เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
- การนอนหลับ (Sleeping)
- ภาวะ Panic ช่วงสอบ
บทเรียนออนไลน์
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
สัญญาณการฆ่าตัวตาย
สัญญาณเตือน
ผู้ที่มีลักษณะเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายแน่นอน แต่เป็นสิ่งบอกว่าเขาเหล่านี้มีความทุกข์ทรมานใจที่ต้องการความใส่ใจอย่างจริงจัง
- มีอาการซึมเศร้า นิ่งเฉย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- แยกตัวจากเพื่อนฝูง พี่น้องครอบครัว
- พูด เขียน เกี่ยวกับเรื่องความตาย
- พูดถึงความท้อแท้สิ้นหวัง
- พูดว่าทุกข์ทรมานมาก หรือตนเองเป็นปัญหา ภาระแก่คนอื่น
- พูดเป็นนัย เช่น ทนไม่ไหวอีกแล้ว เดี๋ยวปัญหาก็จบแล้ว
- เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว
- มีการสั่งเสีย พูดลา หรือมอบสิ่งของให้ผู้อื่น
การช่วยเหลือเบื้องต้น
จุดมุ่งหมายหลักของการพูดคุยคือเพื่อให้เขารับรู้ว่ามีคนใส่ใจรับรู้ปัญหาความทุกข์องเขา ส่วนการมุ่งหาทางแก้ปัญหาให้เขาถือเป็นเรื่องรอง ท่าทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฟังด้วยความใส่ใจ เปิดโอกาสให้เขาพูด พยายามที่จะเข้าใจความทุกข์ใจ และปัญหาในมุมมองของเขา
- ไม่รีบให้คำแนะนา หรือบอกว่าอย่าคิดอย่างนี้ หรือหาเหตุผลมาแย้งว่าเขาคิดผิด ซึ่งจะยิ่งทาให้เขายิ่งไม่อยากเล่า
- ถามความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย อย่ากลัวที่จะถาม การถามไม่ได้กระตุ้นให้เขาคิดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย แต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความรู้สึก อาจเริ่มด้วย “เคยมีความคิดไม่อยากอยู่หรืออยากไปให้พ้น ๆ ไหม” เขาคิดบ่อยไหม คิดจะทำอย่างไร
- ให้เขารับรู้ว่าเราพร้อมที่จะช่วยเขาตลอดในช่วงนี้
- ถ้าไม่ได้อยู่กับเขา บอกเขาว่าเราจะหมั่นโทรศัพท์มาเช็ค ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจให้รีบโทรศัพท์มาหาเราได้ทันที
- หากดูเขาซึมเศร้า หรือพูดคุยแล้วยังไม่ดีขึ้น ชักชวนแนะนำให้เขาพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือ
- หากดูเขามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง เช่น ซึมเศร้าหมดหวัง ปัญหารุนแรง ให้
- โทรศัพท์ปรึกษาสายด่วน MU Hotline 088-8747385
- สายด่วนสุขภาพจิต 1323
- นัดหมายปรึกษาพูดคุยที่ MU Friends
หรือ
การดูแลช่วยเหลือหลังจากมีการพยายามฆ่าตัวตาย
- หากเขาเพิ่งทำ ควรมีคนอยู่กับเขาใกล้ชิดตลอดเวลา อย่าด่วนคลายใจเมื่อเขาบอกว่าดีแล้วไม่คิดทำอีกแล้ว พบบ่อยว่าความเสี่ยงต่อการทำซ้ำ จะสูงในช่วง 2-3 วันแรกหลังทำ
- เก็บของมีคม หรือสิ่งของที่เห็นว่าเขาอาจใช้ทำร้ายตัวเองได้
- แม้การอยู่ใกล้ชิดจะไม่สามารถป้องกันการทำซ้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากเกิดเหตุการณ์ขึ้น เรายังสามารถช่วยเหลือเขาได้ทันท่วงที
- ในผู้ที่ได้พบแพทย์หรือรับการช่วยเหลือแล้ว คอยดูแลให้เขาไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษา
ที่มา :ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
แบบคัดกรอง
*การประเมินนี้เป็นการประเมินระดับภาวะซึมเศร้าในขั้นต้น
ส่วนการวินิจฉัยนั้นจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมถึงส่งตรวจเพิ่มเติมที่จำเป็น เพื่อยืนยันการวินิจฉัยที่แน่นอน รวมถึงเพื่อแยกโรคหรือภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภาวะซึมเศร้าเป็นจากสาเหตุต่างๆ ได้มากมาย เช่น โรคทางจิตเวชอื่นที่มีอาการซึมเศร้าร่วมด้วย โรคทางร่างกายเช่นโรคไทรอยด์ โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือเป็นจากยาหรือสารต่างๆ
ผลการประเมินและคำแนะนำที่ได้รับจากโปรแกรมนี้จึงไม่สามารถใช้แทนการตัดสินใจของแพทย์ได้ การตรวจรักษาเพิ่มเติมหรือการให้ยารักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และการปรึกษากันระหว่างแพทย์และตัวท่าน*
* คำถามต่อไปนี้จะถามถึงประสบการณ์ในช่วง ระยะ 2-4 สัปดาห์ที่ผ่านมา ให้ท่านสำรวจตัวเองและประเมินเหตุการณ์ อาการหรือความคิดเห็นและความรู้สึกของท่านว่าอยู่ในระดับใด
กรณีที่มีความเครียดอยู่ในระดับสูง นักศึกษาสามารถติดต่อนัดหมายเพื่อพูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือผู้ให้การปรึกษา ได้ที่ศูนย์ให้คำปรึกษา ม.มหิดล (MU Friends) ศูนย์การเรียนรู้มหิดล ชั้น 3
โรคซึมเศร้า
ประกอบด้วยอาการต่าง ๆ ดังนี้
1. อารมณ์ซึมเศร้า หงุดหงิด ไม่สดชื่น มีอาการเกือบตลอดวัน
2. ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง สิ่งที่เคยชอบ ก็ไม่สนใจ เบื่อหน่ายไปหมด
3. เบื่ออาหาร น้ำหนักลด กินน้อยลง หรือ บางคนอาจเป็นแบบตรงข้ามคือ กินจุมากขึ้น น้ำหนักเปลี่ยนแปลง ร้อยละ 5 ใน 1 เดือน
4. นอนไม่หลับ นอนได้น้อยลง หรือ บางคนตรงข้ามกลายเป็น นอนมากขึ้น นอนทั้งวัน
5. เชื่องช้า ทำอะไรก็เชื่องช้าไปหมด หรือ บางคนอาจเป็นตรงข้ามกระวนกระวายกว่าปกติ
6. รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีเรี่ยวมีแรง
7. ตำหนิตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หรือ รู้สึกผิดง่ายกว่าปกติ อันนี้เป็นเรื่องสำคัญ ที่พบได้มากในคนเป็นโรคซึมเศร้า
8. สมาธิเสีย ทำอะไร ไม่ค่อยมีสมาธิ รู้สึกลังเล สงสัยมากขึ้นกว่าปกติ
9. คิดเรื่องการฆ่าตัวตาย หรือ อยากฆ่าตัวตาย
***ข้อนี้สำคัญมาก หากมีการพยายามฆ่าตัวตาย ตั้งข้อสันนิษฐานว่า คนนั้นอาจเป็นโรคซึมเศร้า ***
อาการที่กล่าวมาไม่จำเป็นต้องมีครบทุกอาการถึงบ่งบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้า โดยมีอย่างน้อยอาการ 5 อาการใน 9 อาการที่กล่าวมา ต้องเป็นต่อเนื่องทุกวันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไปถึงจะสงสัยว่าจะเกิดโรคซึมเศร้า
การรักษาโรคซึมเศร้า
1. การทานยาต้านเศร้า
เนื่องจากโรคนี้ เกี่ยวข้องกับสารเคมีในสมองด้านอารมณ์เศร้าที่เสียสมดุลไป (สารเคมีในสมองที่เกี่ยวข้องหลักๆ คือ สารเซโรโทนิน และ นอร์อีพิเนฟฟรีน) จึงทำให้เกิดความซึมเศร้ามากผิดปกติ
ทั้งที่เจ้าตัวก็ไม่ได้อยากเศร้าขนาดนี้ แต่อารมณ์เศร้าปริมาณมากเกิดขึ้นเอง เป็นไปเอง ห้ามไม่ได้ เพราะ เกิดขึ้นเนื่องจาก สารเคมีในสมองเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์เศร้า เสียสมดุล การทานยาต้านเศร้า จะช่วยให้สารเคมีเหล่านี้ กลับมาสมดุล เพราะยาจะเข้าไปช่วยปรับให้สารเคมีในสมองที่เสียสมดุลไปจนเกิดอารมณ์เศร้ามากผิดปกติ เข้าสู่ภาวะปกติ
2. การรักษาทางจิตใจ
เช่นการทำจิตบำบัด ปรับวิธีคิด หรือ แก้ปมในจิตใจ ซึ่งเป็นวิธีรักษาควบคู่กับการทานยาต้านเศร้า เพราะถ้าอาศัยด้วยการรักษาทางจิตใจอย่างเดียว อาจช่วยได้ไม่เต็มที การทานยาคือการรักษาทางกาย ส่วนจิตบำบัดคือการรักษาทางใจ
3. การอยู่โรงพยาบาล
โดยเฉพาะในกรณีที่มีความเสี่ยงเรื่องการฆ่าตัวตายสูง จำเป็นต้องรับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้ผ่านพ้นช่วงภาวะวิกฤติ และความรู้สึกอยากตาย ภาวะวิกฤติแบบนี้การอยู่โรงพยาบาลจะปลอดภัยกว่า
4. การดูแลตัวเองสำหรับผู้ป่วยซึมเศร้า
- ไม่ควรตัดสินใจเรื่องใหญ่ๆในชีวิต เพราะ โอกาสตัดสินผิดพลาดสูงมาก เพราะ อารมณ์ไม่ได้อยู่ในภาวะปกติ
- พยายามไม่คิดอะไรมากๆยาวๆ เพราะ ยิ่งคิดจะวนกลับไปเป็นด้านลบ ด้วยตัวโรค
- หากิจกรรมสบายๆทำ ที่ไม่เครียดไม่กดดัน
- อย่ากดดัน เร่งรัดตัวเองว่าต้องรีบหาย รักษาตัวเองอย่างถูกวิธีอาการดีขึ้นเอง
ที่มา : สมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย
สัญญาณการฆ่าตัวตาย
สัญญาณเตือน
ผู้ที่มีลักษณะเหล่านี้ไม่ได้หมายความว่าจะเกิดการฆ่าตัวตายแน่นอน แต่เป็นสิ่งบอกว่าเขาเหล่านี้มีความทุกข์ทรมานใจที่ต้องการความใส่ใจอย่างจริงจัง
- มีอาการซึมเศร้า นิ่งเฉย ไม่สนใจสิ่งแวดล้อมรอบตัว
- แยกตัวจากเพื่อนฝูง พี่น้องครอบครัว
- พูด เขียน เกี่ยวกับเรื่องความตาย
- พูดถึงความท้อแท้สิ้นหวัง
- พูดว่าทุกข์ทรมานมาก หรือตนเองเป็นปัญหา ภาระแก่คนอื่น
- พูดเป็นนัย เช่น ทนไม่ไหวอีกแล้ว เดี๋ยวปัญหาก็จบแล้ว
- เคยพยายามฆ่าตัวตายมาแล้ว
- มีการสั่งเสีย พูดลา หรือมอบสิ่งของให้ผู้อื่น
การช่วยเหลือเบื้องต้น
จุดมุ่งหมายหลักของการพูดคุยคือเพื่อให้เขารับรู้ว่ามีคนใส่ใจรับรู้ปัญหาความทุกข์องเขา ส่วนการมุ่งหาทางแก้ปัญหาให้เขาถือเป็นเรื่องรอง ท่าทีเป็นสิ่งสำคัญที่สุด ฟังด้วยความใส่ใจ เปิดโอกาสให้เขาพูด พยายามที่จะเข้าใจความทุกข์ใจ และปัญหาในมุมมองของเขา
- ไม่รีบให้คำแนะนา หรือบอกว่าอย่าคิดอย่างนี้ หรือหาเหตุผลมาแย้งว่าเขาคิดผิด ซึ่งจะยิ่งทาให้เขายิ่งไม่อยากเล่า
- ถามความคิดเรื่องการฆ่าตัวตาย อย่ากลัวที่จะถาม การถามไม่ได้กระตุ้นให้เขาคิดถึงเรื่องการฆ่าตัวตาย แต่จะเป็นการเปิดโอกาสให้เขาได้ระบายความรู้สึก อาจเริ่มด้วย “เคยมีความคิดไม่อยากอยู่หรืออยากไปให้พ้น ๆ ไหม” เขาคิดบ่อยไหม คิดจะทำอย่างไร
- ให้เขารับรู้ว่าเราพร้อมที่จะช่วยเขาตลอดในช่วงนี้
- ถ้าไม่ได้อยู่กับเขา บอกเขาว่าเราจะหมั่นโทรศัพท์มาเช็ค ถ้าเขารู้สึกไม่สบายใจให้รีบโทรศัพท์มาหาเราได้ทันที
- หากดูเขาซึมเศร้า หรือพูดคุยแล้วยังไม่ดีขึ้น ชักชวนแนะนำให้เขาพบแพทย์หรือนักจิตวิทยาเพื่อรับการช่วยเหลือ
- หากดูเขามีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายสูง เช่น ซึมเศร้าหมดหวัง ปัญหารุนแรง ให้
- โทรศัพท์ปรึกษาสายด่วน MU Hotline 088-8747385
- สายด่วนสุขภาพจิต 1323
- นัดหมายปรึกษาพูดคุยที่ MU Friends
หรือ
การดูแลช่วยเหลือหลังจากมีการพยายามฆ่าตัวตาย
- หากเขาเพิ่งทำ ควรมีคนอยู่กับเขาใกล้ชิดตลอดเวลา อย่าด่วนคลายใจเมื่อเขาบอกว่าดีแล้วไม่คิดทำอีกแล้ว พบบ่อยว่าความเสี่ยงต่อการทำซ้ำ จะสูงในช่วง 2-3 วันแรกหลังทำ
- เก็บของมีคม หรือสิ่งของที่เห็นว่าเขาอาจใช้ทำร้ายตัวเองได้
- แม้การอยู่ใกล้ชิดจะไม่สามารถป้องกันการทำซ้ำได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่หากเกิดเหตุการณ์ขึ้น เรายังสามารถช่วยเหลือเขาได้ทันท่วงที
- ในผู้ที่ได้พบแพทย์หรือรับการช่วยเหลือแล้ว คอยดูแลให้เขาไปพบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษา
ที่มา :ราชวิทยาลัยจิตแพทย์แห่งประเทศไทย