ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
August 15, 2018
ปัจจัยทำนายพฤติกรรมการจัดการภาวะอ้วนลงพุงด้วยตนเองของผู้ป่วยอ้วนลงพุง ในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ในกรุงเทพมหานคร
September 25, 2018

สารพีอีไอทีซีจากผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณที่คนรับประทานได้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช่องปากที่มียีน p53 กลายพันธุ์ ทั้งในห้องปฏิบัติการ และในสัตว์ทดลอง

สารพีอีไอทีซีจากผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณที่คนรับประทานได้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช่องปากที่มียีน p53 กลายพันธุ์ ทั้งในห้องปฏิบัติการ และในสัตว์ทดลอง

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

สารพีอีไอทีซีจากผักตระกูลกะหล่ำในปริมาณที่คนรับประทานได้ ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งช่องปากที่มียีน p53 กลายพันธุ์ ทั้งในห้องปฏิบัติการ และในสัตว์ทดลอง

ผู้วิจัย :

อรุณวรรณ หลำอุบล, อะลิสัน ลี ฟิซเจอรอล, อาณัติ ฤทธิ์เดช, ถาวรีย์ พลเยี่ยม, ฮุ้ย จาง, เจฟฟรี เอ็น ไมเยอร์, เผิง หวง และ ดุลยพร ตราชูธรรม

สารจากอาหารหลายชนิดมีฤทธิ์ต้านมะเร็งเมื่อให้ในความเข้มข้นสูง เช่น สารพีอีไอทีซี ซึ่งเป็นพฤกษเคมี จากผักตระกูลกะหล่ำ อย่างไรก็ตามความเข้มข้นสูงนั้น ไม่เหมาะกับการบริโภค เพราะจะระคายเคืองช่องปาก งานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาฤทธิ์ขอสารพีอีไอทีซีในระดับความเข้มข้นเทียบเท่ากับระดับที่คนรับประทานได้ ผลการศึกษาในห้องปฏิบัติการพบว่า สารพีอีไอทีซีเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งอย่างจำเพาะ โดยไม่ก่อพิษต่อเซลล์ปกติ ผลการศึกษาในหนูทดลองพบว่า สารพีอีไอทีซีในระดับความเข้มข้นเทียบเท่ากับที่คนรับประทานได้ ช่วยให้ก้อนมะเร็งโตช้าลง และช่วยยืดอายุของหนูที่เป็นมะเร็งช่องปากชนิดที่มียีน p53 กลายพันธุ์ ให้มีชีวิตรอดนานขึ้น ในแง่กลไก สารพีอีไอทีซีทำให้เกิดความเครียดอนุมูลอิสระ กระตุ้นการทำงานของโปรตีน p53 และ p21 และทำให้เซลล์มะเร็งหยุดแบ่งตัว งานวิจัยนี้ได้ผลสรุปว่า สารพีอีไอทีซีที่ระดับความเข้มข้นเทียบเท่ากับที่คนรับประทานได้นั้น สามารถยับยั้งการเติบโตของเซลล์มะเร็งอย่างจำเพาะผ่านกลไกอนุมูลอิสระ จนทำให้โรคมะเร็งลุกลามช้าลง และทำให้มีชีวิตอยู่รอดนานขึ้น ดังนั้น สารพีอีไอทีซีจึงน่าจะเป็นสารออกฤทธิ์ที่ใช้ในการป้องกันมะเร็งช่องปากได้

การนำไปใช้ประโยชน์ : การนำองค์ความรู้ไปพัฒนาต่อยอด เป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งช่องปาก ในการคงสภาพร่างกายไม่ให้ทรุดไปกว่าเดิม และส่งเสริมคุณภาพชีวิต ขณะนี้กำลังมีการวิจัยต่อในคลินิก

การเผยแพร่ผลงาน : ตีพิมพ์ในวารสาร และขึ้นปกหลังวารสารฟูดส์แอนด์ฟังก์ชั่น ฉบับที่ 9 ปี พ.ศ. 2561 หน้า 3640 – 3656

การติดต่อ :
ผศ.ดร.ทพญ.ดุลยพร ตราชูธรรม
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
dunyaporn.tra@mahidol.ac.th, dunyaporn.tra@,mahidol.edu