เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
ช่องทางการรับการปรึกษา
“ที่ปรึกษาทางใจ” Mental health counseling สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
….ในช่วงเวลาที่น้อง ๆ รู้สึกเครียด ผิดหวัง ท้อใจ หรือมีภาวะใดที่ทำให้รู้สึกไม่สบายใจ…
ช่องทางเหล่านี้ จะเป็นทางเลือกสำหรับน้อง ๆ ในการหาทางออก ระบายความอึดอัดคับข้องใจที่น้อง ๆ พบเจอในชีวิตประจำวัน
ปัญหาทางด้านสุขภาพใจ เป็นปัญหาที่จัดการได้ ดูแลได้ เมื่อเราเข้าใจ ยอมรับ…เราจะพบทางออกไปด้วยกัน
หน่วยงานภายใน
“MU Friends” หรือ ศูนย์ให้คำปรึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
ตั้งอยู่ที่ ศูนย์การเรียนรู้มหิดล (Mahidol Learning Center ชั้น 3)
พูดคุยกับนักจิตวิทยา หรือผู้ให้คำปรึกษา ได้โดยการ Walk-in เข้ามาที่ MU Friends
หรือนัดหมายผ่านทาง FB Inbox : @MahidolFriends
หรือ https://fb.com/book/MahidolFriends/
หรือ โทร. 02-849 4538 เวลา 09.00-16.30 น. (ยกเว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์)
Adolescent Clinic หรือ คลินิกวัยทีน
ตั้งอยู่ที่ : อาคารปัญญาวัฒนา สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
น้อง ๆ สามารถติดต่อขอรับบริการ โดยการนัดหมายได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 09 4954 1014 หรือ 0 2441 0602 ถึง 8 ต่อ 1213
ทั้งนี้ สามารถตรวจสอบรายละเอียด / ขั้นตอนการรับบริการ ได้ที่ : https://cf.mahidol.ac.th
“OOCA-Wall of Sharing” เพราะ “ทุก(ข์) ปัญหาใจ…มีทางออก”
อีกหนึ่งความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดล และ OOCA
“OOCA” เป็น platform ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ ที่ช่วยให้น้อง ๆ สามารถพูดคุยปัญหากับจิตแพทย์และนักจิตวิทยา ผ่านทาง Video call โดยเข้าใช้งานได้อย่างเป็นส่วนตัวและปลอดภัย ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ
อีกช่องทางความร่วมมือผ่าน โครงการ “Wall of Sharing-กำแพงพักใจ” โครงการที่จะทำให้น้อง ๆ มีสุขภาวะทางใจที่ดีขึ้น