กองกิจการนักศึกษา มหิดล

ประวัติหน่วยงาน

กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติศาสตร์ เริ่มตั้งแต่การได้รับอนุมัติจาก ก.ม.เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2519 ให้มีกองกิจการนักศึกษาเป็นครั้งแรก โดยอยู่ในสังกัดสำนักงานอธิการบดี และมีการแบ่งส่วนราชการของกองกิจการนักศึกษาออกเป็น 4 หน่วยงาน คือ งานธุรการ งานองค์การและกิจกรรมนักศึกษา งานสวัสดิการนักศึกษา งานอนามัยนักศึกษา และยังคงให้รับผิดชอบงานด้านโครงการส่งเสริมการศึกษาแพทย์สำหรับชาวชนบท ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2518  ต่อมาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2528 ก.ม.ได้อนุมัติการแบ่งส่วนราชการของกองกิจการนักศึกษาใหม่ โดยเพิ่มงานใหม่เข้ามาอีกสองงาน คือ งานแนะแนวและจัดหางาน กับงานวินัยและการปกครอง แต่ได้รวมเอางานสวัสดิการและงานอนามัยนักศึกษาไว้ด้วยกัน เรียกว่า งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา ฉะนั้น ในปี พ.ศ.2528 ส่วนราชการของกองกิจการนักศึกษาจึงมีทั้งสิ้น 5 งาน

นอกจากนี้ยังได้รับมอบหมายงานที่นอกเหนือจากงานในโครงสร้างประจำ เพิ่มอีก 2 งานได้แก่ งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม  และงานประสานงานสมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์

ภาพที่ 1 ประวัติศาสตร์โครงสร้างการบริหารงานกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งแต่ พ.ศ.2519-2528

ต่อมาเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ.2550  มหาวิทยาลัยมหิดลได้แต่งตั้งทีมบริหารชุดใหม่ หลังจากชุดเดิมหมดวาระลง ภายใต้การนำของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล  สกลสัตยาทร  อธิการบดี  จึงได้มีการปรับปรุงโครงสร้างของมหาวิทยาลัย โดยการยุบรวมศูนย์ศาลายาเข้ามาสังกัดสำนักงานอธิการบดี พร้อมทั้งเปลี่ยนชื่อเป็นกองกายภาพและสิ่งแวดล้อม และให้งานหอพักนักศึกษาซึ่งเดิมสังกัดศูนย์ศาลายา มาอยู่ในความรับผิดชอบของกองกิจการนักศึกษา  ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2551 ผู้บริหารกองกิจการนักศึกษาได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานแบบใหม่อย่างไม่เป็นทางการภายในหน่วยงาน มีลักษณะการบริหารงานแบบแนวราบ (Flat Organization) จำนวนทั้งสิ้น 8 งาน ได้แก่  งานองค์การและกิจกรรมนักศึกษา งานวินัยและพัฒนานักศึกษา งานหอพักนักศึกษา งานเทคโนโลยีและนวัตกรรม งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา งานศิลปวัฒนธรรมและนันทนาการ งานแนะแนวและศิษย์สัมพันธ์  และงานพัฒนาและวิเคราะห์ระบบ

วัตถุประสงค์ของการปรับโครงสร้างแบบใหม่ครั้งนี้ เพื่อให้มีการประสานงานแบบเครือข่าย เน้นการทำงานเป็นทีม (Team work style) สามารถเรียนรู้งานข้ามสายงานกันได้ ไม่มีหัวหน้างานบุคลากรมีการปฏิบัติงานแบบสำนักรับผิดชอบ มีเป้าหมายร่วมกัน และผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ให้คำแนะนำและแนะแนวทางปฏิบัติ

กองกิจการนักศึกษา มหิดล

ภาพที่ 2 ประวัติศาสตร์โครงสร้างการบริหารงานกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2551)

ต่อมามหาวิทยาลัยได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาวางระบบโครงสร้างการบริหารงานของมหาวิทยาลัยใหม่ โดยจัดกลุ่มการทำงานที่มีลักษณะเดียวกันอยู่ด้วยกัน  ผู้บริหารกองกิจการนักศึกษาจึงได้ให้บุคลากรทุกคนร่วมกันคิดรูปแบบโครงสร้างและได้ข้อสรุปการแบ่งเป็น 4 งาน  ดังนั้น กองกิจการนักศึกษาจึงได้เปลี่ยนโครงสร้างการบริหารงานจากแบบแนวราบ มาเป็นแนวดิ่งอีกครั้ง โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 เป็นต้นไป แต่ยังคงรูปแบบการบริหารงานเหมือนเดิม คือ ไม่มีหัวหน้างานบุคลากรมีการปฏิบัติงานแบบสำนักรับผิดชอบ มีเป้าหมายร่วมกัน และผู้บังคับบัญชามีหน้าที่ให้คำแนะนำและแนะแนวทางปฏิบัติ ประกอบด้วย งานพัฒนานักศึกษา งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา งานบริหารและสารสนเทศกิจการนักศึกษา งานหอพักนักศึกษา

และเมื่อบริษัทเอกชนได้วิเคราะห์และปรับปรุงโครงสร้างมหาวิทยาลัยแล้วเสร็จ กองกิจการนักศึกษาได้ถูกแบ่งตามภารกิจออกเป็น 3 งาน ได้แก่ 1) งานพัฒนานักศึกษา 2) งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา และ 3)งานหอพักนักศึกษา โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 ตามประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล

ภาพที่ 3 ประวัติศาสตร์โครงสร้างการบริหารงานกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2553 ถึง 31 สิงหาคม 2559)

ปัจจุบันกองกิจการนักศึกษาได้มีการปรับโครงสร้างการบริหารงานภายใน เพื่อให้มีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดล ปี พ.ศ. 2559-2562 และมีความชัดเจนด้านการบริหารงาน โดยการแบ่งหน่วยงานเพิ่มอีก 3 หน่วย ได้แก่ หน่วยศิษย์สัมพันธ์ หน่วยสื่อสารองค์กร และหน่วยบริหารงานทั่วไป  ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นต้นมา ดังนั้น โครงสร้างการบริหารงานกองกิจการนักศึกษา จึงประกอบด้วย 3 งาน และ 3 หน่วย ซึ่งมีภาระหน้าที่ดังนี้

  1. งานพัฒนานักศึกษา รับผิดชอบงานด้านการกำกับดูแลการบริหารงานขององค์กรนักศึกษา ได้แก่ สภานักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ชมรมระดับมหาวิทยาลัย  ส่งเสริมกิจกรรมองค์กรนักศึกษา  ส่งเสริมสนับสนุนและจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาด้านต่างๆ และขับเคลื่อนงานอาสาสมัครมหาวิทยาลัยมหิดล รวมถึงการดำเนินงานด้านวินัยนักศึกษาและวิชาทหาร
  2. งานบริการและสวัสดิการนักศึกษา รับผิดชอบงานด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตนักศึกษา ได้แก่ การให้คำปรึกษาด้านต่างๆ สร้างเครือข่ายนักศึกษาและบุคลากรด้านการให้คำปรึกษา การจัดหางานและฐานข้อมูลเพื่อการมีงานทำของนักศึกษา ทุนการศึกษา และกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา  ด้านการบริการและส่งเสริมสุขภาพนักศึกษา ได้แก่ การจัดสวัสดิการรักษาพยาบาลและทันตกรรมแก่นักศึกษา  เงินสงเคราะห์นักศึกษาเสียชีวิตหรือทุพพลภาพขณะศึกษา จัดกิจกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพนักศึกษา และด้านการบริการสนับสนุนสำหรับนักศึกษาพิการ (DSS)
  3. งานหอพักนักศึกษา รับผิดชอบงานด้านบริการที่พักอาศัยให้แก่นักศึกษา พร้อมจัดสวัสดิการและสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆให้แก่นักศึกษาภายในหอพักและบริเวณหอพัก รวมถึงการส่งเสริมสนับสนุนการจัดกิจกรรมพัฒนานักศึกษาในหอพัก พร้อมทั้งกำกับดูแลงานด้านอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อมหอพักนักศึกษาให้สะดวก สอาด พร้อมใช้งาน  และมีระบบรักษาความปลอดภัยให้กับผู้พักอาศัยในหอพักนักศึก
  4. หน่วยศิษย์สัมพันธ์ รับผิดชอบงานด้านฐานข้อมูลศิษย์เก่าและเว็บไซต์ศิษย์สัมพันธ์ และสร้างเสริมความผูกพันธ์ศิษย์สัมพันธ์โดยการประสานงานกับเครือข่ายสมาคมและเสริมสร้างความผูกพันกับศิษย์เก่าอย่างต่อเนื่อง โดย Mahidol Alumni Engagement and Employability Focus โดยการให้เกียรติ เผยแพร่ข่าวสารและเชิญศิษย์เก่าเข้ามามีส่วนร่วมตามวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย รวมถึงรายงานจำนวนศิษย์เก่าที่ช่วยพัฒนามหาวิทยาลัยตามคำจำกัดความของความผูกพันเพื่อรายงานตามตัวชี้วัดตามยุทธศาสตร์ที่ 2 Excellence in outcome-based education for globally –competent graduates
  5. หน่วยสื่อสารองค์กร รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของกองกิจการนักศึกษา ได้แก่ งานคอมพิวเตอร์ บริหารจัดการระบบฐานข้อมูล สื่อมัลติมีเดียต่างๆ บริหารจัดการข้อมูลเว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ (Social media) ได้แก่ เว็บไซต์กองกิจการนักศึกษา และเฟซบุ๊ก(Facebook) ของกองกิจการนักศึกษา ให้มีความทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์อยู่เสมอ  บริหารจัดการอุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศที่อยู่ในความดูแลของกองกิจการนักศึกษาให้สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และงานด้านโสตทัศนูปกรณ์ต่างๆ
  6. หน่วยบริหารงานทั่วไป รับผิดชอบงานด้านนโยบานและแผน งบประมาณและการเงิน พัสดุและครุภัณฑ์ ระบบคุณภาพและทรัพยากรบุคคล ธุรการและสารบรรณ เป็นต้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    Always Active

    คุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น

Save