กองกิจการนักศึกษา มหิดล

รายงานการดำเนินงาน
โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

4.1 บทเรียนที่ได้รับจากการดำเนินโครงการ

4.1.1 การเลือกพื้นที่

การขับเคลื่อนโครงการเพื่อพัฒนาชุมชน ต้องมีความเข้าใจพื้นที่ให้ดีพอ การขับเคลื่อนงานตอบโจทย์มูลนิธิรากแก้วมากกว่าโจทย์จากชาวบ้าน และไม่ได้เอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปตอบโจทย์/แก้ปัญหาชาวบ้านได้จริง “Customer insight” ไม่ได้เห็น pain point ของชาวบ้านที่แท้จริง

4.1.2 การสร้างการมีส่วนร่วม

การทำงานร่วมกับชุมชน สิ่งสำคัญคือการเข้าใจชุมชนอย่างลึกซึ้ง เพื่อการร่วมกันพัฒนาพื้นที่ของชุมชน ซึ่งชุมชนจะเข้ามามีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ เมื่อชุมชนมองเห็นประโยชน์และสิ่งที่ชุมชนจะได้รับจากการเข้ามามีส่วนร่วม

4.1.3 ศึกษาภูมิสังคม

การศึกษาภูมิสังคมเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการ ซึ่งการเข้าใจอย่างแท้จริงและการวิเคราะห์ร่วมกับชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ได้ข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำมาใช้ได้จริงในการขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ของชุมชน

4.1.4 ทำแผนชุมชน

ข้อมูลที่ได้ไม่ได้นำไปสู่การออกแบบโครงการเพื่อพัฒนาชุมชนในรูปแบบใหม่ๆ ชุมชนมีโครงการหรือแผนงานที่ได้ตั้งธงมาแล้ว จึงทำให้ไม่ได้นำข้อมูลมาทำแผนการพันาชุมชนเท่าที่ควร

4.1.5 ยุทธศาสตร์ที่ 1   

การเชื่อมประสานกับอำเภอพุทธมณฑล เป็นสิ่งสำคัญต้องมีความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ ผู้ที่รับผิดชอบให้ชัดเจน และมีความต่อเนื่องกับชุมชน การพัฒนาการดำเนินงานร่วมกัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล ชุมชน อำเภอ และแหล่งทุน ซึ่งต้องลงมือปฏิบัติเห็นเป็นรูปธรรม (Project quick hit)

4.1.6 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ภาคการศึกษา

  • กิจกรรมนักศึกษา

นักศึกษารากแก้วได้ดำเนินโครงการในพื้นที่ในด้านเกษตร สิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยว ถึงแม่ว่าจะมีนักศึกษามาเข้าร่วมน้อย เนื่องจากกรอบการทำงานกว้างและหนักเกินไปสำหรับนักศึกษา ซึ่งเป็นเสียงสะท้อนจากนักศึกษาที่อยากให้สร้างแรงจูงใจที่แตกต่างในการเข้าร่วมเป็นรากแก้วมหิดลและเห็นผลชัดเจน

  • การเรียนการสอน

มหาวิทยาลัยมหิดลมีรายวิชาที่เปิดสอนโดยมีเนื้อหาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และได้มีการทำ Expected learning outcomes (ELO) ร่วมกัน

4.2 ก้าวต่อไป (What next)

การพิจารณาเลือกพื้นที่เป้าหมายเพียงพื้นที่เดียวให้ชัดเจน ซึ่งเป็นพื้นที่ทีมีลักษณะเป็น “เมือง” และพัฒนาในทุกมิติ สร้างต้นแบบการพัฒนา “เมือง” นำความเชี่ยวชาญ (core competency) ของมหาวิทยาลัยมหิดลมาเชื่อมกับการทำงานในพื้นที่

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save