{:th}ผลของการเล่านิทาน 101s ที่มีต่อพัฒนาการทักษะทางอารมณ์ – สังคม และการคิดเชิงบริหาร ในห้องเรียนปฐมวัย{:}{:en}The 101s Storybooks Intervention Program to Promote Executive Function Development in Preschool: The Case Study in Thailand{:}
August 15, 2018
{:th}สารพีอีไอทีซีจากผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณที่คนรับประทานได้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช่องปากที่มียีน p53 กลายพันธุ์ ทั้งในห้องปฏิบัติการ และในสัตว์ทดลอง{:}{:en}Sensory acceptable equivalent doses of β -phenylethyl isothiocyanate (PEITC) induce cell cycle arrest and retard the growth of p53 mutated oral cancer in vitro and in vivo{:}
August 22, 2018

{:th}ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1{:}{:en}The Impact of the 101s Storybooks Program on Executive Function Skills in First Grade Students: The Case Study in Thailand{:}

หนังสือนิทานเทคนิค เล่ม 7 วินัยเชิงบวก 101

{:th}

ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1

ผู้วิจัย :

อินทร์ละออง เจริญผล
นุชนาฏ รักษี
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล
ปนัดดา ธนเศรษฐกร

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนประถมศึกษา กรุงเทพ ฯ อายุ 6 – 7 ปี จำนวน 192 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง (n = 98) และกลุ่มควบคุม (n = 94) การศึกษาครั้งนี้ ใช้เครื่องมือ ได้แก่ 1.) แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย สำหรับครู (MU.EF-101) 2.) แบบสอบถาม 101s ทักษะอารมณ์สังคมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อประเมินทักษะกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคมผ่านการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวก

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ Paired Sample t – test เพื่อสำรวจความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อน และหลังการฟังนิทาน 101s ในกลุ่ม และใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA) เพื่อสำรวจความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบสอบถาม 101s ทักษะอารมณ์สังคม และ MU.EF-101 เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม สุดท้ายใช้ Bivariate – Correlations เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคมของนักเรียน ผลจากการศึกษาพบว่า การเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวก ส่งผลต่อการเพิ่มทักษะกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคมของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

หนังสือนิทานเทคนิค เล่ม 7 วินัยเชิงบวก 101
การดำเนินงานการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง (เล่านิทาน) ภายในชั้นเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม

การเผยแพร่ผลงาน : The Impact of the 101s Storybooks Program on Executive Function Skills in First Grade Students: The Case Study in Thailand, INTED2017 Proceedings, pp. 4101 – 4109.

การติดต่อ :
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

{:}{:en}

The Impact of the 101s Storybooks Program on Executive Function Skills in First Grade Students: The Case Study in Thailand

National Institute for Child and Family Development, Mahidol University

Title :

The Impact of the 101s Storybooks Program on Executive Function Skills in First Grade Students: The Case Study in Thailand

Researchers :

Inlaong Charoenphol
Nootchanart Ruksi
Nuanchan Chutabhakdikul
Panadda Thanasetkorn

Presently, educations in all levels are expected to equip students with the 21st century skills, especially critical thinking, communication, collaboration, and creativity. In order to support the students to achieve the skills required to succeed in the 21st century, the national education should be reformed. Based on brain, mind, and behavioral research, the 21st century skills are related to executive function (EF), a higher-order thinking of brain processes that draw previous experiences relevant to a current situation for planning, prioritizing, initiating, making decision, solving problems, controlling emotions to achieve a goal-directed behavior. EF skills are also crucial to school performance and future career and life success. Since EF skills develop early in life and continue throughout adolescent years, EF development should be on the national education policies’ agenda. One of the critical factors influences EF development is the quality of interactions. Positive, responsive interactions promote students’ EF skills whereas maltreatment harsh discipline and punishment inhibits EF development and skills. In Thailand, the 101s positive discipline (101s) training program, the nationally honored program in the US for promoting positive interactions and children’s social-emotional and EF skills with positive discipline techniques, has been implemented to ensure that schools support students’ social-emotional and EF skills. Previous research has shown the positive impact of the 101s training program on teachers’ interaction practices, teacher-child relationships, children’s social-emotional and EF skills. However, most of the 101s training programs in previous research were training program for teachers and limited to only preschool levels. The current research; therefore, intended to further study the impact of the 101s training program for students in first grade. The purpose of this study was to investigate the impact of the 101s storybooks program on student’s EF skills. The total sample was 192 first grade students in an elementary school in Thailand. The sample was assigned into 2 groups. While the sample in the intervention group (n = 98) received the 101s storybooks program, the sample in the control group (n = 94) received no intervention. Before and after the program implementation, the teachers of the students were asked to rate their students’ executive function skills, using Executive Function assessment in Mahidol University version (MU-EF). Paired t-test was computed to compare the differences in the pretest EF mean scores and posttest EF mean scores within groups in order to examine the developmental changes in EF skills. Then, a series of MANCOVA was performed to compare the differences in the posttest mean scores on EF skills between the intervention and control groups. The results showed the positive impact of the 101s storybooks program on students’ EF skills.

หนังสือนิทานเทคนิค เล่ม 7 วินัยเชิงบวก 101
การดำเนินงานการวิจัยกับกลุ่มตัวอย่าง (เล่านิทาน) ภายในชั้นเรียน โรงเรียนอัสสัมชัญ แผนกประถม

Publishing : The Impact of the 101s Storybooks Program on Executive Function Skills in First Grade Students: The Case Study in Thailand, INTED2017 Proceedings, pp. 4101 – 4109.

Key Contact Person :
Asst.Prof.Dr.Panadda Thanasetkorn
National Institute for Child and Family Development, Mahidol University

{:}