ชื่อกิจกรรม/โครงการ | งานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 44 |
ที่มาและความสำคัญ | งานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์กับชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมเพื่อเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ดนตรีไทยอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติ โดยนำความรู้ความสามารถทางดนตรีนำไปเผยแพร่ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านดนตรีไทยซึ่งกันและกัน ระหว่างสถาบันการศึกษาระดับอุดศึกษาทั่วประเทศ
มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเป็นเจ้าภาพในการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 44 โดยใช้ชื่องาน “ดุริยะกฤติยาธร 75 ปี ศิลปากรเฉลิมวัฒน์” ระหว่างวันที่ 26-28 ตุลาคม 2562 ณ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม มหาวิทยาลัยมหิดล โดยกองกิจการนักศึกษา ได้ส่งชุดการแสดงดนตรีไทยของนักศึกษา เข้าร่วมงานดังกล่าว จำนวน 1 ชุด เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในด้านดนตรีไทยระหว่างสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ รวมทั้งเป็นการเปิดโอกาสให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลได้แสดงความสามารถทางด้านดนตรีไทยสู่สังคม |
ช่วงเวลาที่จัดกิจกรรม/โครงการ | วันที่ 26-28 ตุลาคม 2562 |
สถานที่จัดกิจกรรม/โครงการ | มหาวิทยาลัยศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม |
วัตถุประสงค์ | 1.เพื่อส่งเสริมเผยแพร่ อนุรักษ์ พัฒนา และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านดนตรีไทย
2.เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านดนตรีไทย 3.เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงออกถึงความสามารถด้านดนตรีไทยสู่สังคม |
รูปแบบดำเนินกิจกรรม/โครงการ | 1. ประสานงานกับงานส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพนักศึกษา กลุ่มส่งเสริมการเรียนรู้ประสบการณ์กับชุมชน สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม และมหาวิทยาลัยศิลปากร
2. ส่งชุดการแสดงของนักศึกษาเข้าร่วมงาน จำนวน 1 ชุด และ ขออนุมัติในหลักการและงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม 3. ประชุมเจ้าหน้าที่ประสานงานกองกิจการนักศึกษาเพื่อปฏิบัติหน้าที่ – ประสานงานทั่วไป – ดูแลความเรียบร้อยและความพร้อมของนักศึกษาก่อนและหลังการแสดง – ศึกษา เก็บข้อมูลการจัดงานดนตรีไทยอุดมศึกษาครั้งที่ 44 – เก็บภาพขั้นตอนการจัดงานตั้งแต่พิธีเปิดงาน- ภาพบรรยากาศงานทั่วๆไป – สรุปผลโครงการเสนอผู้บริหารและรวบรวมผลงานด้านทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและ ดนตรีไทย |
กลุ่มเป้าหมาย/กลุ่มผู้ร่วมกิจกรรม | 1. นักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ที่สนใจในด้านศิลปวัฒนธรรม
2. สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศไทย |
จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม | 25 คน |
ผลลัพธ์ที่นำไปใช้ประโยชน์จากกิจกรรม | เชิงคุณภาพ จัดโครงการได้บรรลุตามวัตุประสงค์ของโครงการ นักศึกษาได้แสดงออกถึงความสามารถด้านศิลปวัฒนธรรมสู่สังคม |