เรื่องฉุกเฉิน (Mental health crisis)
- ขั้นตอนการจัดการเมื่อเกิดเหตุภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตรายด้านสุขภาพจิต
- MU Hotline 24 ชม.
- Hotline ส่วนงาน
- เมื่อพบเหตุ / สถานการณ์ที่ต้องติดต่อขอรับการช่วยเหลือ
การดูแลตนเอง (Self-care)
- การจัดการความเครียด (Stress management)
- ดนตรีบำบัด (Music therapy)
- การนอน (Napping)
- การเมตตากรุณาต่อตนเอง (Self-compassion)
- การนอนหลับ (Sleeping)
- ภาวะ Panic ช่วงสอบ
บทเรียนออนไลน์
ช่องทางการรับการปรึกษา
ข้อมูลสุขภาวะทางใจ / แบบคัดกรอง
กองกิจการนักศึกษา มหิดล
เรื่องฉุกเฉิน
ขั้นตอนการจัดการภาวะฉุกเฉินหรือภาวะอันตราย ด้านสุขภาพจิต
“ภาวะฉุกเฉิน ด้านสุขภาพจิต” เป็นภาวะวิกฤติของผู้ที่มีความผิดปกติทางจิตใจที่มีการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่รุนแรง โดยอาจเป็นอันตรายทั้งต่อตนเอง ทรัพย์สิน และสังคมรอบข้าง จำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที และ “ภาวะมีอันตราย” คือ ภาวะที่บุคคลที่มีความผิดปกติทางจิตแสดงพฤติกรรมที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายร้ายแรงต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของตนเองหรือผู้อื่น โดยพฤติกรรมต่าง ๆ ที่เข้าข่ายทำให้เกิดภาวะฉุกเฉินหรือภาวะมีอันตราย มี 5 ลักษณะ คือ
- ประสาทหลอน (hallucination) เช่น ได้ยินเสียงแว่ว เห็นภาพหลอน
- ความคิดหลงผิด (delusion) เช่น หลงผิดหวาดระแวง กลัวมีคนทำร้าย คิดว่าตนเองมีความสามารถเหนือผู้อื่น
- พฤติกรรมแปลกกว่าคนปกติอย่างชัดเจน เช่น แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ พูดจาสับสน พูดคนเดียว
- พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงที่อาจเป็นอันตรายต่อตนเองและผู้อื่น เช่น ข่มขู่ ทำร้ายคนอื่น
- พยายามทำร้ายตนเอง พยายามฆ่าตัวตาย
ที่มาข้อมูล : คณะกรรมการบริการสุขภาพนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (2562)
ก่อนเกิดเหตุ : การเฝ้าระวัง
เมื่อเกิดเหตุ :