กองกิจการนักศึกษา มหิดล

โครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

ภายใต้โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา

ความเป็นมา

ด้วยรัฐบาลได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกัน สถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยการนำองค์ความรู้ในสถาบันการศึกษามาส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาในพื้นที่ร่วมกับหน่วยงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตัวเองได้

มูลนิธิรากแก้วจัดทำ “โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้สนับสนุนการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทางานอย่างบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นหนึ่งในสถาบันการศึกษาเป้าหมาย สนับสนุนการดำเนินงาน 2 ยุทธศาสตร์การดำเนินงาน ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท และ ยุทธศาสตร์ที่ 2ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษา

กรอบแนวทางการดำเนินงาน

โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา เป็นการบูรณาการการทำงานจากหลายภาคส่วน ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยมหิดลโดยหน่วยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยมหิดลกับสังคมร่วมกับกองกิจการนักศึกษา มูลนิธิรากแก้ว ส่วนงานราชการท้องถิ่น และประชาชนอำเภอพุทธมณฑล ร่วมกันดำเนินงานในพื้นที่อำเภอพุทธมณฑล เริ่มต้นจากการเลือกพื้นที่และหมู่บ้านเป้าหมาย เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมกันในชุมชนกับมหาวิทยาลัย เมื่อชุมชนเห็นสภาพปัญหาและเกิดความเข้าใจในการแก้ปัญหา ต้องทำการศึกษาภูมิสังคมของชุมชน และนำมาจัดทำแผนพัฒนาชุมชนร่วมกัน โดยยึดหลักศาสตร์พระราชา “บูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ” ภายใต้กรอบการพัฒนาเชิงบูรณาการ  “พุทธมณฑล มณฑลแห่งความพอเพียง” (Sustainable Development Goals (SDGs)) มีนัยสำคัญว่า อำเภอพุทธมณฑลเป็นพื้นที่ ที่ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนและสังคมทั้งพื้นที่ แต่ทั้งนี้ ด้วยยึดหลักการทำงานตามลำดับขั้นตอน ในพื้นที่นำร่องของอำเภอพุทธมณฑล ตามภูมิสังคมของอำเภอพุทธมณฑล ได้แก่ ภูมินคร ชลธาร และกสิกรรม (เมือง-น้ำ-นา)

ผลการดำเนินงานและกิจกรรม

มหาวิทยาลัยมหิดลและมูลนิธิรากแก้ว ได้ร่วมกันพัฒนานักศึกษารากแล้วมหิดล ในด้านความรู้ความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง และการนำนักศึกษาไปศึกษาดูงานในพื้นที่จริงเพื่อเรียนรู้การทำงาน จากพื้นที่ต้นแบบ และขั้นตอนกระบวนการทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน สิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนงานคือการสานสัมพันธ์ระหว่างคณะทำงานรากแก้วมหิดลเพื่อให้เกิดภาวะการเป็นผู้นำ  และเรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งการพัฒนาโครงการและวางแผนการขับเคลื่อนงานของนักศึกษารากแก้ว โดยการขับเคลื่อนโครงการในชุมชน 4 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการท่องเที่ยว ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการเกษตร และด้านอาชีพ

โครงการพัฒนาของนักศึกษารากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล นักศึกษารากแก้วมหิดลได้ร่วมลงพื้นที่ และสำรวจความต้องการของชุมชน พร้อมทั้งเสนอโครงการการพัฒนาชุมชน ได้แก่

1) โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านเกษตรและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาพื้นที่เป้าหมายให้เป็นพื้นที่เกษตรปลอดภัย และการกำจัดผักตบชวาในแม่น้ำลำคลองของพื้นที่เป้าหมายให้มีจำนวนลดลง และนำมาต่อยอดในการแปรรูปผักตบชวา เพื่อการสร้างประโยชน์และรายได้ อีกทั้งเป็นการที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการเพื่อให้เกิดควาต่อเนื่องและยังยืนต่อไป รวมทั้งเป็นการฝึกฝนให้นักศึกษาเกิดการพัฒนาศักยภาพของตนนอกห้องเรียน ด้วยการนำเอาความรู้ในสาขาของตนมาปรับใช้ และบูรณาการร่วมกันในการพัฒนาชุมชน นำมาสร้างประโยชน์ให้กับส่วนรวมมากกว่าส่วนตน

2) โครงการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ด้านการท่องเที่ยวและอาชีพ โดยการประยุกต์ใช้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยการออกแบบ เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์เส้นทางใหม่โดยใช้จักรยาน ให้มีความครอบคลุมการท่องเที่ยวทั้งภายในและภายนอกชุมชน และการสำรวจเพื่อจัดทำแผนที่ท่องเที่ยวชุมชนคลองมหาสวัสดิ์ ซึ่งนักศึกษาได้นำองค์ความรู้จากสหสาขาวิชา มาร่วมกันแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงในชุมชนและนำไปสู่การพัฒนาชุมชนต่อไป

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save