กองกิจการนักศึกษา มหิดล

รายงานการดำเนินงาน
โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

3.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท

3.1.1 โครงการพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการ

  • บทนำ

มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิรากแก้วและประชาคมพุทธมณฑลได้ร่วมกันสำรวจข้อมูลอย่างเป็นระบบ ด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ระหว่างประชาชน ราชการ และมหาวิทยาลัย เพื่อนำมาจัดทำเป็นแผนพัฒนาพื้นที่เชิงบูรณาการ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และได้นำพัฒนาแผนชุมชนดังกล่าว จัดทำเป็นข้อเสนอโครงการที่เกิดจากความต้องการของชุมชน ภายใต้กรอบการพัฒนาเชิงบูรณาการ  “พุทธมณฑล มณฑลแห่งความพอเพียง”​ มีนัยสำคัญว่า อำเภอพุทธมณฑล เป็นพื้นที่ ที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งพื้นที่ แต่ทั้งนี้ ด้วยยึดหลักการทำงานตามลำดับขั้นตอน ในพื้นที่นำร่องของอำเภอพุทธมณฑล ตามภูมิสังคมของอำเภอพุทธมณฑล ได้แก่ ภูมินคร ชลธาร และกสิกรรม (เมือง-น้ำ-นา)

  • เราทำอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหิดลได้พัฒนาข้อเสนอโครงการพัฒนาข้อเสนอโครงการในลักษณะของชุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 5 แผนงานโครงการ ได้แก่ (1) แผนงานบริหารจัดการโครงการ (2) แผนชุมชนโครงการที่ 1 การพัฒนาแม่น้ำลำคลอง และสิ่งแวดล้อมของชุมชน (3) แผนชุมชนโครงการที่ 2 การพัฒนาเกษตรกรรม 4.0  (4) แผนชุมชนโครงการที่ 3 การพัฒนาสัมมาชีพฐานชุมชน (5) แผนชุมชนโครงการที่ 4 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ และดำเนินการส่งขอ้เสนอโครงการให้มูลนิธิรากแก้วพิจารณาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการ

  • ทำแล้วได้อะไร

จากการพัฒนาของเสนอโครงการได้ชุดโครงการ ซึ่งประกอบด้วย 5 แผนงานโครงการ ได้แก่ (1) แผนงานบริหารจัดการโครงการ (2) แผนชุมชนโครงการที่ 1 การพัฒนาแม่น้ำลำคลอง และสิ่งแวดล้อมของชุมชน (3) แผนชุมชนโครงการที่ 2 การพัฒนาเกษตรกรรม 4.0  (4) แผนชุมชนโครงการที่ 3 การพัฒนาสัมมาชีพฐานชุมชน (5) แผนชุมชนโครงการที่ 4 การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะ ซึ่งโครงการทั้ง 4 มีลักษณะบูรณาการเพื่อให้การพัฒนาพื้นที่เป็นไปอย่างสมบูรณ์ (รูปที่ 6) ครบห่วงโซ่การพัฒนา ทั้งยังครอบคลุมมิติการพัฒนาด้านต่าง ๆ อย่างครบถ้วน  อีกทั้งชุดข้อเสนอโครงการได้ใช้เป็นแบบแผนในการดำเนินโครงการพัฒนาของนักศึกษารากแก้ว ได้แก่ โครงการด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม และโครงการด้านอาชีพและการท่องเที่ยวต่อไป

โครงการพัฒนาพื้นที่อย่างบูรณาการในพื้นที่เป้าหมาย

  • อะไรที่ Work ไม่ Work

จุดเด่น

การร่วมกันทำงานระหว่างนักศึกษา อาจารย์และบุคลากรมีการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนงานทุกๆ 2 เดือน และมีการประชุมคณะทำงานอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกันระดมความคิดทำให้เกิดแผนการดำเนินโครงการและทิศทางที่ชัดเจน และได้ข้อเสนอโครงการพัฒนาในพื้นที่เป้าหมาย

อุปสรรค

ชุดโครงการพัฒนาในพื้นที่เป้าหมายที่ได้ร่วมกันจัดทำไม่สามารถขับเคลื่อนได้จริง ความชัดเจนของมูลนิธิรากแก้ว ในการสนับสนุนโครงการและงบประมาณ ส่งผลให้เกิดความล่าช้า อีกทั้งการสื่อสารระหว่างชุมชนในการขับเคลื่อนโครงการที่ไม่ชัดเจน ทำให้ชุมชนเกิดความเข้าใจผิดและไม่พึงพอใจ และการประสานงานระหว่างมหาวิทยาลัยมหิดลและอำเภอพุทธมณฑลที่ขาดความต่อเนื่อง ซึ่งบทบาทหลักในการขับเคลื่อนงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยมหิดล มากกว่าอำเภอพุทธมณฑล และชุดโครงการเป็นกรอบการทำงานที่ใหญ่เกินไปสำหรับเด็กนักศึกษาที่จะขับเคลื่อนได้ ควรคำนึงถึงชั่วโมงการเรียนและเวลาเรียน ร่วมถึงการปิดภาคเรียนของนักศึกษา ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนงานโครงการ

3.1.2 โครงการพัฒนาของนักศึกษารากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

3.1.2.1 โครงการท่องเที่ยว

  • บทนำ

นักศึกษารากแก้วมหิดลได้ร่วมลงพื้นที่ และสำรวจความต้องการของชุมชน ซึ่งได้เล็งเห็นว่าภูมิสังคมและวัฒนธรรมของพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล มีความเหมาะสม และมีความพร้อมที่จะรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยว ในพื้นที่นี้มีระบบระบบนิเวศวัฒนธรรมปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงแห่งภูมิธรรม ภูมิปัญญา และวิถีพุทธธรรมและการเกษตร มีศักยภาพเป็นแหล่งผลิตอาหารปลอดภัย อยู่ไม่ไกลจากกรุงเทพเหตุปัจจัยดังกล่าวนับว่าเป็นสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมที่คนในชุมชนภาคภูมิและพร้อมใจที่จะนำมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาชุมชน  นักศึกษารากแก้วมหิดลและชุมชนในพื้นที่ตำบลศาลายาและตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล  ได้มีแนวคิดร่วมกันในการ ประยุกต์ใช้ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยการออกแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เส้นทางใหม่โดยใช้จักรยาน ให้มีความครอบคลุมการท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกชุมชน และการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งนักศึกษาได้นำองค์ความรู้จากสหสาขาวิชา มาร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนและนำไปสู่การพัฒนาชุมชนต่อไป

  • เราทำอะไรบ้าง

ข้อมูลจากการลงพื้นที่ และการสำรวจความต้องการของชุมชน นักศึกษารากแก้วได้ระดมความคิดร่วมกับชุมชนเป็นโครงการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว โดยเลือกพื้นที่ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ที่มีการท่องเที่ยวภายในชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งนักศึกษารากแก้วจะร่วมกับชุมชนในการพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนโดยใช้จักรยานและการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์  การขับเคลื่อนโครงการในระยะแรก  นักศึกษารากแก้วดำเนินการรับบริจาคจักรยานเก่าจากนักศึกษาภายในมหาวิทยาลัยมหิดล และขออนุเคราะห์จักรยานเก่าจากมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการ รวมส่งต่อจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชน   ตอน “มาส่งต่อจักรยานกันนะ” (ณ ลานกันภัยมหิดล ชั้น 1 อาคารศูนย์การเรียนรู้มหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา)  นักศึกษารากแก้วมหิดล บุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลจากกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม ร่วมกันนำจักรยานที่ได้รับบริจาค มาซ่อมแซ่มเพื่อให้สามารถใช้งานได้ ภายใต้โครงการโครงการร่วมส่งต่อจักรยานเพื่อการท่องเที่ยวในชุมชน ตอน “กำเนิดใหม่ ให้จักก้า” (ณ จั๊กก้าเซนเตอร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา) ทีมนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ลงพื้นที่ชุมชน พูดคุยแลกเปลี่ยน สำรวจความคิดเห็น และร่วมวางแผนกับชาวบ้านในพื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ เรื่องของการบริหารจัดการและวางแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวคลองมหาสวัสดิ์โดยใช้จักรยาน (ณ คลองมหาสวัสดิ์) และส่งมอบจักรยานจำนวน 13 คัน และทดสอบเส้นทางการท่องเที่ยวโดยใช้จักรยาน โครงการ “ส่งมอบจักรยานและสำรวจชุมชนด้วยกันกับรากแก้วมหิดลจักก้า” (ณ คลองมหาสวัสดิ์) หลังจากส่งมอบจักรยานทีมนักศึกษาได้ลงพื้นที่ประชุมร่วมกับชุมชน เพื่อติดตามความก้าวหน้าเรื่องจักรยานท่องเที่ยวในชุมชนและแผนที่ชุมชน (ณ บ้านฟักข้าว)

  • ทำแล้วได้อะไร

การดำเนินโครงการท่องเที่ยวชุมชน ได้นำจักรยานที่พร้อมใช้งานมอบให้ประชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ จำนวน 13 คัน เพื่อใช้ในการท่องเที่ยว โดยได้สถานีจุดจอดจักรยาน ณ บ้านฟักข้าว และจากการลงพื้นที่สำรวจชุมชนและประชาคมร่วมกับชุมชน ได้เส้นทางการท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ทางจักรยาน และแผนการบริหารจัดการจักรยานท่องเที่ยว และจากการติดตามผลการดำเนินงานโดยการประชาคมร่วมกับชุมชนได้ข้อมูลจากชุมชนในเรื่องแนวทางการขยายและต่อยอดการท่องเที่ยวโดยจักรยานของชุมชน

  • อะไรที่ Work ไม่ Work

จุดเด่น

นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานในพื้นที่จริง ได้รู้จักชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมหิดล และได้ใช้ความรู้จากสาขาที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการทำงาน

อุปสรรค

การดำเนินโครงการอาจมีความล่าช้า เนื่องจากตารางเวลาการเรียนของนักศึกษาไม่ตรงกัน การลงพื้นที่อาจมีการติดขัด และแกนนำนักศึกษารากแก้วในการทำงานยังมีจำนวนน้อยทำให้นักศึกษาต้องทำงานหนักมากขึ้น

3.1.2.2 โครงการเกษตรและสิ่งแวดล้อม

  • บทนำ

ลงพื้นที่เก็บข้อมูลพื้นฐาน ได้ประชุมร่วมกับชุมชนในการค้นหาปัญหาและความต้องการ ซึ่งชุมชนมีมติว่า ด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องที่ชุมชนจะร่วมกันพัฒนาในอันดับแรก ทางด้านการเกษตรชุมชนเล็งเห็นว่าการพัฒนาพื้นที่ดินให้เหมาะสมกับการทำเกษตรปลอดภัยเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญเพื่อให้เกิดผลในระยะยาว และด้านสิ่งแวดล้อมปัญหาเรื่องการจัดการผักตบชวา เป็นสิ่งเร่งด่วนที่ชุมชนต้องการดำเนินการ จากการระดมความคิดการจัดการผักตบชวานำมาต่อยอดในการสร้างอาชีพให้กับชุมชน การขับเคลื่อนโครงการจึงเริ่มดำเนินในพื้นที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของสหกรณ์หมู่บ้านสหพร ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความพร้อมและอยู่ในพื้นที่เป้าหมาย เริ่มดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้เป็นพื้นที่เกษตรปลอดภัย และนำผักตบชวามาแปรรูปเพื่อใช้เกิดประโยชน์ ซึ่งการดำเนินโครงการแกนนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมตลอดการดำเนินงาน และเป็นการฝึกฝนให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาศักยภาพของตนนอกห้องเรียน ด้วยการนำเอาความรู้ในสาขาของตนมาปรับใช้ และบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาชุมชน

  • เราทำอะไรบ้าง

การดำเนินโครงการนักศึกษารากแก้วมหิดลได้ลงพื้นที่สำรวจและดูสภาพพื้นที่เบื้องต้นร่วมกับแกนนำชุมชน ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงของสหกรณ์หมู่บ้านสหพร เพื่อเก็บข้อมูลในการดำเนินโครงการ จากการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะข้อมูลนักศึกษารากแก้วมหิดลและบุคคลากร ได้เขียนโครงการและแผนการดำเนินโครงการและนำเสนอให้แก่ผู้นำชุมชน ซึ่งได้ร่วมกับระดมความคิดโครงการเสร็จสมบูรณ์ตรงความต้องการของชุมชน  (ณ หมู่บ้านสหพร) นักศึกษารากแก้วได้เริ่มดำเนินโครงการตามแผนงาน ดังนี้

(1) นักศึกษารากแก้วมหิดล และบุคลาการลงพื้นที่เก็บตัวอย่างในพื้นที่แปลงเกษตรโครงการเดินตามรอยพ่อ อยู่อย่างพอเพียง ณ หมู่ 4 ตำบลมหาสวัสดิ์ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และน้ำจากคลองโยงและคลองกำนันขาวไปวิเคราะห์คุณภาพและวางแผนการพัฒนาดินและน้ำในบริเวณนี้ต่อไป

(2) นักศึกษารากแก้วมหิดลนำเสนอผลการวิเคราะห์ดินและน้ำที่ได้วิเคราะห์จากห้องฏิบัติการให้กับผู้นำชุมชนและชาวบ้านได้รับฟัง พร้อมแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการฟื้นฟูบำรุงดินและน้ำจากผู้นำชุมชนร่วมกัน

(3) นักศึกษารากแก้วมหิดลและนักศึกษาจิตอาสามหิดลได้ร่วมกันเก็บผักตบชวาในคลองโยงและคลองกำนันขาวแล้วนำมาทำเป็นดินพร้อมปลูกผักตบชวา เพื่อนำมาใช้ในแปลงปลูกผักปลอดสารต่อไป

(4) นักศึกษารากแก้วปลูกผักคะน้าและกวางตุ้ง ลงในแปลงเพื่อทดสอบดินพร้อมปลูกผักตบชวา จำนวน 4  แปลง โดยแปลงผักทั้งหมดปลอดสารเคมี และดำเนินการเก็บผักปลอดสารมาจำหน่ายบุคลากรของมาวิทยาลัยมหิดล

  • ทำแล้วได้อะไร

การดำเนินโครงการเกษตรและสิ่งแวดล้อม นักศึกษารากแก้วได้ฝึกปฏิบัติการทำงานในพื้นที่ร่วมกับชุมชน ได้เรียนรู้กระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน จากกระบวนการทำงานได้เรียนรู้วิธีการวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำจากห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ และได้คืนผลการวิเคราะห์คุณภาพดินและน้ำกับชุมชน ซึ่งชุมชนสามารถนำผลเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพัฒนาพื้นที่เกษตรต่อไป อีกทั้งจากการนำผักตบชวามาทดลองทำดินพร้อมปลูก ได้ดินพร้อมปลูกมา 1 ชนิด ที่สามารถนำมาใช้ในแปลงปลูกผักปลอดสารได้  ผลผลิตที่ได้จากแปลงทดลองนักศึกษารากแก้วได้ทดลองนำมาจำหน่ายทำการตลาดเล็กในกลุ่มบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แบบแผนการตลาดของผักปลอดสารเพื่อการพัฒนาต่อไปในโครงการระยะที่ 2

  • อะไรที่ Work ไม่ Work

จุดเด่น

การดำเนินโครงการได้รับความร่วมมือจากแกนนำชุมชนในการดำเนินโครงการ และได้รับความร่วมมือจากคณะสิ่งแวดล้อมที่นำองค์ความรู้มาช่วยการดำเนินโครงการ ซึ่งการดำเนินโครงการนี้เป็นความต้องการของชุมชนและผลผลิตที่เกิดขึ้นชุมชนสามารถนำไปต่อยอดได้

อุปสรรค

การดำเนินโครงการต้องทำงานอย่างต่อเนื่องและลงพื้นที่บ่อยครั้ง ซึ่งอาจจะเป็นการดำเนินงานที่หนักไปสำหรับนักศึกษาที่มีภาระด้านการเรียนมาก

3.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 การส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษา

3.2.1 โครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

3.2.1.1 โครงสร้าง

การสร้างทีมนักศึกษารากแก้วมหิดล เป็นกลไกลสำคัญในการพัฒนาและส่งเสริมการสร้างเครือข่ายระหว่างนักศึกษาจากหลากหลายคณะในการนำองค์ความรู้ไปพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง   บริหารงานโดยคณะกรรมการนักศึกษาโครงการรากแก้วที่มาจากหลายคณะ (รูปที่ 7 และรูปที่ 8)

3.2.1.2 พัฒนาการของชมรม

นักศึกษารากแก้วมหิดลมีโครงสร้างการทำงานที่ได้ร่วมกันพัฒนา ในการบริหารจัดการของกลุ่มรากแก้วมหิดล ในการขับเคลื่อนงานที่มีแบบแผนหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น

3.2.1.3 การบริหารจัดการสมาชิก

จากโครงสร้างการบริหารงานของนักศึกษารากแก้ว มีรายละเอียดการทำงาน ประกอบด้วย

  • ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– บริหารงานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย

– เป็นผู้แทนของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการดำเนินงานร่วมกับมหาวิทยาลัย หน่วยงานภายในและหน่วยงานภายนอก

– วางแผนและกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

– ควบคุมและดูแลการดำเนินงานของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว  มหาวิทยาลัยมหิดล

– เป็นประธานในที่ประชุมคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– แต่งตั้งผู้ทำงานเฉพาะกิจที่จะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ตามความจำเป็น โดยได้รับความเห็นชอบจากการประชุมคณะกรรมการโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา

– พิจารณารายงานสรุปการดำเนินงานโครงการและนำเสนอต่อที่ประชุมโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

โครงสร้างการบริหารจัดการโครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

รายชื่อสมาชิกตามโครงสร้างโครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

  • รองประธานฯ ฝ่ายบริหาร มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– เป็นผู้ช่วยประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในกิจกรรมต่างๆ ที่ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มอบหมาย

– ทำหน้าที่แทนประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว  มหาวิทยาลัยมหิดลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

– ควบคุมและดูแลการดำเนินงานด้าน เลขานุการ เหรัญญิก และประชาสัมพันธ์ ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว  มหาวิทยาลัยมหิดล

– รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารต่อที่ประชุมคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • รองประธานฯ ฝ่ายจัดการองค์ความรู้ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– เป็นผู้ช่วยประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในกิจกรรมต่างๆ ที่ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มอบหมาย

– ทำหน้าที่แทนประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว  มหาวิทยาลัยมหิดลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

– ควบคุมและดูแลการดำเนินงานด้านการจัดการองค์ความรู้ ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว  มหาวิทยาลัยมหิดล

– รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงานของฝ่ายจัดการองค์ความรู้ต่อที่ประชุมคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • รองประธานฯ พัฒนาโครงการ มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– เป็นผู้ช่วยประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในกิจกรรมต่างๆ ที่ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มอบหมาย

– ทำหน้าที่แทนประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในกรณีที่ประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว  มหาวิทยาลัยมหิดลไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้

– ควบคุมและดูแลการดำเนินงานด้านการพัฒนาโครงการในพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– รายงานผลและสรุปผลการดำเนินงานของฝ่ายพัฒนาโครงการต่อที่ประชุมคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • เลขานุการคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– เชิญประชุม บันทึกการประชุมพร้อมเสนอรายงานการประชุมให้แก่อาจารย์ที่ปรึกษาคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ทราบหลังจากเสร็จสิ้นการประชุม ภายใน 10 วัน

– รับส่ง และโต้ตอบหนังสือ จากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย โดยมีเจ้าหน้าที่จากกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับกองกิจการนักศึกษา เป็นที่ปรึกษา

– รวบรวมและสรุปผลการดำเนินงานโครงการเสนอต่อประธานคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใน 20 วันหลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ

– แจ้งกำหนดการประชุมให้กับอาจารย์ที่ปรึกษา รองประธานฯ ทุกฝ่าย และคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • เหรัญญิกคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– รับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– รับและเบิกจ่ายเงินของการดำเนินโครงการ/กิจกรรมต่างๆของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว                                                       มหาวิทยาลัยมหิดล

– จัดทำและติดตาม รวบรวมและเก็บรักษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการเงินของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– จัดทำรายงานสรุปการใช้จ่ายเงินของแต่ละโครงการ หลังเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการภายใน 10 วัน และเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษาคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล และส่งข้อมูลรายงานสรุปการใช้จ่ายนี้ให้กับเลขานุการคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินงานโครงการนั้นๆต่อไป

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • ประชาสัมพันธ์คณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– รับผิดชอบในการจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการ/กิจกรรม ต่างๆ ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และบุคลคลภายนอกได้รับทราบ

– เผยแพร่เกียรติคุณ  และผลงานของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– ติดต่อประสานกับหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัย เรื่องการขอใช้สถานที่และสิ่งอำนวยความสะดวกประสานงาน และ/หรือ เป็นผู้จัดกิจกรรมสันทนาการของโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สอดคล้องกับนโยบายของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล

– ประสานงานและ/หรือจัดเตรียมอุปกรณ์โสตทัศนูปกรณ์

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • คณะกรรมการฝ่ายจัดการองค์ความรู้ คณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– เก็บรักษาเอกสารสิ่งพิมพ์และทำสำเนาเก็บไว้ที่เลขานุการคณะกรรมการนักศึกษารากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล จำนวน 1 ฉบับ

– เก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับ ที่มา วัตถุประสงค์ นโยบาย แผนการดำเนินงาน รายงานสรุปผลการดำเนินงานของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

– เป็นสื่อกลางในการให้ข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ในการขับเคลื่อนโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล

– รับผิดชอบการลงทะเบียนของโครงการ/กิจกรรม ต่างๆ

– รับผิดชอบการประเมินผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ต่างๆ  ตั้งแต่การจัดเตรียมแบบประเมิน การดำเนินการประเมินผล  และจัดทำสรุปรายงานผลการประเมิน  พร้อมทั้งส่งสรุปผลการประเมินให้กับเลขานุการเพื่อจัดทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรมนั้นๆ ต่อไป

– สนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายจัดการองค์ความรู้

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

  • คณะกรรมการฝ่ายพัฒนาโครงการ คณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล มีอำนาจและหน้าที่ดังนี้

– ประสานงาน และ/หรือดำเนินการจัดโครงการ/กิจกรรมต่างๆ ของคณะกรรมการนักศึกษารากแก้ว มหาวิทยาลัยมหิดล ให้สอดคล้องกับแผนการดำเนินงานโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยมหิดล

– จัดทำเอกสารเสนอโครงการ โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคณะกรรมการนักศึกษารากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นที่ปรึกษา และส่งต่อมายังกองกิจการนักศึกษา และกลุ่มภารกิจวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อพิจารณาต่อไป

– ดูแลกำหนดการ และอำนวยความสะดวกต่างๆ ของโครงการ/กิจกรรม

– สนับสนุนการดำเนินงานของฝ่ายจัดการองค์ความรู้

– ดำเนินงานตามที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ที่ปรึกษา

3.2.1.4 กิจกรรมพัฒนานักศึกษา

  • บทนำ

มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิรากแก้ว ได้ร่วมกันพัฒนานักศึกษารากแล้วมหิดล ในด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และการนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานในพื้นที่จริงเพื่อเรียนรู้การทำงานจากพื้นที่ต้นแบบ และขั้นตอนกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนงานคือการสานสัมพันธ์ระหว่างคณะทำงานรากแก้วมหิดลเพื่อให้เกิดภาวะการเป็นผู้นำและเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งการพัฒนาโครงการและวางแผนการขับเคลื่อนงานของนักศึกษารากแก้ว

  • เราทำอะไรบ้าง

เริ่มต้นจากการที่นักศึกษารากแก้วมหิดลได้จัดกิจกรรมสัมมนาผู้นำนิสิตนักศึกษาสู่การเรียนรู้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ณ จังหวัดอุดรธานี และจังหวัดขอนแก่น กิจกรรมนี้ได้รับการสนับสนุนจากมูลนิธิรากแก้ว ที่พานักศึกษาไปศึกษาดูงานโครงการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนที่อ่างเก็บน้ำห้วยคล้าย จังหวัดอุดรธานี และโครงการพัฒนาและจัดหาน้ำ ตำบลทุ่งโป่ง อำเภออุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น จากนั้นนักศึกษาได้จัดกิจกรรม “เรียนรู้วิถีชุมชน คนริมคลอง” ณ คลองมหาสวัสดิ์ เป็นการนำนักศึกษาสมาชิกใหม่ของรากแก้วลงสำรวจและทำความเข้าใจพื้นที่เป้าหมายของอำเภอพุทธมณฑล เมื่อได้สมาชิกใหม่แล้วจึงได้จัดกิจกรรม “Rakkaew Transformative camp 2016”  ณ วังมนัสรีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม เพื่อสร้างนักศึกษาให้เกิดภาวะผู้นำที่สามารถเข้าใจและทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ จากนั้นได้จัดกิจกรรม “เสริมทักษะการเรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชน ครั้งที่ 2” เพื่อให้นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ทั้ง 4 วิทยาเขตไปเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ณ โครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูที่ดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.โพธาราม จ.ราชบุรี จากนั้นนักศึกษารากแก้วมหิดลศาลายาได้ไปนำเสนอโครงสร้างและผังการทำงานของทีมนักศึกษารากแก้วมหิดลให้นักศึกษามหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรีได้รู้จักและสนใจที่จะเข้าร่วมมาเป็นสมาชิกใหม่ผ่านกิจกรรม “เรียนรู้เพื่อพัฒนาชุมชน สำหรับนิสิตนักศึกษา” ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี จากนั้นเป็นกิจกรรม “สัมมนาผู้นำนิสิตนักศึกษาและกิจกรรมเสริมทักษะการบริหารจัดการโครงการและการพัฒนาโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาให้แก่นิสิตนักศึกษา (Skill 1)” ที่จัดขึ้นเพื่อให้นิสิตนักศึกษาสถาบันการศึกษาภาคกลาง จำนวนทั้งสิ้น 14 สถาบัน เข้าร่วมโครงการฯ ณ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตศาลายา และจังหวัดปทุมธานี ต่อมาได้จัดกิจกรรม “Rakkaew Next Gen Camp ค่ายพัฒนานักศึกษาเพื่อการพัฒนาชุมชน” ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และพื้นที่คลองมหาสวัสดิ์ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ตัวแทนทีมงานโครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมงานมหกรรมรวมพลังนิสิตนักศึกษาขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อนำเสนอการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยมหิดลและยังเป็นการประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ การท่องเที่ยวและจำหน่ายสินค้าท้องถิ่นการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ในงานมหกรรมรวมพลังนิสิตนักศึกษา ขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ณ อาคารตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

  • ทำแล้วได้อะไร

นักศึกษารากแก้วที่ได้เรียนรู้แนวทางการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ และจากการที่นักศึกษาได้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้วิถีชุมชนทั้งอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม และพื้นที่เป้าหมายของมหาวิทยาลัยมหิดลวิทยาเขตกาญจนบุรี กิจกรรมดังกล่าวนี้นักศึกษาได้ไปสำรวจพื้นที่เป้าหมายด้วยตนเองทำให้นักศึกษาได้มองเห็นถึงปัญหาของชุมชนโดยรอบที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และร่วมกันคิดหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกับชุมชน ทั้งส่งเสริมให้นักศึกษาบูรณาการองค์ความรู้จากแต่ศาสตร์ลงไปช่วยเหลือชุมชนโดยรอบมหาวิทยาลัย และยังสามารถคิดพัฒนาโครงการที่เกิดจากปัญหาหรือความต้องการของชุมชนอย่างมีระบบ มีขั้นตอน กระบวนการทำงานอย่างรอบคอบ ในส่วนของกิจกรรม Rakkaew Transformative camp ในส่วนของการสัมมนาผู้นำนิสิตนักศึกษาและกิจกรรมเสริมทักษะการบริหารจัดการโครงการและการพัฒนาโครงการขับเคลื่อนการพัฒนาให้แก่นิสิตนักศึกษา ทำให้นักศึกษาได้พัฒนาภาวะผู้นำบนพื้นฐานของศักยภาพของตนเอง และฝึกทักษะการทำงานร่วมกันบนพื้นฐานความแตกต่างของผู้อื่น สร้างความสัมพันธ์ระหว่างนักศึกษาจากหลากคณะหลายสถาบันให้สามารถทำงานร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการสร้างทีมนักศึกษารากแก้วในรุ่นต่อไปอีกด้วย

  • อะไรที่ Work ไม่ Work

จุดเด่น

นักศึกษาได้มีการรวมกลุ่มกันดำเนินโครงการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการหาปัญหาในชุมชน จัดเวทีระดมความคิดจากคนในชุมชน วางแผนเพื่อเขียนโครงการ ดำเนินโครงการตามแผน รวมทั้งการสรุปงาน ทำให้นักศึกษาได้รู้จักการทำงานอย่างเป็นระบบเป็นขั้นตอน รู้จักวิธีการทำงานกับชุมชนที่ถูกต้อง

อุปสรรค

เนื่องจากนักศึกษารากแก้วมหิดลประกอบไปด้วยนักศึกษาภาคปกติและนักศึกษาภาคนานาชาติที่มีตารางการเรียนที่ไม่ตรงกัน จึงเป็นอุปสรรคในการทำงานร่วมกันบ้าง และด้วยรายวิชาการเรียนที่หนักทำให้นักศึกษาเข้ามาร่วมกิจกรรมได้ไม่สม่ำเสมอ ไม่ต่อเนื่อง จึงทำให้การดำเนินโครงการอาจมีความล่าช้าไป อีกทั้งกรอบการทำงานที่กว้างและหนักเกินไปสำหรับนักศึกษา

3.2.1.5 ผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรม (VOC)

จากการสำรวจความคิดเห็นนักศึกษารากแก้วมหิดล ในการร่วมดำเนินโครงการการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา ผลการสำรวจนักศึกษาจำนวน 20 คน มีรายละเอียด ดังตารางที่ 3

ตารางที่ 3 ผลการประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมโครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

ประเด็น ร้อยละคะแนนความพึงพอใจ
1) โครงการรากแก้ว เป็นโครงการที่มีประโยชน์ต่อสังคม 4.2
2) โครงการรากแก้ว ช่วยให้ท่านสามารถนำเอาความรู้ไปใช้ในชีวิตจริงได้ 3.95
3) ท่านสามารถนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ 4.2
4) ท่านสามารถนำเอาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์ใช้ในสาขาวิชาที่เรียนได้ 4
5) โครงการรากแก้วมีกิจกรรมที่น่าสนใจให้ท่านทั่วไปเข้าร่วม 4.25
6) การเข้าร่วมโครงการรากแก้วทำให้ ประสิทธิภาพในการเรียนน้อยลง 2.7
7) การเข้าร่วมโครงการรากแก้วทำให้เสียเวลาพักผ่อนส่วนตัว 3
8) กิจกรรมของโครงการรากแก้ว มีภาระงานที่มากเกินไป 2.85
9) การเข้าร่วมกิจกรรมได้รับผลไม่ตรงตามความคาดหวังของท่าน 2.95
10) ท่านมีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมโครงการรากแก้ว 4.6

หมายเหตุ: Likert scale ในการลำดับความเห็นด้วยโดย จากมาก (5) ไปน้อย (1)

– ข้อเสนอแนะถึง อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการรากแก้ว และกองกิจการนักศึกษา

กรอบการทำงานของรากแก้วมหิดลใหญ่เกินไป แต่การดำเนินโครงการได้รับการสนับสนุนจากอาจารย์ เจ้าหน้าที่ของงานพันธกิจสัมพันธ์ฯ และกองกิจการนักศึกษา ทำให้สามารถดำเนินโครงการสำเร็จได้ การได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของรากแก้วมหิดลเป็นการเสริมประสบการณ์นอกเหนือจากการเรียน และฝึกปฏิบัติการทำงานร่วมกับชุมชนและผู้อื่นได้เป็นอย่างดี

– ข้อเสนอแนะถึง มูลนิธิรากแก้ว

มูลนิธิรากแก้วควรมีความชัดเจนในการทำงาน และสื่อสารถึงบทบาทของมูลนิธิชัดเจนในเรื่องความร่วมมือ หลักในการปฏิบัติงานและการสนับสนุนด้านต่างๆทั้งในทางหลักการ และปฏิบัติ  การสร้างแรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญ

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save