ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
หนังสือนิทานเทคนิค เล่ม 7 วินัยเชิงบวก 101
ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานวิจัย :
ผลของการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวกต่อทักษะการคิดเชิงบริหารและทักษะด้านอารมณ์ สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย :
อินทร์ละออง เจริญผล
นุชนาฏ รักษี
นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล
ปนัดดา ธนเศรษฐกร
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวก เพื่อส่งเสริมพัฒนาการทักษะด้านกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนประถมศึกษา กรุงเทพ ฯ อายุ 6 – 7 ปี จำนวน 192 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มทดลอง (n = 98) และกลุ่มควบคุม (n = 94) การศึกษาครั้งนี้ ใช้เครื่องมือ ได้แก่ 1.) แบบประเมินพัฒนาการด้านการคิดเชิงบริหารในเด็กปฐมวัย สำหรับครู (MU.EF-101) 2.) แบบสอบถาม 101s ทักษะอารมณ์สังคมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เพื่อประเมินทักษะกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคมผ่านการเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวก
ในการวิเคราะห์ข้อมูล ใช้ Paired Sample t – test เพื่อสำรวจความแตกต่างของค่าเฉลี่ยก่อน และหลังการฟังนิทาน 101s ในกลุ่ม และใช้สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณ (MANCOVA) เพื่อสำรวจความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของคะแนนจากแบบสอบถาม 101s ทักษะอารมณ์สังคม และ MU.EF-101 เปรียบเทียบระหว่างกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม สุดท้ายใช้ Bivariate – Correlations เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคมของนักเรียน ผลจากการศึกษาพบว่า การเล่านิทาน 101s การสร้างวินัยเชิงบวก ส่งผลต่อการเพิ่มทักษะกระบวนการคิดเชิงบริหาร และทักษะอารมณ์สังคมของนักเรียนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การเผยแพร่ผลงาน : The Impact of the 101s Storybooks Program on Executive Function Skills in First Grade Students: The Case Study in Thailand, INTED2017 Proceedings, pp. 4101 – 4109.
การติดต่อ :
ผศ.ดร.ปนัดดา ธนเศรษฐกร
สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้
Allow All