ทำกันแค่ไหนถึงเรียก Cyberbullying บูลลี่ เป็นวงจรแบบหนึ่งที่เกิดขึ้นจากบุคคลที่กระทำต่อกัน โดยมี 3 ลักษณะที่เกิดขึ้นได้ คือ
1. ลักษณะของความรุนแรง ไม่ว่าจะทางกายหรือวาจา ที่ไปกระทบจิตใจของอีกฝ่าย ความรุนแรงทางวาจาอาจไม่ชัดเจนเท่ากับความรุนแรงทางกาย เพราะมันขึ้นอยู่กับการรับรู้ของอีกฝ่ายด้วยว่า คำคำนั้นมันรุนแรงอย่างไร เช่น คำพูดเกี่ยวกับลักษณะทางกายภาพภายนอก สถานะทางเศรษฐกิจ ข้อจำกัดหรือสมรรถนะของอีกฝ่าย ถ้าเรื่องนั้นไปกระทบกับความรู้สึกของคนฟัง การกระทำเหล่านี้ล้วนเป็นการบูลลี่ที่ส่งผลต่อความรุนแรง และทำให้คนคนนั้นได้รับผลกระทบทางจิตใจ
2. ลักษณะที่ผู้กระทำตั้งใจหรือเจตนาที่จะทำสิ่งนั้นออกไปให้อีกฝ่ายรู้สึกเจ็บปวด มันมีเส้นตรงกลางของการตีความว่าตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ สิ่งสำคัญคือเราต้องคอยสังเกตว่า อีกฝ่ายมีการตอบสนองกับสิ่งที่เราพูดไปอย่างไร ถ้าเขาแสดงสีหน้าที่ไม่โอเค หรือพูดปฏิเสธออกมา เราก็ควรเข้าใจได้ว่าเขาไม่ชอบ นั่นเป็นการล้ำเส้นเขา ซึ่งถ้าเรายังทำแบบเดิมซ้ำๆ นั่นคือการบูลลี่
3. ลักษณะที่มีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแสดงอำนาจที่เหนือกว่า อาจจะเป็นการใช้น้ำเสียงที่ดังกว่า ใช้จำนวนคนที่มากกว่า พอเห็นอีกฝ่ายหงอหรือจนมุมยิ่งทำมากขึ้น ลักษณะนี้ก็คือการบูลลี่
อ้างอิง: THE STANDARD PODCAST
**********
หากนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล พบเจอการกลั่นแกล้ง รังแก ไม่ว่าจะเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ใส่ร้ายป้ายสี ละเมิดสิทธิต่าง ๆ ของผู้อื่น จนทำให้ผู้อื่นรู้สึกหวาดกลัว อับอาย… สามารถร้องเรียนได้ตามช่องทาง ดังนี้
กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล Facebook: https://www.facebook.com/MUOPSA
โทร 02-849-4527
สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล Facebook: https://www.facebook.com/ilikemusa
สภานักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล Facebook: https://www.facebook.com/stucon.mahidol
IG : https://www.instagram.com/stucon.mahidol
We Mahidol Application Tile: รายงานเหตุการณ์
เราจะเป็นอีกช่องทางหนึ่งเพื่อคอยรับฟังและช่วยน้อง ๆ เสมอ #stopcyberbullying