กองกิจการนักศึกษา มหิดล

รายงานการดำเนินงาน
โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

2.1 การเลือกพื้นที่

2.1.1 บทนำ

พื้นที่อำเภอพุทธมณฑลเป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำ ลำคลองหลายสายหล่อเลี้ยงชีวิตคนในอำเภอพุทธมณฑล อาชีพที่มีอยู่ในพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล การทำการเกษตร เช่น การทำนาข้าว แปลงผัก สวนผลไม้ นาบัว ซึ่งถือได้ว่าอำเภอพุทธมณฑลเป็นตัวแทนภาคกลางที่มีลักษณะเป็น “เมือง น้ำ นา” ซึ่งในการเลือกพื้นที่ทำงานตามหลักของมูลนิธิรากแก้วพื้นที่อำเภอพุทธมณฑลตอบโจทย์การพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.1.2 เราทำอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับอำเภอพุทธมณฑลและมูลนิธิรากแก้ว ได้ประชุมชี้แจงและการขับเคลื่อนโครงการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา ให้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหน่วยงานราชการที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และได้ดำเนินการคัดเลือกพื้นที่เป้าหมาย โดยการจัดประชุม ทั้งนี้เกณฑ์การคัดเลือกพื้นที่เป้าหมายอิงตามหลักของมูลนิธิรากแก้ว กำนัน ผู้ใหญ่บ้านเสนอพื้นที่ในที่ประชุม และที่ประชุมได้พิจารณาเลือกพื้นที่ที่มีความพร้อม มีผู้นำที่เข้มแข็งและการพัฒนาต้องเกิดประโยชน์กับชุมชน จากที่ประชุมสรุปได้พื้นที่ที่เป็นตัวแทน เมือง น้ำ นา จำนวน 6 พื้นที่ ครอบคลุมอำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

2.1.3 ทำแล้วได้อะไร

จากการประชุมคัดเลือกพื้นที่ ได้แก่ 6 หมู่บ้าน 3 ตำบล ที่ครอบคลุมพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล (รูปที่ 4 และตารางที่ 2) ประกอบด้วย หมู่ 3 บ้านศาลาดิน ตำบลมหาสวัสดิ์ หมู่ 5 บ้านสหพรและหมู่ 1 บ้านวัดสุวรรณา ตำบลมหาสวัสดิ์ หมู่ 4 บ้านวัดมะเกลือ หมู่ 6 บ้านคลองโยงใหม่ และหมู่ 8 บ้านสหกรณ์ ตำบลคลองโยง และได้เชิญกำนัน ผู้ใหญ่บ้านและหน่วยงานราชการผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มาร่วมประชุมรับรองพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการ

แผนที่พื้นที่เป้าหมายอำเภอพุทธมณฑล

ตารางที่ 2 สรุปพื้นที่เป้าหมายการดำเนินงาน

ตำบล หมู่บ้าน
ตำบลมหาสวัสดิ์ หมู่ 3 บ้านศาลาดิน
ตำบลศาลายา หมู่ 5 บ้านสหพร
หมู่ 1 บ้านวัดสุวรรณ
ตำบลคลองโยง หมู่ 4 บ้านวัดมะเกลือ
หมู่ 6 บ้านคลองโยงใหม่
หมู่ 8 บ้านสหกรณ์

2.1.4 อะไรที่ Work ไม่ Work

  • จุดเด่น

พื้นที่อำเภอพุทธมณฑลเป็นพื้นที่รอบมหาวิทยาลัยมหิดล และเป็นพื้นที่ที่ทางมหาวิทยาลัยได้มีการทำงานร่วมกับชุมชนอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้การประสานงานและการเชื่อมโยงสามารถเข้าถึงได้สะดวกและรวดเร็ว การดำเนินงานได้สมานประโยชน์ทางการเมืองไม่เกิดความขัดแย้ง อีกทั้งพื้นที่อำเภอพุทธมณฑลถือว่าเป็นพื้นที่ที่ท้าทายในการทำงาน เพราะเป็นพื้นที่  “เมืองกึ่งชนบท” ถ้าดำเนินการพัฒนาพื้นที่นี้สำเร็จจะได้องค์ความรู้และต้นแบบด้านการพัฒนาเมือง

  • อุปสรรค

การเลือกพื้นที่เป้าหมาย 6 พื้นที่ ของอำเภอพุทธมณฑลมีจำนวนมากเกิน และในบางพื้นที่ที่คัดเลือกมา ไม่ได้คัดสรรผู้นำชุมชน/ชุมชนที่ระเบิดจากภายในอย่างแท้จริง ซึ่งในบางพื้นที่ไม่ได้มีใจในการร่วมทำงาน  ในการดำเนินงานยังขาดการสร้างความเข้าใจ และความชัดเจนในการสื่อสารกับหน่วยงานราชการ

2.2 การสร้างการมีส่วนร่วม

2.2.1 บทนำ

การพัฒนาเชิงพื้นที่ คือการบริหารจัดการที่ลงไปทำกระบวนการในพื้นที่เป้าหมาย สิ่งสำคัญคือการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในทุกหน่วยงานและชุมชน ให้เกิดการ “ระเบิดจากข้างใน” โดยการร่วมเรียนรู้และสร้างความเข้าใจในสาเหตุของปัญหา เพื่อการร่วมกันหาแนวทางในการแก้ไขและวางแผนพัฒนา การร่วมคิด ร่วมวางแผน และร่วมลงมือปฏิบัติ โดยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคประชาชน และสถาบันการศึกษา ในการร่วมกันแก้ปัญหาหรือพัฒนาในประเด็นที่คนในชุมชนร่วมกันดำเนินการ ตั้งแต่ค้นหาปัญหา วางแผนการดำเนินงาน ร่วมกันดำเนินงาน เพื่อให้สำเร็จได้ด้วยความร่วมมือของคนในชุมชน

2.2.2 เราทำอะไรบ้าง

ในการขับเคลื่อนโครงการ ระยะแรกคือการสร้างความรู้ความเข้าใจและการสร้างมีส่วนร่วมถือเป็นสิ่งสำคัญ ทางมูลนิธิรากแก้ว ได้นำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ ผู้นำนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล นายอำเภอ ปลัดอำเภอ และผู้นำชุมชนอำเภอพุทธมณฑล ไปศึกษาดูงานตัวอย่างโครงการพัฒนาในจังหวัดพื้นที่ต้นแบบจังหวัดอุดรธานี ขอนแก่น และน่าน  เพื่อสร้างความเข้าใจถึงการนำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริมาใช้แก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ตลอดจนแนวทางการทำงานอย่างบูรณาการของสถาบันการศึกษาร่วมกับหน่วยงานราชการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลังจากการศึกษาดูงาน นายอังกูร สุ่นกุล นายอำเภอพุทธมณฑล ได้เรียกประชุมหัวหน้าส่วนราชการ ผู้บริหารท้องถิ่น ท้องที่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถาบันการศึกษา และภาคเอกชน ในพื้นที่พุทธมณฑล เพื่อวางแผนปฏิบัติการ (Roadmap) ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอพุทธมณฑลร่วมกัน

2.2.3 ทำแล้วได้อะไร

จากการศึกษาดูงานผู้ศึกษาดูงานได้เห็นโครงการและพื้นที่ต้นแบบในการพัฒนาร่วมกับมูลนิธิปิดทองหลังพระและแม่ฟ้าหลวงและเข้าใจถึงการนำหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริมาใช้แก้ไขปัญหาให้กับชุมชน ตลอดจนแนวทางการทำงานอย่างบูรณาการของสถาบันการศึกษาร่วมกับหน่วยงานราชการเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งจากการประชุมรวมกันได้แผนปฏิบัติการ (Roadmap) ในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของอำเภอพุทธมณฑล พร้อมกับออกคำสั่งอำเภอพุทธมณฑล ที่ 255/2559 แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

2.2.4 อะไรที่ Work ไม่ Work

  • จุดเด่น

พื้นที่เป้าหมายเป็นพื้นที่ที่มาวิทยาลัยมหิดลได้ทำงานรวมกันอยู่ก่อนแล้ว ทำให้การติดต่อประสานงานและการหาแกนนำหลักที่เข้ามาช่วยในการดำเนินโครงการได้ดี และได้รับความร่วมมือในการขับเคลื่อนงานเป็นอย่างดี

  • อุปสรรค

การทำงานกับชุมชนต้องมีความชัดเจนในการทำงาน และต้องทำชุมชนเห็นว่าเมื่อเข้าร่วมแล้วจะเกิดประโยชน์และพัฒนาอะไรให้ชุมชนดีขึ้น ชุมชนถึงจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่

2.3 ศึกษาภูมิสังคมและจัดทำแผนชุมชน

2.3.1 บทน

ตามหลักการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา”  การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูล วิถีชีวิต เศรษฐกิจ สังคม และลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ และศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชน เพื่อการจัดทำแผนพัฒนาพื้นที่ การศึกษาข้อมูลมือสองเชิงภูมิศาสตร์และภูมิสังคมก่อนลงพื้นที่สำรวจข้อมูลเพื่อความถูกต้องและทราบข้อมูลความต้องการอย่างแท้จริงจากชุมชน

2.3.2 เราทำอะไรบ้าง

มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิรากแก้ว และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วิเคราะห์ข้อมูลในหมู่บ้านเป้าหมายโดยแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ หมู่บ้านในยุทธศาสตร์ และหมู่บ้านนอกยุทธศาสตร์ จากแผนและข้อมูลพื้นฐานของชุมชน โดยหมู่บ้านที่มีข้อมูลครบถ้วน ได้ดำเนินการตามแผน สำหรับหมู่บ้านที่มีข้อมูลไม่ครบถ้วน หรือไม่มีข้อมูล ต้องดำเนินการเก็บข้อมูลเพิ่มเติม

การดำเนินงานในระยะแรก มหาวิทยาลัยมหิดลได้นำนักศึกษาร่วมกับพัฒนาการอำเภอพุทธมณฑล อาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้าน และคณะกรรมการหมู่บ้าน เข้าเก็บข้อมูลเศรษฐกิจสังคม และความสุข ณ หมู่บ้านสหพร หมู่ 5 ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม โดยการสร้างกระบวนการเรียนรู้ร่วมกับชุมชนโดยการใช้พลังนักศึกษาที่ร่วมกันทำงานภายใต้กิจกรรมเสริมทักษะการเรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชน  ซึ่งนักศึกษาได้เรียนรู้ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ สำรวจข้อมูลพื้นฐานและเก็บข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชน (ภาคผนวก แบบสอบถาม) และได้ดำเนินการนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ร่วมกับชุมชนเพื่อหาปัญหาและความต้องการที่แท้จริงของชุมชน  และได้ดำเนินการนำผลสรุปจากการวิเคราะห์ข้อมูลมานำเสนอให้แก่ชุมชน เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม หมู่บ้านสหพร ตำบลศาลายา อ.พุทธมณฑล  จ.นครปฐม

มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิรากแก้ว นักศึกษารากแก้ว และชาวบ้านในพื้นที่เป้าหมายทั้ง 6 พื้นที่ ได้ร่วมจัดทำแผนชุมชนและร่างโครงการที่จะดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมาย ภายใต้กิจกรรม “ ร่วมด้วยช่วยกัน สร้างสรรค์แผนชุมชน” ณ The Royal Gems Golf Resort   อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เพื่อให้ได้แผนการดำเนินโครงการในพื้นที่เป้าหมาย

2.3.3 ทำแล้วได้อะไร

การนำนักศึกษาลงพื้นที่เป้าหมาย หมู่ที่ 5 บ้านสหพร เพื่อสำรวจข้อมูลพื้นฐานและเก็บข้อมูลปัญหาและความต้องการของชุมชน นักศึกษารากแก้วมหิดลได้ฝึกปฏิบัติและสร้างประสบการณ์ในการลงพื้นที่ทำงานร่วมกับชุมชน และได้ข้อมูลพื้นฐาน ความต้องการและปัญหาของชุมชน ณ หมู่ที่ 5 บ้านสหพร ตำบลศาลายา อ.พุทธมณฑล  จ.นครปฐม  เมื่อนำข้อมูลคืนให้กับชุมชน ทางชุมชนหมู่บ้านสหพรได้ร่วมกันคิดและเขียนโครงการ ซึ่งได้มาซึ่งร่างโครงการของชุมชนหมู่บ้านสหพร จากการเก็บและวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดของพื้นที่เป้าหมาย ได้มาซึ่งแผนชุมชนและโครงการที่ชุมชนมีความต้องการดำเนินงานในพื้นที่เป้าหมาย

2.3.4 อะไรที่ Work ไม่ Work

  • จุดเด่น

การศึกษาข้อมูลทุตยภูมิ (secondary data) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนชุมชน ได้ข้อมูลที่รวดเร็ว ซึ่งจากข้อมูลทำให้ทราบข้อมูลพื้นที่ในเบื้องต้น และสามารถทำมาวางแผนการพัฒนาเพื่อทำงานแบบต่อยอดในชุมชน

เก็บข้อมูลจากชุมชนมาวิเคราะห์ (First data) ณ หมู่บ้านสหพร  ต.ศาลายา ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนทำให้ได้เริ่มเรียนรู้ไปด้วยกัน ได้ข้อมูลที่เป็นเชิงลึก ได้ปัญหาและความต้องการมาจากชุมชนอย่างแท้จริง ซึ่งข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาโครงการ อีกทั้งการลงพื้นที่เป็บข้อมูลนักศึกษาได้ลงพื้นที่เรียนรู้การทำงานร่วมกับชุมชนและสัมผัสกับชุมชน

  • อุปสรรค

การศึกษาข้อมูลทุตยภูมิ (secondary data) โดยการวิเคราะห์ข้อมูลจากแผนชุมชน ข้อมูลที่ได้มาไม่เป็นปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้นำไปสู่การเข้าใจภูมิสังคมอย่างถ่องแท้ และไม่ได้มีการตรวจสอบข้อมูลที่ดี

เก็บข้อมูลจากชุมชนมาวิเคราะห์ (First data) ณ หมู่บ้านสหพร  ต.ศาลายา การออกแบบและวิธีการเก็บแบบสำรวจอาจยังไม่ดีพอ และยังขาดการวิเคราะข้อมูลที่รอบด้านและเชิงลึก ซึ่งการเก็บข้อมูลต้องให้กำลังคนและเวลาค่อนข้างมาก

2.3.5 ตารางสรุปการศึกษาภูมิสังคม

จากการศึกษาภูมิสังคมสามารถพัฒนามาเป็นแผนการขับเคลื่อนงานได้ตามแผนภาพ ดังรูปที่ 5

แผนการขับเคลื่อนโครงการจากการศึกษาภูมิสังคม

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save