แผนดำเนินงานวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน
May 17, 2021
นวัตกรรมถังขยะเพื่อการคัดแยกขยะสำหรับทุกคน
May 17, 2021

Establishment of financial support (the funds) for enhancing the quality of life of the formerly incarcerated

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

ศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุน เพื่อสนับสนุนชีวิตหลังปล่อยของผู้พ้นโทษ

ผลงานวิจัย:

Establishment of financial support (the funds) for enhancing the quality of life of the formerly incarcerated

ผู้วิจัย:

1. รศ. ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร
2. ผศ. ดร.ปัณณวิช ทัพภวิมล
3. ผศ. ดร.วรรณวิภา เมืองถ้ำ
4. อ. ดร.ศุภกร ปุญญฤทธิ์
5. อ. ดร.เขมธิดา เพ็ชรแต้ม
6. อ. ดร.พัชราพรรณ นาคพงษ์
7. นางสาวณัฏฐาภรณ์ โสกัณฑัต
8. นายก่อเกียรติ ลิ่มวงศ์สกุล
9. พ.ต.ท.หญิงณัฐิกา กีรติธรรมกฤต

การศึกษาความเป็นได้ในการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนชีวิตหลังปล่อยของผู้พ้นโทษ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบและวัตถุประสงค์ของกองทุนเพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตหลังปล่อยของผู้พ้นโทษ รวมทั้งการให้ความช่วยเหลือในเรือนจำ และศูนย์ฝึกอบรมเด็กและเยาวชนโดยนำเสนอ รูปแบบ แนวทางการจัดตั้งกองทุน การให้ความช่วยเหลือของกองทุน/การใช้จ่ายเงินทุน/เงือนไขของความช่วยเหลือในลักษณะต่างๆ รวมทั้งปัจจัยสู่ความสำเร็จ เพื่อสนับสนุนคุณภาพชีวิตหลังปล่อยของผู้พ้นโทษในประเทศไทย ตลอดจนแนวทาง วิธีการตรวจสอบกองทุน กระบวนการได้มาซึ่งเงินทุน ระบบการระดมเงินทุน และการนำเสนอแผนการดำเนินงาน (Roadmap) รูปแบบ แนวทางการจัดตั้งกองทุน โดยกำหนดเป็นแผนการดำเนินงานในระยะเร่งด่วนและระยะยาว ทั้งนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) จากการค้นคว้าข้อมูลจากเอกสารวิชาการ ทบทวน วิเคราะห์ลักษณะหรือสถานการณ์ ปัญหา อุปสรรคและปัจจัยความสำเร็จของกองทุนช่วยเหลือด้านต่าง ๆ ที่มีการจัดตั้งในประเทศไทย แนวคิดการจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนชีวิตหลังปล่อยของผู้พ้นโทษในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) จำนวน 100 คน การสนทนากลุ่ม (Focus Group) จำนวน 54 คน รวมทั้งการสัมมนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นและเผยแพร่ข้อเสนอรูปแบบ (Model) หรือแนวทางการจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนชีวิตหลังปล่อยที่เหมาะสม จำนวน 2 ครั้ง

ผลการศึกษา พบว่า แนวทางการจัดตั้งกองทุนให้ความช่วยเหลือหรือสนับสนุนชีวิตหลังปล่อยที่เหมาะสมในประเทศไทย วัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้พ้นโทษกลับสู่สังคมและไม่กระทำผิดซ้ำโดยให้ความช่วยเหลือผู้พ้นโทษระยะสั้น/เร่งด่วน รวมไปถึงการติดตามผู้พ้นโทษระยะยาว มุ่งหวังที่จะพัฒนาพฤตินิสัย บำบัดฟื้นฟูเฉพาะราย ให้ผู้กระทำผิดสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างยั่งยืนมีอาชีพ ความรู้ในการดำเนินชีวิต และตัดวงจรในการกลับไปกระทำผิดซ้ำ โดยแหล่งเงินทุนของกองทุนได้รับการจัดสรรงบประมาณจากรัฐ และหาแหล่งเงินทุนจาก การรับบริจาคจากเอกชน หรือการทำสัญญาเพื่อรับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชนต่างๆ โดยมีองค์กรกลางในการบริหารจัดการกองทุน การให้ความช่วยเหลือจะพิจารณาว่าผู้ใดที่เข้าหลักเกณฑ์ในการได้รับความช่วยเหลือบ้าง เฉพาะตัวผู้กระทำผิดที่พ้นโทษหรือรวมไปถึงครอบครัว เช่น คู่สมรส หรืบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ

ข้อเสนอแนะที่สำคัญ คือ การดำเนินการในแผนระยะเร่งด่วน เพื่อให้ความช่วยเหลือ ผู้กระทำผิดทั้งผู้ใหญ่ เด็กและเยาวชน ของกรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน กรมคุมประพฤติและ หน่วยงานอื่นๆ ภายใต้การบริการและการสงเคราะห์ช่วยเหลือของหน่วยงานภาคีเครือข่ายภายใต้แผนการรองรับการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับการพระราชทานอภัยโทษและอภัยโทษลดโทษปล่อยตัวปี พ.ศ. 2562 ส่วนการจัดตั้งกองทุนในระยะยาว ดำเนินการโดย ร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานบริหารกองทุนเพื่อสนับสนุนชีวิตหลังปล่อยของผู้พ้นโทษ (องค์การมหาชน) และจัดตั้งหน่ายงานที่มีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงเพื่อให้เกิดประสานการทำงานอย่างบูรณาการและยั่งยืน

การนำไปใช้ประโยชน์: กรมราชทัณฑ์นำไปผลการศึกษาไปปรุงปรุงศูนย์ประสานงานและส่งเสริมการมีงานทำ

การติดต่อ:
รศ. ดร.สุณีย์ กัลยะจิตร