เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
- การนอนหลับ (Sleeping)
- ภาวะ Panic ช่วงสอบ
บทเรียนออนไลน์
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
โรคซึมเศร้า
ประกอบด้วยอาการต่าง ๆ ดังนี้
1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ไม่สดชื่น มีอาการเกือบตลอดวัน
2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง สิ่งที่เคยชอบ ก็ไม่สนใจ เบื่อหน่ายไปหมด
3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กินน้อยลง หรือ บางคนอาจเป็นแบบตรงข้ามคือ กินจุมากขึ้น น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
4. นอนไม่หลับ นอนได้น้อยลง หรือ บางคนตรงข้ามกลายเป็น นอนมากขึ้น นอนทั้งวัน
5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด หรือ บางคนอาจเป็นตรงข้ามกระวนกระวายกว่าปกติ
6. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวมีแรง
7. ตำหนิตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือ รู้สึกผิดง่ายกว่าปกติ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า
8. สมาธิเสีย ทำอะไร ไม่ค่อยมีสมาธิ รู้สึกลังเล สงสัยมากขึ้นกว่าปกติ
9. คิดเรื่องการฆ่าตัวตาย หรือ อยากฆ่าตัวตาย
***ข้อนี้สำคัญมาก หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ตั้งข้อสันนิษฐานว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า ***
อาการที่กล่าวมาไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการถึงบ่งบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยมีอย่างน้อยอาการ 5 อาการใน 9 อาการที่กล่าวมา ต้องเป็นต่อเนื่องทุกวันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไปถึงจะสงสัยว่าจะเกิดโรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้า
1. การทานยาต้านเศร้า
เนื่องจากโรคนี้ เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองด้านอารมณ์เศร้าที่เสียสมดุลไป (สารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องหลักๆ คือ สารเซโรโทนิน และ นอร์อีพิเนฟฟรีน) จึงทำให้เกิดความซึมเศร้ามากผิดปกติ
ทั้งที่เจ้าตัวก็ไม่ได้อยากเศร้าขนาดนี้ แต่อารมณ์เศร้าปริมาณมากเกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง ห้ามไม่ได้ เพราะ เกิดขึ้นเนื่องจาก สารเคมีในสมองเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์เศร้า เสียสมดุล การทานยาต้านเศร้า จะช่วยให้สารเคมีเหล่านี้ กลับมาสมดุล เพราะยาจะเข้าไปช่วยปรับให้สารเคมีในสมองที่เสียสมดุลไปจนเกิดอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ เข้าสู่ภาวะปกติ
2. การรักษาทางจิตใจ
เช่นการทำจิตบำบัด ปรับวิธีคิด หรือ แก้ปมในจิตใจ ซึ่งเป็นวิธีรักษาควบคู่กับการทานยาต้านเศร้า เพราะถ้าอาศัยด้วยการรักษาทางจิตใจอย่างเดียว อาจช่วยได้ไม่เต็มที การทานยาคือการรักษาทางกาย ส่วนจิตบำบัดคือการรักษาทางใจ
3. การอยู่โรงพยาบาล
โดยเฉพาะในกรณีที่มีความเสี่ยงเรื่องการฆ่าตัวตายสูง จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงภาวะวิกฤติ และความรู้สึกอยากตาย ภาวะวิกฤติแบบนี้การอยู่โรงพยาบาลจะปลอดภัยกว่า
4. การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า
- ไม่ควรตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆในชีวิต เพราะ โอกาสตัดสินผิดพลาดสูงมาก เพราะ อารมณ์ไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ
- พยายามไม่คิดอะไรมากๆยาวๆ เพราะ ยิ่งคิดจะวนกลับไปเป็นด้านลบ ด้วยตัวโรค
- หากิจกรรมสบายๆทำ ที่ไม่เครียดไม่กดดัน
- อย่ากดดัน เร่งรัดตัวเองว่าต้องรีบหาย รักษาตัวเองอย่างถูกวิธีอาการดีขึ้นเอง
ที่มา : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย