แนวทางการขับเคลื่อนจริยธรรมให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล

มหาวิทยาลัยมหิดลได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยมหิดลให้เป็นกรอบการดำเนินงานและการพัฒนาในทุก ๆ ด้าน เพื่อมหาวิทยาลัยมหิดลจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและพัฒนาประเทศสู่ความยั่งยืน โดยยุทธศาสตร์ที่ 4 Management for Self-Sufficiency and Sustainable Organization มีวัตถุประสงค์ให้มหาวิทยาลัยมหิดลมีระบบธรรมาภิบาลที่เข้มแข็ง อีกทั้งคำว่า Intregity ที่มีความหมายว่า มั่นคงยิ่งในคุณธรรม ยังเป็นหนึ่งในค่านิยมมหิดล (Mahidol Core Values)

อ่านรายละเอียดค่านิยมมหิดล (Mahidol Core Values)

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ดังกล่าว กองทรัพยากรบุคคลได้มีแนวทางการเสริมสร้างมาตรฐานทางจริยธรรมให้แก่บุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดลตั้งแต่การอบรมในโครงการปฐมนิเทศบุคลากรที่มีหัวข้อเรื่อง “ค่านิยมมหิดล (Mahidol Core Values)”


โครงการปฐมนิเทศบุคลากรใหม่

  เอกสารประกอบการบรรยาย Mahidol Core Values/Culture โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์วัฒนาภา

ไปจนถึงการอบรมโครงการพัฒนานักบริหารระดับต้นที่มีหัวข้อเรื่อง “หลักธรรมาภิบาลในการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล” เพื่อให้ครอบคลุมบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ ดังนี้


โครงการพัฒนานักบริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่นที่ 32

Mahidol University Supervisory Development Program (MU-SUP#32)

วันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 13.00 – 14.30 น.

บรรยาย หัวข้อ “หลักธรรมาภิบาลในการบริหารมหาวิทยาลัยมหิดล” โดย นายอวยชัย อิสรวิริยะสกุล: ผู้อำนวยการกองกฎหมาย

 


อีกทั้งความยึดมั่นในคุณธรรม (Integrity) ยังเป็นหนึ่งในหัวข้อการประเมินสำหรับพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนที่ต้องการมีความก้าวหน้าในตำแหน่ง โดยจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะหลักตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ตาม ประกาศมหาวิทยาลัยมหิดล เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินพนักงานมหาวิทยาลัยประเภทสนับสนุนให้มีความก้าวหน้าในตำแหน่ง ผู้ชำนาญงาน ผู้ชำนาญงานพิเศษ ผู้ชำนาญการพิเศษ ผู้เชี่ยวชาญและผู้เชี่ยวชาญพิเศษ  


นอกจากนี้ การครองตนที่หมายรวมถึงการประพฤติ ปฏิบัติตนด้วยคุณธรรม เป็นหนึ่งในเกณฑ์การพิจารณาบุคลากรดีเด่นระดับมหาวิทยาลัยด้วย เนื่องจากมหาวิทยาลัยมหิดลให้ความสำคัญกับมาตรฐานทางจริยธรรมของบุคลากรเป็นอย่างมาก

การคัดเลือกบุคลากรดีเด่น

  1. การครองตน หมายถึง ประพฤติปฏิบัติตนด้วยคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นที่ยอมรับและเป็นตัวอย่างให้กับบุคลากรในส่วนงาน มหาวิทยาลัยและสังคม
  2. การครองคน หมายถึง ได้รับการยอมรับยกย่องจากผู้ร่วมงาน ในการสร้างความสัมพันธ์และความเข้าใจระหว่างผู้บังคับบัญชา เพื่อนร่วมงาน ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้รับบริการ โน้มน้าว จูงใจให้เกิดความร่วมมือในการปฏิบัติงาน เปิดโอกาส และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ให้ความสําคัญ ยกย่องให้เกียรติแก่ผู้ร่วมงาน มีน้ำใจ ช่วยเหลือ ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานและเข้าร่วมกิจกรรมของส่วนรวม
  3. การครองงาน หมายถึงมีความรู้ เข้าใจงาน และนําความรู้ที่มีไปใช้ในการปฏิบัติงาน ตั้งใจปฏิบัติงานจนประสบผลสําเร็จแก้ปัญหาได้มีปฏิภาณ ไหวพริบ สามารถปฏิบัติงานในหน้าที่/งานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างดี ด้วยความเต็มใจและสม่ำเสมอ มีจิตมุ่งผลสัมฤทธิ์ของงาน และมีผลงานปรากฏที่เป็นประโยชน์ต่อส่วนงานและมหาวิทยาลัยมากกว่าผู้อื่นอย่างเด่นชัด มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ พัฒนานวัตกรรมในงาน และสามารถปรับปรุงงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
  4. ผลงานดีเด่น หมายถึง มีผลงานเชิงประจักษ์ ดีเด่น เป็นที่ยอมรับ สมควรได้รับการยกย่อง ผลงานจากการอุทิศ ทุ่มเทเสียสละ เกิดประโยชน์กับส่วนงานและมหาวิทยาลัย โดยปรากฏเป็นผลงานวิชาการ/งานวิจัย/เอกสารที่สืบค้นได้เชิงประจักษ์/สิ่งประดิษฐ์ที่เป็นนวัตกรรมฯ ที่ก่อให้เกิดประโยชน์กับส่วนรวม

แบบประเมินการคัดเลือก (แบบ 3)  

  รายชื่อผู้ได้รับคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปี พ.ศ.2566 (เข้ารับรางวัลในงานครบรอบ 55 ปี วันพระราชทาน 136 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 2 มีนาคม 2567)


    รายงานผลการนำการประเมินจริยธรรมไปใช้ในกระบวนการบริหารทรัพยากรบุคคล