กองกิจการนักศึกษา มหิดล
Student Transform
โครงการการพัฒนาศักยภาพนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลด้วยกระบวนการ Transformative Learning
ความเป็นมา
จากนโยบายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้าน Excellence in Outcome based education for globally-competent graduates โดยฝ่ายการศึกษามีการดำเนินการ Education Transform และฝ่ายกิจการนักศึกษามีการดำเนินการประกอบด้วย Student Transform Personnel Transform และTeacher Transform จึงนำมาซึ่งการจัดอบรมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกกระบวนกรเพื่อพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลTOT (Training of Trainer) เพื่อสร้างกระบวนกร และเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกื้อกูลให้ผู้เรียนได้ค้นพบและตระหนักรู้ในศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตนเอง
จากนโยบายการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยด้าน Excellence in Outcome based education for globally-competent graduates โดยฝ่ายการศึกษามีการดำเนินการ Education Transform และฝ่ายกิจการนักศึกษามีการดำเนินการประกอบด้วย Student Transform Personnel Transform และTeacher Transform จึงนำมาซึ่งการจัดอบรมโครงการฝึกอบรมหลักสูตรการฝึกกระบวนกรเพื่อพัฒนานักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลTOT (Training of Trainer) เพื่อสร้างกระบวนกร และเตรียมความพร้อมของบุคลากรให้มีความรู้ความเข้าใจในการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เกื้อกูลให้ผู้เรียนได้ค้นพบและตระหนักรู้ในศักยภาพความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงของตนเอง
มหาวิทยาลัยมหิดล นำกระบวนการจิตตปัญญาศึกษา การเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning มาเป็นหนึ่งในกระบวนการพัฒนานักศึกษา ให้นักศึกษามีคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ กล่าวคือ
– เป็นคนดี หมายถึง มีคุณธรรม จริยธรรม มีทักษะในการดำเนินชีวิต รวมตลอดถึงมีจิตสำนึกรับผิดชอบต่อตนเอง ชุมชน สังคมและโลก มีจิตอาสาและคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
– มีปัญญา หมายถึง มีความรู้ความเชี่ยวชาญในวิชาชีพของตนเอง มีทักษะในการแสวงหาความรู้และสามารถนำความรู้ ความเชี่ยวชาญที่ตนเองมีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมส่วนร่วม พร้อมทั้งรู้เท่าทันการ เปลี่ยนแปลงของสังคมโลก
– นำพาสุข หมายถึง สามารถดูแลทั้งร่างกายและจิตใจของตนเอง จนสามารถสร้างความสุขในการดำเนินชีวิตได้ พร้อมทั้งมีจิตใจที่ตั้งมั่น เปิดกว้าง เปิดรับความแตก ต่างหลากหลายและพร้อมที่จะเผชิญหน้ากับความเครียด ความกดดันและปัญหาต่างๆ ที่ผ่านเข้ามา
บัณฑิตที่พึงประสงค์ คือการการพัฒนาศักยภาพความเป็นมนุษย์ใน 3 มิติ คือ การพัฒนาทางด้านมุมมอง วิธีคิด ที่มีต่อชีวิตและโลกสรรพสิ่งรอบๆ ตัวให้ถูกต้องตาม ความเป็นจริง เพื่อจะทำให้สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างถูกต้องและสอดคล้องกับสถานการณ์ของสังคมและสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว การพัฒนาทางจิตใจ ให้มีสมรรถภาพ (เข้มแข็ง อดทน กล้าหาญ) คุณภาพ (มีสติ มีสมาธิ มีความรักความเมตตา) และมีความสุข (ร่าเริง เบิกบาน แจ่มใส สนุกสนาน) การพัฒนา ทางด้านท่าที การกระทำหรือพฤติกรรม ดำเนินชีวิตที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมส่วนรวม ไม่เอารัดเอาเปรียบหรือแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองแต่ให้พร้อมที่จะแบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูลเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน (จรายุทธ สุวรรณชนะ, 2558:โครงการอบรมพัฒนานักศึกษา ด้วยการเรียนรู้ สู่การเปลี่ยนแปลง Transformative Learning มหาวิทยาลัยมหิดล)
เนื้อหาการเรียนรู้ตามแนวจิตตปัญญาศึกษาและการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง
ตัวอย่าง ตารางการเรียนรู้ประจำวัน
วัน | เช้า | เที่ยง | บ่าย | เย็น | ค่ำ |
วันแรก | แนะนำตัว/ความคาดหวัง
การสร้างความสัมพันธ์ |
พัก | การรู้จักตนเอง/ผู้อื่น
การเคารพความแตกต่าง |
พัก | ทักษะการแสวงหาความรู้
ทักษะชีวิต ทักษะผุ้นำ |
วันที่สอง | การทำงานร่วมบนพื้นฐานของความแตกต่างหลากหลาย | พัก | การพัฒนาภาวะผู้นำ ที่ประสานพลังกลุ่ม | พัก | ทักษะการแสวงหาความรู้
ทักษะชีวิต ทักษะผู้นำ |
วันที่สาม | เครื่องมือในการดูแลตนเอง
การเห็นคุณค่าและเชื่อมั่น ในตนเอง |
พัก | เป้าหมายชีวิต
สรุป/ประเมิน |
– | – |
ที่มา: ศูนย์จิตตปัญญาศึกษา โครงการฝึกอบรมพัฒนานักศึกษาด้วยกระบวนการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลง (Transformative Leaning) , 2558