รู้จัก “พี่อัยย์ เก่งสุรการ” ผู้พัฒนาแชตบอท “บ้านมหิดล MU HOME” เพื่อชาวหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล
01/07/2020
001 | คำกล่าวต้อนรับจากอธิการบดี
17/06/2021

ปี 1 มหิดลเอายังไงดี จะเรียนออนไลน์ต่อหรือกลับมาเรียนที่ม.? ฟังชัดๆ จาก “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต” รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาฯ มหาวิทยาลัยมหิดล

จากกรณีที่มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ออกประกาศ เมือวันที่ 12 สิงหาคม 2563 เรื่อง แนวทางการปฏิบัติด้านการเรียนการสอนและกิจกรรมในมหาวิทยาลัยในระยะการผ่อนคลายมาตรการเฝ้าระวังการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVId-19) ตามประกาศของกระทรวงอุดมศึกษาฯ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2563 ที่ผ่านมา (ดู ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล)

เบื้องต้น มหาวิทยาลัยได้ให้ข้อมูลผ่านทางเพจทีมมหิดลเมื่อวันที่ 12 สิงหาคมว่า “ยังกำหนดให้ใช้การเรียนการสอน “แบบออนไลน์” สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 (รหัส 63) ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้า” ทำให้มีน้องๆ แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับรูปแบบการจัดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยกันในโลกออนไลน์เป็นจำนวนมาก 

ทางเพจทีมมหิดล จึงได้ติดต่อขอไปสัมภาษณ์ “ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต” หรือ “อาจารย์จุ๊บ” รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถึงที่คณะทันตแพทยศาตร์ เกี่ยวกับทิศทางการตัดสินใจของมหาวิทยาลัยในเรื่องดังกล่าว

“ผู้ช่วยศาสตราจารย์ เรืออากาศโท ทันตแพทย์ชัชชัย คุณาวิศรุต” หรือ “อ.จุ๊บ” รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ได้อ่านความคิดเห็นของน้อง ๆ #เด็กมหิดล63 แล้วหรือยังคะอ่านแล้วครับ หลังจากที่มีประกาศออกไป ผมได้อ่านความคิดเห็นของนักศึกษาทั้งในเฟซบุ๊กและทวิตเตอร์ รวมทั้งมีทีมงานช่วยติดตามและรวบรวมให้ด้วย ยืนยันว่าทางมหาวิทยาลัยรับฟังทุกเสียงของนักศึกษา ไม่ได้นิ่งนอนใจครับ

เท่าที่ดูเหมือนกับว่าน้องๆ ปี 1 ส่วนใหญ่อยากจะกลับมาเรียนที่ม.กัน

จริงๆ จากที่ได้ติดตามอ่านความคิดเห็นในแฮชแท็กต่างๆ และได้พูดคุยกับนักศึกษาหลายคน ผมคิดว่าหลักๆ แล้วน่าจะแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มคือ 1) กลุ่มคนที่อยากกลับมาเรียนที่ม. เพราะประสบปัญหาจากการเรียนออนไลน์ เช่น เรื่องสัญญาณอินเทอร์เน็ต ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ สภาพแวดล้อม การปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้น ปัญหาความเครียด ทำให้เรียนไม่ทันหรือเรียนไม่รู้เรื่อง รวมไปถึงคนที่อยากมาทำกิจกรรมต่าง ๆ เพราะจะได้อยู่ศาลายาเพียง 1 ปี กลุ่มนี้ส่วนหนึ่งมีความพร้อมและสามารถกลับมาเรียนแบบ on-site ได้ทันที 2) กลุ่มคนที่เห็นว่าควรจะเรียนออนไลน์ไปก่อนในเทอมนี้เพื่อความปลอดภัย รอให้สถานการณ์คลี่คลายจริงๆ หรือมีวัคซีนแล้วค่อยปิดเรียนในเทอม 2 ก็ยังไม่สายเกินไป 3) กลุ่มคนที่เลือกจะเรียนออนไลน์ในเทอมนี้ก่อน เพราะได้วางแผนชีวิตไว้แล้ว เช่น สมัครงานพิเศษ หาหอพักไว้ในเทอม 2 เลือกเรียนรายวิชาที่มีชั่วโมงเรียนเช้าหรือติดต่อกัน ฯลฯ 4) กลุ่มคนที่อยากจะกลับมาเรียนที่ม. แต่ขอให้ทางมหาวิทยาลัยประกาศล่วงหน้า เพื่อจะได้มีเวลาเตรียมตัว โดยเฉพาะในเรื่องหอพักและเรื่องค่าใช้จ่ายในการมาอยู่หอพักครับ เรียกได้ว่าแต่ละกลุ่มมีเงื่อนไขและความพร้อมที่ค่อนข้างแตกต่างกันพอสมควร

 

แนวโน้มมหาวิทยาลัยน่าจะตัดสินใจให้กลับมาเรียน on-site ไหมคะ

สำหรับปี 1 ถ้าสถานการณ์คลี่คลาย ก็มีความเป็นไปได้ที่จะกลับมาเรียน on-site ครับ แต่ไม่ว่าจะตัดสินใจอย่างไรก็จะต้องแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 เดือน ดังนั้น  อย่างเร็วที่สุด “ถ้าเปลี่ยน” ก็น่าจะเป็นช่วงหลังสอบกลางภาคไปแล้ว หรืออาจจะช้ากว่านั้น และถึงจะประกาศไปแล้ว หากมีการระบาดระลอก 2 หรือ 3 ก็อาจจะต้องให้กลับมาเรียนออนไลน์อีกครั้ง อันนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริงๆ ครับ อยากให้เผื่อใจกันไว้ส่วนหนึ่งด้วย

มีน้องๆ หลายคนสงสยว่าพอกระทรวงอุดมศึกษาออกประกาศให้เรียน on-site ได้แล้ว ทำไมม.ถึงไม่ประกาศให้ปี 1 กลับมาเรียน on-site ไปเลย แบบหลายๆ มหาวิทยาลัย

ตอนนี้ จริงๆ เราพยายามหาทางออกกันอยู่ และจะพยายามประกาศให้ทราบโดยเร็วที่สุด เพราะทราบดีว่านักศึกษาและผู้ปกครองหลายคนมีความกังวลใจครับ  ที่ต้องใช้เวลาพิจารณากันอย่างรอบคอบรัดกุมให้มากที่สุด เพราะเราต้องคำนึงถึงหลัก 3 ประการคือ 1) ความปลอดภัย มหาวิทยาลัยจะติดตามสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVId-19) อย่างใกล้ชิด เพราะขณะนี้ยังมีการระบาดในหลายประเทศ และจะใช้ข้อมูลนี้เป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการตัดสินใจ 2) ความพร้อมของมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกำลังเร่งประชุมเพื่อกำหนดแนวทางการบริหารจัดการในด้านต่างๆ เพื่อเตรียมรองรับการกลับมาเรียนแบบ on-site ที่อาจเกิดขึ้น เช่น มาตรการด้านสุขอนามัย การจัดห้องเรียน การจัดหาหอพักให้นักศึกษา เป็นต้น และ 3) ความพร้อมของนักศึกษาและผู้ปกครอง เนื่องจากนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล กว่า 4,000 คน มีภูมิลำเนาอยู่ในหลายจังหวัด การที่อยู่ๆ จะประกาศเปลี่ยนแปลงรูปแบบการจัดการเรียนการสอนมาเป็นแบบ  on-site เลยจึงทำไม่ได้ ต้องให้เวลานักศึกษาและผู้ปกครองในการเตรียมตัว เช่น การจัดหาที่พักและค่าใช้จ่าย รวมทั้งปรับเปลี่ยนแผนการต่างๆ ที่ได้วางไว้

ยืนยันครับว่าเรายินดีรับฟังทุกเสียงและทุกปัญหาของนักศึกษา ถ้าในที่สุดแล้วมีการประกาศให้กลับมาเรียน on-site จริงๆ ทางมหาวิทยาลัยจะแจ้งให้นักศึกษาทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1-2 เดือน และจะต้องเตรียมหามาตรการรองรับสำหรับนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนอย่างเหมาะสมไว้ก่อนด้วย 

กรณีที่ยังเป็นไปตามแผนเดิมคือกลับมาเรียนที่ม.ตอนเทอม 2 ทางมหาวิทยาลัยจะมีแนวทางในการบริหารจัดการอย่างไรบ้างคะ

เรื่องหลักๆ ที่เราเตรียมการกันอยู่คือเรื่องการเรียนการสอนแบบ on-site ที่คำนึงถึงเรื่องการเว้นระยะห่างกางกายภาพอย่างเหมาะสมและมาตรการด้านสุขอนามัยต่างๆ เรื่องกิจกรรรมและการพัฒนานักศึกษา โดยเฉพาะในส่วนที่ต้องเลื่อนไปจัดในเทอม 2  และเรื่องหอพักสำหรับนักศึกษา ทั้งในส่วนหอพักของมหาวิทยาลัยและหอพักของเอกชน อย่างของมหาวิทยาลัยตอนนี้เราได้จัดสรรห้องไปแล้วเป็นแบบรายเทอม ถ้ากลับมาเรียน  on-site ในเทอม 2 ก็จะต้องกำหนดมาตรการต่างๆ กันใหม่ และจัดสรรกันอีกครั้ง ส่วนหอนอกก็จะต้องเชิญผู้ประกอบการมาหารือร่วมกันอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านี้เราได้เคยคุยกันมาแล้วตอนก่อนเปิดเทอม 1

แล้วถ้าสมมติว่ามีการระบาดระลอก 2 จนต้องเรียนออนไลน์กันต่อ หรืออย่างน้อยในช่วง 1-2 เดือนนี้ที่น้องๆ ยังต้องเรียนออนไลน์กันอยู่แน่ๆ มหาวิทยาลัยจะมีแนวทางในการดูแลน้องๆ อย่างไรคะ 

ทางมหาวิทยาลัยได้รับทราบเกี่ยวกับปัญหาและความไม่สะดวกในการเรียนออนไลน์สัปดาห์แรกของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 บางส่วนที่ได้สื่อสารผ่านช่องทางต่างๆ แล้ว และไม่ได้นิ่งนอนใจครับ ได้ประสานให้ทางคณะและอาจารย์ผู้สอนทราบเพื่อจะด้วยกันหาทางแก้ไข ผมอยากให้นักศึกษาช่วยกันสะท้อนปัญหาตรงนี้ไปยังผู้สอน คณะ หรือแจ้งมาที่มหาวิทยาลัย ในส่วนที่เป็นเรื่องการสนับสนุนต่างๆ โดยเฉพาะกิจกรรมพัฒนานักศึกษาและบริการให้คำปรึกษา ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบของกองกิจการนักศึกษาโดยตรง ตรงนี้ผมจะพยายามรับไปดำเนินการให้โดยเร็วที่สุดครับ

ระหว่างนี้ถ้าน้องๆ ประสบปัญหาในการเรียนออนไลน์ สามารถแจ้งได้ที่ไหนบ้างคะ

ถ้านักศึกษาประสบปัญหาเกี่ยวกับการเรียนออนไลน์ ช่องทางที่ง่ายที่สุดคือสามารถแจ้งให้อาจารย์ประจำวิชา หลักสูตร/ภาควิชา หรือคณะทราบได้โดยตรงก่อนเป็นอันดับแรก ผมเชื่อว่าอาจารย์ทุกท่านยินดีช่วยกันแก้ไขและดูแลให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ในชั้นเรียนที่ดีอย่างเต็มที่ หรือแจ้งผ่านทาง เพจกองบริหารการศึกษา หรือ เพจกองกิจการนักศึกษา หรือ เพจทีมมหิดล ก็ได้ครับ 

ขออนุญาตให้อาจารย์สรุปชัดๆ อีกครั้งได้ไหมคะว่ามหาวิทยาลัยจะให้น้องๆ ปี 1 กลับมาเรียนที่ม.ไหม

ตอนนี้ปี 1 ของมหิดลยังให้เป็นการเรียนออนไลน์ก่อนครับ เรากำลังประชุมกันเรื่องการให้กลับมาเรียนที่ม. ซึ่งถ้ามีการเปลี่ยนแปลงจะต้องประกาศล่วงหน้า 1-2 เดือน และจะมีมาตรการช่วยเหลือนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบครับ

สำหรับนักศึกษาปีอื่นๆ ล่ะคะ

การจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาปี 2-6 มหาวิทยาลัยให้เป็นอำนาจของคณะเป็นผู้ตัดสินใจครับ หากประสบปัญหาจากการเรียนออนไลน์หรือการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน สามารถสื่อสารกับทางคณะหรือภาควิชาได้เช่นกัน

สุดท้ายนี้ อาจารย์มีอะไรอยากฝากถึงน้องๆ บ้างไหมคะ

มหาวิทยาลัยจะพยายามดูแลนักศึกษาทุกคนอย่างดีที่สุด ผมยินดีรับฟังพวกเราเสมอ เป็นกำลังใจให้นักศึกษาทุกคน เราจะผ่านความท้าทายนี้ไปด้วยกันครับ

สัมภาษณ์ 13 ส.ค. 2563 / เผยแพร่ 14 ส.ค. 63

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save