คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

สุขภาพกาย

เมื่อเจ็บป่วย ไม่สบาย ทำยังไง?

ก่อนเข้ารับบริการให้นักศึกษาเตรียมเอกสารและดำเนินการดังนี้

  1. เตรียมบัตรประจำตัวนักศึกษาและบัตรประจำตัวประชาชน
  2. เข้ารับบริการที่หน่วยสุขภาพนักศึกษาที่ใกล้ที่สุด
  3. หน่วยให้บริการเบื้องต้นและประสานส่งต่อกรณีปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง
สิทธิการรักษาพยาบาล คืออะไร?

สวัสดิการในการรักษาพยาบาลของภาครัฐที่ใช้ร่วมกับบริการที่มหาวิทยาลัยจัดให้สำหรับนักศึกษา เช่น สิทธิในการรักษาพยาบาลของข้าราชการ / รัฐวิสาหกิจ สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษาที่ผู้ประกอบอาชีพอื่นๆ เป็นต้น

สิทธิการรักษาพยาบาลของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล เป็นอย่างไรบ้าง?
  1. มหาวิทยาลัยมหิดล มิได้บังคับให้นักศึกษาต้องย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลมายังโรงพยาบาลต้นสังกัดของมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี
  2. โรงพยาบาลต้นสังกัดของทางมหาวิทยาลัยใช้สิทธิการรักษา คือ สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ (สปสช.) เป็นพื้นฐานในการรักษาพยาบาล
  3. มหาวิทยาลัยมีสวัสดิการรักษาพยาบาล (นักศึกษาจะต้องผ่านการชำระค่าบริการสุขภาพนักศึกษาก่อน) จึงจะสามารถใช้บริการได้

วิธีการเข้ารับการรักษาพยาบาลตามสิทธิ

 3.1 สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าแห่งชาติ (สปสช.)

– นักศึกษาต้องเตรียมบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชน ก่อนเข้ารักษาพยาบาลทุกครั้ง

– นักศึกษาจะต้องใช้สิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิพื้นฐานที่รัฐกำหนดให้ก่อนเป็นอันดับแรก

– หากนักศึกษาทำการรักษาพยาบาลแล้วพบว่ามีค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นมากกว่าสิทธิพื้นฐานของรัฐบาล โรงพยาบาลจึงจะตรวจสอบค่าใช้จ่ายกับสิทธิสวัสดิการนักศึกษา ซึ่งมีวงเงินจำนวน 30,000 บาท/คน/ปีการศึกษา และหากค่าใช้จ่ายนั้นไม่เกินตามวงเงินสิทธิของกรมบัญชีกลางจึงจะหักค่าใช้จ่ายส่วนต่างให้ในสิทธิสวัสดิการของนักศึกษาตามระบบ แต่หากค่าใช้จ่ายเกินสิทธิกรมบัญชีกลางกำหนดนักศึกษาจะต้องชำระเงินเอง

– หากนักศึกษาทำการรักษาที่คลินิกพิเศษ จะไม่สามารถเบิกจ่ายกับทางมหาวิทยาลัยได้ทุกกรณี

3.2 สิทธิข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ

–  นักศึกษาต้องเตรียมบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชน ก่อนเข้ารักษาพยาบาลทุกครั้ง

–  นักศึกษาต้องใช้สิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิบุตรข้าราชการที่รัฐกำหนดให้ก่อนเป็นอันดับแรก

–  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส่วนต่างนักศึกษาจะต้องสำรองจ่ายและนำไปเบิกจ่ายกับทางต้นสังกัดของผู้ปกครอง

– หากนักศึกษาหมดสิทธิการรักษาของบุตรข้าราชการ เมื่ออายุ 20 ปี ให้นักศึกษามาทำเรื่องดำเนินการย้ายสิทธิการรักษาพยาบาลตามสังกัดโรงพยาบาลของทางมหาวิทยาลัยต่อไป

–  หากนักศึกษาทำการรักษาที่คลินิกพิเศษ จะไม่สามารถเบิกจ่ายกับทางมหาวิทยาลัยได้ทุกกรณี

3.3 สิทธิประกันสังคม

–  นักศึกษาต้องเตรียมบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชน ก่อนเข้ารักษาพยาบาลทุกครั้ง

–  นักศึกษาต้องใช้สิทธิการรักษาพยาบาลตามสิทธิประกันสังคมเป็นอันดับแรก (ตามโรงพยาบาลที่ได้ระบุไว้ของตนเอง ไม่สามารถให้มหาวิทยาลัยดำเนินการย้ายโรงพยาบาลได้)

–  ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นส่วนต่างนักศึกษาจะต้องสำรองจ่ายและนำไปเบิกจ่ายกับทางประกันสังคม

–  หากนักศึกษาทำการรักษาที่คลินิกพิเศษ จะไม่สามารถเบิกจ่ายกับทางมหาวิทยาลัยได้ทุกกรณี

 

 

 

อยากรักษาฟัน ต้องทำอย่างไร?
  1. นักศึกษาต้องเตรียมบัตรนักศึกษาและบัตรประชาชนก่อนเข้ารับ การบริการรักษาพยาบาลทุกครั้ง
  2. นักศึกษาสามารถเดินทางไปยังโรงพยาบาลที่อยู่ตามโซนการรักษาของนักศึกษาเพื่อทำการรักษาทางทันตกรรม
  3. หากนักศึกษามีความประสงค์ที่จะนัดการรักษาทางทันตกรรมให้นักศึกษาโทรเพื่อสอบถามตารางการลงตรวจของแพทย์และนัดวัน/เวลากับทางโรงพยาบาลก่อน แล้วจึงเดินเข้ารับการบริการตามวัลและเวลาที่นัดหมายกับทางโรงพยาบาลไว้
  4. ในรายการที่รักษาทางทันตกรรมจะมีการร่วมจ่ายค่ารักษาพยาบาลบางรายการ (ตามสิทธิ ปสปส.กำหนด)
หากมีความต้องการรับบริการด้านสุขภาพนอกเวลาราชการต้องทำอย่างไร?

ติดต่อที่ ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษกหรือ โรงพยาบาลที่สังกัดตามวิทยาเขต พร้อมทั้งแนบบัตรประชาชนและบัตรนักศึกษาแต่จะมีค่าใช้จ่ายด้านค่าบริการทางการแพทย์นอกเวลาซึ่งจะต้องจ่ายเองไม่สามารถเบิกได้ หรือถ้านักศึกษามีอาการอยู่ในสภาวะฉุกเฉินสามารถโทร 1669 ตลอด 24 ชั่วโมง

หากมีความจำเป็นต้องขอใบรับรองแพทย์ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง?
  • ในกรณีเจ็บป่วย สามารถไปใช้สิทธิ์การรักษาที่ศูนย์การแพทย์ โรงพยาบาลที่สังกัดตามวิทยาเขต พร้อมทั้งแนบบัตรประชาชน และบัตรนักศึกษา แล้วขอใบรับรองแพทย์ได้เลย
  • ในกรณีขอใบรับรองแพทย์ เพื่อทำธุรกรรมต่างๆ สามารถติดต่อขอได้ทุก โรงพยาบาลและคลินิก เพราะมีค่าใช้จ่ายตามแต่ละโรงพยาบาล
นักศึกษาสามารถเดินไปศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก ได้อย่างไรบ้าง?
  • มีรถรับส่งบุคคลากรและนักศึกษาเส้นทาง ม.มหิดลศาลายา-หอพักนำ้ทองสิขาลัย
  • มอเตอร์ไซด์รับจ้าง
  • แท็กซี่
  • นั่งรถรางไปที่วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ และเดินข้ามสะพานลอยไปยังศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก
  • ในกรณีฉุกเฉิน เจ็บป่วยหรือบาดเจ็บไม่สามารถเดินทางไปโรงพยาบาลเองได้ ติดต่อที่ MU health ในวันเวลาทำการตามประกาศ ณ เวลานั้น, MU health จะทำการเรียกรถเพื่อบริการส่งต่อไปยังโรงพยาบาล

สุขใจ

ช่องทางติดต่อ MU Friends มีกี่ช่องทาง อะไรบ้าง
  • FB page : @MahidolFriends
  • MU Hotline : โทร. 088-8747385
สำหรับนักศึกษาที่อาศัยที่หอพัก หรือสะดวกเข้ามาในมหาวิทยาลัย สามารถนัดคุยกับนักจิตวิทยาหรือผู้ให้คำปรึกษา ได้หรือไม่

สามารถตรวจสอบตารางการให้บริการ และนัดหมาย ได้ที่ หน้า Facebook Page หรือ https://fb.com/book/MahidolFriends/

ถ้าต้องการใช้บริการ OOCA สำหรับนักศึกษา (ป.ตรี) ม.มหิดล ต้องทำอย่างไร
  1. นศ. ต้องเข้าไปแสดงความยินยอมเปิดเผยอีเมล์มหาวิทยาลัยก่อน โดยเข้าไปที่ 1) Log in ที่ https://smartedu.mahidol.ac.th >สารสนเทศ นศ.> ระบบขึ้นทะเบียนสิทธิฯ >กดยินยอม
  2. อีเมล์จะถูกนำเข้าระบบ OOCA ในวันอังคารถัดไป
  3. นศ. ดาวน์โหลดแอพลิเคชัน และลงทะเบียนใช้งานได้ด้วย อีเมล์มหาวิทยาลัย
  4. ดูขั้นตอนการใช้งานที่ https://bit.ly/2MGS7j

เข้าแอพลิเคชั่น OOCA แล้ว แต่ยังมีค่าใช้จ่าย ?

การเข้าใช้แอพลิเคชั่น ต้องใช้อีเมลนักศึกษาที่ลงท้ายด้วย .student.ac.th  ในการลงทะเบียน

จากนั้นนักศึกษาต้องเข้าไป Activate ผ่านเมลนักศึกษา

**สำหรับผู้ให้บริการ (นักจิตวิทยา จิตแพทย์) ที่นักศึกษา สามารถใช้บริการได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย จะมีคำว่า “ฟรี” อยู่ที่มุมบนขวาของข้อมูลผู้ให้บริการตามภาพค่ะ **

หมายเหตุ : คำถามอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาวะทางใจ หรือบริการจัดหางานระหว่างเรียน สามารถสอบถามได้ทาง Inbox FB : @MahidolFriends ทุกคำถามค่ะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save