เพราะต้องตอบคำถามเกี่ยวกับหอพักนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลหรือ “หอใน” ให้น้อง ๆ อยู่บ่อยครั้ง พี่อัยย์-นางสาวอัยย์ เก่งสุรการ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และฝ่ายประชาสัมพันธ์ของหอพักนักศึกษาบ้านมหิดล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงตัดสินใจพัฒนาแชตบอทที่ชื่อว่า “บ้านมหิดล MU HOME” ขึ้นมา
แชตบอท “บ้านมหิดล MU HOME” เป็นแชตบอทที่อยู่ใน LINE เริ่มต้นใช้งานได้โดย คลิกที่ลิงก์ https://lin.ee/yvwJtgC แล้วกด add friend หรือ add friend จาก ID @841teeoi (มี @ นำหน้าด้วย) ก็ได้
แชตบอทตัวนี้พี่เป็นคนพัฒนาขึ้นมาเอง แต่ก็จะอิงข้อมูลจากเพจและเว็บไซต์ของหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาลัย หรือสอบถามจากเจ้าหน้าที่หอพัก
เริ่มแรกเลยคือตอนนั้นพี่กำลังเรียนวิชา Embedded System โดยผู้สอนคือ อาจารย์กลกรณ์ วงศ์ภาติกะเสรี สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมพัฒนา Jubjai Chatbot (จับใจแชตบอท) แชตบอทประเมินภาวะซึมเศร้า แล้วอาจารย์ก็สอนการสร้าง chatbot พี่เลยคิดว่าช่วงที่ต้องเรียนออนไลน์ ถ้าเราทำ chatbot ให้หอพัก เพื่อที่เวลาว่างจะได้ไม่ว่างเกินก็ดีนะ
ช่วงแรก ๆ ก็เริ่มทำจากคำถามที่น้อง ๆ หอในมักถามบ่อย ๆ แล้วก็เทรนให้ chatbot รู้จักการตอบคำถาม โดยให้คนรอบตัวช่วย test โดยการพิมพ์ถามคำถามต่าง ๆ ว่า chatbot เขาสามารถเข้าใจคำถามที่แต่ละคนถามได้ไหม พอทำไปทำมา เริ่มสนุกเลยค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมว่าเราจะสามารถทำให้ chatbot ทำอะไรได้อีกบ้างนอกจากตอบเป็นตัวหนังสือ แล้วก็พบว่าเราสามารถทำให้ chatbot ตอบเป็นสติกเกอร์ ภาพ วิดีโอ location ได้อีกด้วย เลยคิดว่าถ้างั้นเราก็ยื่นฝึกงานที่กองกิจการนักศึกษาเลยก็ดีนะ จะได้ทำในสิ่งที่สนใจด้วย
หลัก ๆ ก็จะสามารถตอบคำถามต่าง ๆ ได้ เช่น ช่องทางการติดต่อ กฎระเบียบหอพัก การแจ้งซ่อมออนไลน์ ร้านอาหารใกล้หอ การขอรหัสรับ wifi ป่วยกาย/ป่วยใจ chatbot ตัวนี้จะสื่อสารด้วยภาษาไทย แต่ก็มีบางคำถามที่สามารถตอบเป็นภาษาอังกฤษได้เช่นกัน
ส่วนลูกเล่นของ chatbot ก็คือสามารถกดรูปภาพสัญลักษณ์ต่าง ๆ จากเมนูได้โดยไม่ต้องพิมพ์ จริง ๆ แล้วมีคำถามที่ chatbot ตอบได้มากกว่าที่เห็นในเมนู แต่ในเมนูก็จะเลือกเฉพาะคำถามที่เด่น ๆ มาทำเป็นรูปภาพ โดยรูปภาพในเมนู และรูปโปรไฟล์ พี่ก็ใช้คอมพิวเตอร์วาดเป็นภาพ flat graphic แล้วนำมาปรับแต่งให้เป็นรูปตามแบบที่เราต้องการ
ลูกเล่นอีกอย่างหนึ่งก็คือบางครั้ง chatbot จะเดาให้เองว่าเราจะพิมพ์อะไรต่อ เช่น ถ้าเรากดที่รูปเตียงในเมนู chatbot จะให้กดเลือกว่าเราต้องการทราบรายละเอียดหอชายหรือหอหญิง โดยไม่ต้องพิมพ์เอง พอเรากดหอหญิง ก็จะให้เลือกว่าจะดูหอไหน พอดูหอนึงเสร็จ chatbot ก็จะเดาว่าเราน่าจะอยากจองหอหรือไม่ก็ดูรายละเอียดของหออื่น chatbot ก็จะมีคำให้เราเลือกโดยไม่ต้องพิมพ์เอง คนที่คุยกับแชตบอทก็จะได้รับความสะดวกตรงที่ว่า ไม่ต้องไปไล่หาข้อมูลเอาเอง เพียงแค่พิมพ์ถามก็จะได้คำตอบทันที แถมบางครั้งยังกดได้เลยโดยไม่ต้องพิมพ์อีก
ความท้าทายในการทำ chatbot ก็คือ บางครั้งเราจะเพิ่มฟังก์ชันอะไรใหม่ ๆ แล้วเราก็ทำไม่ได้สักที บางอย่างใช้เวลาทำเป็นวัน สุดท้ายมาเจอทางออกแบบง่าย ๆ เหมือนเส้นผมบังภูเขาเลย
ตอนนี้ทำงานภายใต้หน่วยงานกองกิจการนักศึกษา ในฐานะนักศึกษาฝึกงาน โดยความรู้ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ก็เป็นความรู้ที่ได้มาจากมหาวิทยาลัย การทำให้ chatbot โต้ตอบได้ก็เรียนจากในคณะตัวเอง โดยอาจมีศึกษาลูกเล่นอื่น ๆ เพิ่มเติมจากข้างนอกบ้าง ส่วนการทำภาพกราฟิก (ภาพในเมนูและภาพโปรไฟล์) ก็ได้รับความรู้จากคอร์สเรียนของคณะ ICT
อนาคตคิดว่าจะทำให้ตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษได้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์สำหรับนักศึกษาต่างชาติ และให้สามารถตอบคำถามทั่วไปเกี่ยวกับมหาวิทยาลัยที่นอกเหนือจากเรื่องหอพักได้หลากหลายมากขึ้น เผื่อน้องใหม่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม
อยากจะบอกน้อง ๆ ว่าถ้าเรื่องโควิดดีขึ้น แล้วได้มาเรียนที่มหาลัยเมื่อไหร่ อยากจะให้น้อง ๆ เข้าร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ตามความสนใจ เพื่อจะได้พบปะเพื่อนใหม่ และเพิ่มประสบการณ์ ชีวิตที่มหิดลศาลายาเป็นช่วงชีวิตที่พี่ชอบมากที่สุดในชีวิตเลยก็ว่าได้ เพราะมีกิจกรรมหลากหลายมาก เราก็เลือกอันที่เราชอบ และกิจกรรมส่วนใหญ่มหาวิทยาลัยเป็นผู้สนับสนุน จึงไม่มีค่าใช้จ่าย
น้อง ๆ ลองถาม chatbot ได้นะคะว่ามีกิจกรรมที่น่าสนใจอะไรบ้าง (ถามแต่ละครั้ง chatbot จะแนะนำกิจกรรมที่แตกต่างกันออกไปด้วยนะ) และถ้าน้อง ๆ เรียนหนักหรือเครียดก็สามารถไปรับคำปรึกษาได้จาก MU Friends ซึ่งแค่บอก chatbot ว่าเครียด chatbot ก็จะแนะนำให้รับคำปรึกษาจาก MU Friends เช่นกัน
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้
Allow Allคุกกี้ที่จำเป็น คือคุกกี้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้มั่นใจถึงฟังก์ชันพื้นฐานและคุณลักษณะด้านความปลอดภัยของเว็บไซต์
คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์/เพื่อประสิทธิภาพ คุกกี้เหล่านี้ช่วยให้เราจดจำและนับจำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์และทราบว่าผู้เข้าชมไปยังหน้าต่างๆ ในเว็บไซต์อย่างไร สิ่งนี้จะช่วยให้เราปรับปรุงการทำงานของเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้นได้ในอนาคต ตัวอย่างเช่น ทำให้ผู้ใช้งานพบสิ่งที่ต้องการเข้าถึงได้ง่ายขึ้น