กองกิจการนักศึกษา มหิดล

รายงานการดำเนินงาน
โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล

1.1 หลักการและเหตุผล

ด้วยรัฐบาลได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการบูรณาการการปฏิบัติงานร่วมกัน สถาบันการศึกษามีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตัวเองได้ มูลนิธิรากแก้วจึงจัดทำ “โครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเยาวชนคนรุ่นใหม่ขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม และสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาทำงานอย่างบูรณาการร่วมกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (รูปที่ 1)

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2560 มูลนิธิรากแก้วได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวครอบคลุมเรื่องการพัฒนาพื้นที่เป้าหมายเพื่อให้เป็นพื้นที่เรียนรู้และปฏิบัติการสำหรับนักศึกษาและคณาจารย์ การพัฒนาศักยภาพนิสิตนักศึกษา การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนและการสรุปบทเรียนเพื่อนำไปขยายผลการในสถาบันการศึกษาอื่นๆ (รูปที่ 2) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจกระบวนการพัฒนาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันและเกิดเป็นเครือข่ายนิสิตนักศึกษาขับเคลื่อนการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่สร้างประโยชน์ให้กับชุมชนและสังคม

มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับมอบหมายให้เป็นแกนนำขับเคลื่อนงานในเขตภาคกลาง โดยสนับสนุน 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 1 ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคเกษตรและชนบท และ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในภาคการศึกษา

1.2 วัตถุประสงค์และเป้าหมาย

1.2.1 วัตถุประสงค์

  • เพื่อเสริมสร้างเครือข่ายและกระบวนการเรียนรู้นอกห้องเรียนแบบมีส่วนร่วม ที่มุ่งแก้ไขปัญหาจริงของชาวบ้านในพื้นที่ ด้วยการวิจัยและพัฒนาตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาและคณาจารย์นำความรู้ความสามารถของตน มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินโครงการโดยใช้หลักพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงผ่านโครงการวิจัย การจัดการเรียนการสอน และการบริการวิชาการ
  • สร้างความรู้เชิงแบบจำลองการพัฒนา จากการปฏิบัติจริง ตลอดห่วงโซ่การพัฒนา (development chain) ตั้งแต่ การวางแผน การดำเนินงาน การวัดผลสำเร็จ และการประเมินผลกระทบทางสังคม (ต้นน้ำ-กลางน้ำ-ปลายน้ำ)

แผนยุทธศาตร์การบูรณาการการขับเคลื่อนการพัฒนาตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ขั้นตอนกิจกรรมตามโครงการขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้วยพลังนิสิตนักศึกษา

1.2.2 เป้าหมาย

  • นักศึกษาสามารถใช้ชีวิตอย่างมีภูมิคุ้มกัน โดยนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต
  • เกิดการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา ที่มีการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอพียงไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน โดยใช้พื้นที่ชุมชนเป็นห้องเรียนในการเรียนรู้ของนักศึกษา และคณาจารย์
  • มหาวิทยาลัยได้เครื่องมือในการพัฒนาบัณฑิตให้เป็นคนดี มีคุณภาพ มีจิตสำนึกในการทำประโยชน์เพื่อสังคม และประเทศชาติต่อไป
  • เกิดเครือข่ายการวิจัยและพัฒนาชุมชนของมหาวิทยาลัยมหิดล

1.3 ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.3.1 เชิงสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม

  • เกิดกระบวนการทำงานและการเรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมอันเป็นแบบอย่างที่สามารถนำไปขยายผลยังชุมชนอื่นๆ ได้
  • ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นทางเศรษฐกิจ เพิ่มรายได้ ลดรายจ่ายของครัวเรือน
  • โครงสร้างพื้นฐานการพัฒนาอาชีพดีขึ้น ชาวบ้านได้มีวิถีชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียงมากขึ้น ทั้งในเชิงการเกษตร เศรษฐกิจสร้างสรรค์ นวัตกรรมการบริการ และการท่องเที่ยวเชิงสุขภาวะฐานชุมชน
  • ประชาชนมีสุขภาพดีขึ้นจากการได้รับอาหารปลอดภัย และอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสุขอนามัย

1.3.2 สิ่งแวดล้อมและทรัพยากร

  • เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนและสิ่งแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น
  • จำนวนพื้นที่ที่ทำเกษตรกรรมที่ลดการใช้สารเคมี เพิ่มมากขึ้น
  • คุณภาพสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ ดีขึ้น
  • ภูมิทัศน์ และภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรม ได้รับการปรับปรุงให้สะอาด สวยงาม อย่างพอเหมาะ พอควรกับสภาพแวดล้อมทางกายภาพของพื้นที่

1.3.3 วิชาการ

  • ผลงานวิชาการด้านการพัฒนาและวิจัยชุมชนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง รูปแบบต่าง ๆ
  • แบบจำลองการเรียนรู้ที่บูรณาการระหว่างภาคทฤษฎีและการปฏิบัติ ที่มุ่งแก้ไขปัญหาและพัฒนาที่มาจากฐานชีวิตจริงของชุมชน (community-based holistic action learning)

1.3.4 นโยบาย

  • นักศึกษาได้เรียนรู้กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเกิดเครือข่ายการเรียนรู้และการพัฒนาร่วมกันทุกภาคส่วนโดยนำความรู้ความสามารถที่ตนเองเรียนมา มาประยุกต์ใช้ดำเนินโครงการ โดยใช้หลักพัฒนาตามแนวพระราชดำริและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • นักศึกษาได้เรียนรู้แนวทางการทำงานอย่างมีระบบโดย ใช้หลักการทรงงาน 23 ประการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พัฒนาตามแนวพระราชดำริ เรื่อง “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนาและหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง”
  • นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจและเห็นถึงความสำคัญของปัญหาสังคม โดยได้เรียนรู้การแก้ไขปัญหาแบบบูรณาการการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
  • อาจารย์ นักวิจัย บุคลากร และนักศึกษาได้เป็นส่วนหนึ่งในการในการช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม

1.4 แผนการดำเนินงาน

ตารางที่ 1 แผนการขับเคลื่อนโครงการรากแก้วของมหาวิทยาลัยมหิดล

1.5 ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียของโครงการ

  • ประชาชนอำเภอพุทธมณฑล
  • นักศึกษารากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล
  • ส่วนงานราชการส่วนท้องถิ่น

1.6 ขอบเขตพื้นที่

พื้นที่เป้าหมายในการดำเนินโครงการ คือ อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประกอบไปด้วย 3 ตำบล 6 หมู่บ้าน ได้แก่

  • ตำบลมหาสวัสดิ์     หมู่ 3    บ้านศาลาดิน
  • ตำบลศาลายา       หมู่ 5    บ้านสหพร
  • ตำบลศาลายา      หมู่ 1    บ้านวัดสุวรรณ
  • ตำบลคลองโยง     หมู่ 4    บ้านวัดมะเกลือ
  • ตำบลคลองโยง         หมู่ 6    บ้านคลองโยงใหม่
  • ตำบลคลองโยง     หมู่ 8    บ้านสหกรณ์

1.7 การออกแบบโครงการ (Project design)

การออกแบบโครงการรากแก้วมหาวิทยาลัยมหิดล

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save