Personal Transform
โครงการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลด้วยกระบวนการ Transformative Learning
ความเป็นมา
จากนโยบายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้าน Excellence in Outcome based education for globally-competent graduates โดยฝ่ายการศึกษามีการดำเนินการ Education Transform และฝ่ายกิจการนักศึกษามีการดำเนินการประกอบด้วย Student Transform Personnel Transform และTeacher Transform จึงนำมาซึ่งการจัดอบรมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกกระบวนกรเพื่อพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลTOT (Training of Trainer) เพื่อสร้างกระบวนกร และเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกื้อกูลให้ผู้เรียนได้ค้นพบและตระหนักรู้ในศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตนเอง
บทบาทของครูกระบวนกร
กระบวนกรคือ ผู้ที่มีบทบาทในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกื้อกูลให้ผู้เรียนได้ค้นพบและตระหนักรู้ ในศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้ของตนเอง ครอบคลุมถึงการร้อยเรียงเชื่อมประสานทั้งเนื้อหา กระบวนการ วิธีการ และกิจกรรม การเรียนรู้ต่างๆ ที่หลากหลาย เพื่อเกื้อกูลส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้เรียนรู้และฝึกฝนขัดเกลาตนเอง ทั้งในแง่ของมุมมอง วิธีคิด จิตใจ รวมตลอดถึงท่าทีและ พฤติกรรม ที่สอดคล้องกับจุดหมายของการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาหรือภูมิปัญญาของตะวันออก ซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีศักยภาพที่จะเข้าถึงและหลอมรวม เป็นหนึ่งเดียวกับจุดหมายทั้ง 2 ระดับได้ หากว่ามีเหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบทั้งภายนอกและ ภายในเกื้อกูลส่งเสริมต่อการเรียนรู้หรือการฝึกฝนขัดเกลาตนเองอย่างต่อเนื่อง จนหลอมรวมเป็น หนึ่งเดียวกับวิถีชีวิต การนำพาผู้คนไปบนเส้นทางการเรียนรู้และการฝึกฝนขัดเกลาตนเอง คนจัดกระบวนการ เรียนรู้หรือกระบวนกร จึงจำเป็นต้องเข้าใจทั้งในแง่ปรัชญา แนวคิด ทฤษฎี องค์ความรู้ หลักการ รวมทั้งมีทักษะพื้นฐานในการแสวงหาความรู้ความจริงร่วมกับผู้เข้าร่วม พร้อมที่จะสร้างเหตุปัจจัย ทั้งภายในและภายนอก ให้เกื้อกูลส่งเสริมต่อการเรียนรู้และฝึกฝนขัดเกลาของผู้เรียน ซึ่งถือว่าเป็นหัวใจสำคัญ ที่ระบบการศึกษากระแสหลักในปัจจุบันไม่ได้ให้ความสำคัญหรือละเลยและมองข้าม บางครั้งก็ไปให้ความสำคัญเพียงแค่กายภาพ เช่น ห้องเรียนและอาคารสถานที่ เป็นต้น แท้จริง แล้วเราสามารถ สร้างเหตุปัจจัยหรือองค์ประกอบ ที่สามารถเกื้อกูลต่อการเข้าถึงศักยภาพแท้จริง ของมนุษย์ได้ หากว่าเราเข้าใจถึงแก่นแท้ของการเรียนรู้และการฝึกฝนขัดเกลาตนเอง ซึ่งเป็น จิตวิญญาณที่มาแต่เดิมของบรรพบุรุษชาวตะวันออก ดังที่เราจะเห็นได้ว่า “ปรัชญาแนวคิดของ ตะวันออกเกือบทุกสาขา ต่างก็ให้ความสาคัญในการเรียนรู้และฝึกฝนขัดเกลาตนเอง เพื่อหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับความจริง” (ชเนตตี ทินนาม เพริศพรรณ แดนศิลป์ และจรายุทธ สุวรรณชนะ, 2560:26)
วัตถุประสงค์การอบรม
- เรียนรู้และเข้าใจทฤษฎี แนวคิดต่าง ๆ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกื้อกูลส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนขัดเกลาตนเองและพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์
- ฝึกทักษะการจัดกระบวนการเรียนรู้ ที่เกื้อกูล ส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนขัดเกลาตนเองและพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์
- เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการ วิธีการ รวมทั้งเครื่องมืต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกื้อกูลส่งเสริม ให้ผู้เข้าร่วมได้ฝึกฝนขัดเกลาตนเองและพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้
กระบวนการ/วิธีการเรียนรู้ร่วมกัน
ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ประจำวัน และวิธีการจัดอบรม ที่มุ่งเน้นหรือส่งเสริมให้ผู้เข้าร่วมอบรมได้มีส่วนร่วมในการสร้างการเรียนรู้อย่างแท้จริง พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการแสวงหาความรู้ความจริงร่วมกัน โดยที่มีกระบวนกรและทีม เป็นผู้นำพาการเรียนรู้และช่วยเกื้อกูลส่งเสริมผู้เข้าร่วมได้สร้างองค์ความรู้ร่วมกัน ทั้งที่เกิดจากประสบการณ์ตรงในการดำเนินชีวิต และประสบการณ์ตรงที่เกิดจากการทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น กิจกรรมแบบผ่านประสบการณ์ ละคร บทบาทสมมุติ การทำงานศิลปะ การดูหนังและสารคดีต่าง ๆ มีกระบวนกรเป็นส่วนหนึ่งของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ไปพร้อมกับผู้เข้าร่วมอบรม และคอยเติมเต็มหรือสรุปเชื่อมโยงเนื้อหาการอบรมให้คลอบคลุมเนื้อหาต่าง ๆ ที่กล่าวไว้อย่างรอบด้าน ด้วยระยะเวลาในการอบรม 10 วัน เป็นเรื่องที่ท้าทายสำหรับผู้เข้าร่วมอบรมที่จะนำพาตนเองออกจากภาระงานประจำไปร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อื่น ยอมปล่อยวางตัวตน ตำแหน่งหน้าที่การงาน และเป็นเรื่องที่ท้าทายของกระบวนกรผู้จัดกระบวนการอบรมที่จะนำพาผู้เข้าร่วมอบรมให้นำพาใจมาเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เปิดพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์ในชีวิตจริงของแต่ละคนพร้อมทั้งมุ่งเน้นสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน เกิดแรงบันดาลใจในการฝึกฝนตนเองอย่างต่อเนื่อง โดยมีตารางกิจกรรมประจำวันในการอบรม ดังนี้
ตารางการจัดกิจกรรมประจำวัน การอบรมหลักสูตรการฝึกเป็นกระบวนกร
วัน | ช่วงเช้า 09.00-12.00 น. | ช่วงบ่าย 13.00-17.00 น. | ช่วงค่ำ 19.00-21.00 น. |
วันที่ 1 | – แนะนำตัว
– แนะนำเนื้อหา – แนะนำวิธีการ |
– ความคาดหวัง
– จัดการความเครียด – พลวัตรความสัมพันธ์ |
– การฟัง 2 แบบ
– ฝึกทักษะการรับฟัง |
วันที่ 2 | – ฐาคิดการเรียนรู้
– การพัฒนาปัญญา – ความรู้ 2 แบบ |
– การสร้างความไว้วางใจ
– ผู้โอบอุ้มหล่อเลี้ยงการเรียนรู้ |
– ฝึกทักษะการรับฟัง |
วันที่ 3 | – ท้องฟ้ากับก้อนเมฆ
– แหล่งอำนาจ |
– อำนาจ 3 แบบ
– ฝึกจับประเด็น |
– ดูหนังเพื่อการเรียนรู้ |
วันที่ 4 | – สรุปบทเรียนจากการดูหนัง
– การศึกษา 2 แบบ |
– การตั้งคำถาม
– การฝึกทักษะตั้งคำถาม เพื่อสร้างการเรียนรู้ |
– ฝึกทักษะการสะท้อนกลับ |
วันที่ 5 | – กิจกรรมขอบคุณ
– คลังคำ |
– กิจกรรมการเรียนรู้
-ฝึกถอดบทเรียน |
– การค้นหาอำนาจภายใน |
วันที่ 6 | – การคิดเชิงระบบ
– จุดหมายที่แท้ของการเรียนรู้ – World Cafe |
– กรอบคิดการฝึกกระบวนกร
– ฝึกออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ |
– สรุปบทเรียนจากหนังสือดอกไม้และความหวัง |
วันที่ 7 | – ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ | – ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ | – แลกของรัก |
วันที่ 8 | – ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ | – สรุปบทเรียนจากการฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้
– ฝึกออกแบบกระบวนการเรียนรู้ |
– ฝึกออกแบบกระบวนการเรียนรู้ |
วันที่ 9 | – ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ | – ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ | – ฝึกจัดกระบวนการเรียนรู้ |
วันที่ 10 | – กรอบคิดการเรียนรู้
– หลักคิดการเรียนรู้ – สรุป/ประเมิน |
วันสุดท้ายของการอบรม
เลิกเวลา 13.00 น. |
ที่มา: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกเป็นกระบวนกร มหาวิทยาลัยมหิดล ,2558
ภาพกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
กระบวนกรพัฒนานักศึกษาเพื่อนำไปสู่คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัยมหิดล
รวมจำนวน 58 คน จากการอบรม 3 รุ่น