำให้การตอบสนองต่อการใช้ดนตรีบำบัดแตกต่างกันไปด้วย
เอกสารอ้างอิง :
“ดนตรีบำบัด” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. จิรภรณ์ อังวิทยาธร คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
ฟังดนตรีบำบัด
- ดนตรีที่ช่วยผ่อนคลาย (relaxing music)
- ดนตรีที่ช่วยในการทำสมาธิ (meditation music)
- ดนตรีที่ช่วยให้หลับ (sleeping music) **เหมาะสำหรับการนอนในเวลากลางคืน**