Signs & Symptoms
of COVID-19
COVID-19
Signs & Symptoms

โดยจำแนกตามสายพันธุ์ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

1.สายพันธุ์ดั้งเดิม ( Original )

พบครั้งแรกที่ : นครอู่ฮั่น, มณฑลหูเป่ย์, จีน เมื่อ ธ.ค. 62
พบในไทยครั้งแรก : ม.ค. 63
อาการ : มีไข้ ไอแห้ง อ่อนเพลีย หายใจลำบาก แน่นหน้าอก สูญเสียความสามารถ พูด-เคลื่อนไหว


2. สายพันธุ์อัลฟา ( ALPHA ) (B.1.1.7)

พบครั้งแรกที่ : อังกฤษ เมื่อ ก.ย. 63
พบในไทยครั้งแรก : เม.ย. 64
ข้อสังเกต : แพร่เชื้อไวกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 40-90% และส่งผลให้อัตราเสียชีวิตสูงขึ้นกว่าสายพันธุ์อื่นได้ 1.65 เท่า
อาการ : ปวดศีรษะ มีไข้ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย ปวดเมื่อยตัว การรับรส-กลิ่นผิดปกติ


3. สายพันธุ์เบตา ( BETA ) (B.1.3.5.1)

พบครั้งแรกที่ : แอฟริกาใต้ เมื่อ ต.ค 63
พบในไทยครั้งแรก : ม.ค. 64
ข้อสังเกต : แพร่เชื้อไวขึ้น 50% ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง
อาการ : ปวดศีรษะ เจ็บคอ มีเสมหะ ท้องเสีย อาเจียน ตาแดง ผื่นขึ้นผิวหนัง นิ้วมือ-เท้าเปลี่ยนสี หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก สูญเสียความสามารถ พูด-เคลื่อนไหว การรับรส-กลิ่นผิดปกติ


4. สายพันธุ์แกมมา ( GAMMA ) (P.1)

พบครั้งแรกที่ : บราซิล เมื่อ ก.พ. 64
พบในไทยครั้งแรก : พ.ค. 64
ข้อสังเกต : แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 2.5 เท่า ติดเชื้อซ้ำได้ราว 25% -61% ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่อสายพันธุ์เดิมสามารถเป็นซ้ำได้
อาการ : มีไข้ ไอ-จามแรง เจ็บคอ หายใจไม่ออก ปวดเมื่อยตัว การรับรส-กลิ่นผิดปกติ


5. สายพันธุ์เดลตา ( DELTA ) (B.1.617.2)

พบครั้งแรกที่ : อินเดีย เมื่อ ธ.ค. 63
พบในไทยครั้งแรก : พ.ค. 64
ข้อสังเกต : ทำให้ภูมิคุ้มกันลดลง นำไปสู่อาการปอดอักเสบเร็วกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 3-5 วัน คนอายุน้อยมักไม่แสดงอาการ
แต่อาจอยู่ในระยะแพร่เชื้อแล้ว แพร่เชื้อง่ายกว่าสายพันธุ์ปกติ 20%
อาการ : ปวดศีรษะ มีไข้ ไอ-จาม เจ็บคอ มีน้ำมูก ไม่ค่อยพบสูญเสียการได้กลิ่นและรับรส

6. สายพันธุ์เดลตาพลัส ( DELTA Plus+ ) (B.1.617.21.1 หรือ AY.4.2)

พบครั้งแรกที่ : ยุโรป และแพร่ระบาดในอินเดีย เมื่อ เม.ย. 64
พบในไทยครั้งแรก : 25 ต.ค. 64 ที่ จ.กำแพงเพชร (AY.4.2)
ข้อสังเกต : เกิดจากการกลายพันธุ์ส่วนหนามโปรตีน (spike protein) ที่ตำแหน่ง K417N ส่งผลให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์บนปอดได้แน่นขึ้น ติดเชื้อง่าย แพร่เชื้อเร็ว
และหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันได้ดี
อาการ : ปวดศีรษะ เจ็บคอ มีน้ำมูก คล้ายหวัดธรรมดา


7. สายพันธุ์โอไมครอน ( OMICRON ) (B.1.1.529)

พบครั้งแรกที่ : บอสวานา แอฟริกาใต้ เมื่อ พ.ย. 64
พบในไทยครั้งแรก : 30 พ.ย. 64 โดยพบเคสแรกในชายไทย 35 ปี สัญชาติอเมริกัน อาชีพนักธุรกิจ เดินทางมาจากประเทศสเปน ไม่มีอาการใด
และเข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิดวันที่ 30 พ.ย. 64 ทราบผลติดเชื้อเมื่อวันที่ 1 ธ.ค. 64 และส่งตัวอย่างเชื้อตรวจยืนยันที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 64
ข้อสังเกต : เกิดจากการกลายพันธุ์ของ Gene มากกว่า 50 ตำแหน่ง มีการกลายพันธุ์ส่วนหนามโปรตีน (spike protein) มากกว่า 32 ตำแหน่ง
และยังมีการกลายพันธุ์ที่ส่วนตัวรับ (receptor binding domain) ซึ่งไวรัสใช้จับยึดกับเซลล์ของคนเราถึง 10 ตำแหน่ง
ส่งผลให้เชื้อไวรัสจับกับเซลล์บนปอดได้แน่นขึ้น ติดเชื้อง่าย แพร่เชื้อเร็ว และหลบเลี่ยงระบบภูมิคุ้มกันได้ดียิ่งขึ้น ทำให้แม้ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว
หรือผู้เคยติดเชื้อ COVID-19 มาก่อนก็สามารถติดเชื้อซ้ำได้
อาการ : ไม่ค่อยพบไข้ ลิ้นรับรสได้ จมูกรับกลิ้นได้ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย อาจมีไอเล็กน้อย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยตามตัว ปอดอักเสบ
menu1
menu2
menu3
menu4
menu5
menu6
menu7
menu8
menu9
menu10

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save