เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
บทเรียนออนไลน์
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
การให้บริการด้านการดูแลสุขภาวะทางใจ ศูนย์ให้คำปรึกษามหาวิทยาลัยมหิดล (MU Friends)
บริการให้การปรึกษา (Counselling service) : บริการให้การปรึกษารายบุคคลสำหรับนักศึกษา โดยสามารถทำการนัดหมายได้ทางกล่องข้อความ (Inbox) เพจ Facebook : Mahidol Friends ใช้เวลาในการพูดคุย 30-60 นาที โดยนักศึกษาที่มีความทุกข์ใจ หรือความเครียดสามารถรับการปรึกษาปัญหาการเรียน สัมพันธภาพ การปรับตัว หรือเรื่องอื่น ๆ โดยมีนักจิตวิทยา (Psychologist) ให้บริการ 2 คน ที่วิทยาเขตพญาไท 1 คน ศาลายา 1 คน และผู้ให้คำปรึกษา (Counselor) ที่วิทยาเขตศาลายา 1 คน
กรณีที่นักศึกษามีปัญหาเร่งด่วนฉุกเฉิน สามารถติดต่อได้ที่ สายด่วนสุขภาพใจ MU Hotline 088-8747385 ตลอด 24 ชั่วโมง การให้บริการอยู่ภายใต้การเก็บรักษาข้อมูลส่วนตัวและการรักษาความลับ
การคัดกรองนักศึกษา : การคัดกรองสุขภาพใจนักศึกษา (Early Detection) เพื่อให้เกิดการป้องกันส่งเสริมสุขภาพใจในกลุ่มที่ยังไม่ได้มีปัญหาสุขภาพใจ และช่วยเหลือผู้ที่เริ่มมีปัญหาสุขภาพใจได้อย่างทันท่วงที โดยใช้แบบวัดสุขภาพจิตคนไทย และเก็บข้อมูลในรูปแบบออนไลน์ มีการแจ้งผลทางอีเมลให้นักศึกษาทราบเป็นรายบุคคล ในรายที่มีมีความเสี่ยง เจ้าหน้าที่จาก MU Friends จะโทรนัดหมายเข้าสู่กระบวนการให้การปรึกษาต่อไป
การติดตามการให้คำปรึกษา : มีการติดตามนัดหมายทุก 1-2 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับปัญหาและความเร่งด่วน กรณีที่พูดคุยแล้วพบว่า ควรได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยจิตแพทย์ จะแนะนำให้นักศึกษาพบจิตแพทย์ในโรงพยาบาลสังกัดมหาวิทยาลัย คือโรงพยาบาลศิริราช และโรงพยาบาลรามาธิบดี ที่นักศึกษามีสิทธิ์การรักษาพยาบาล
การป้องกันปัญหาสุขภาพใจ : MU Friends มีการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุนให้เกิดทักษะ และความเข้าใจด้านสุขภาวะทางใจสำหรับนักศึกษา เช่น การจัดการความเครียด การเสริมสร้างความภาคภูมิใจในตัวเอง การให้อภัยตัวเอง ศิลปะบำบัด เพื่อให้นักศึกษามีพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยน และพัฒนาตนเองจากภายใน กิจกรรมจะมีการหมุนเวียนกัน สามารถติดตามกิจกรรมที่จัดขึ้นได้ทางเพจ Facebook : Mahidol Friends รวมทั้งมีบทเรียนออนไลน์ด้านสุขภาพใจในระบบ MUx ที่นักศึกษาสามารถศึกษาเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง เช่น เทคนิคการจัดการความเครียด, วิชาว่าด้วยการกลั่นแกล้ง, Take care of your self
แนวทางการป้องการการทำร้ายตัวเอง : ส่งเสริมให้นักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาเห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพใจ องค์ความรู้ด้านสุขภาพใจ และเข้าถึงการบริการด้านสุขภาพใจ การลดการตีตราในการพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพใจ ผ่านการประชาสัมพันธ์ผ่านเพจ Facebook : Mahidol Friends เว็บไซต์ กองกิจการนักศึกษา และเครือข่ายกิจการนักศึกษาของคณะ รวมทั้งอบรมให้ความรู้ในการจัดการเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินด้านสุขภาพใจให้กับส่วนงานต่าง ๆ