การตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย
May 17, 2021
Establishment of financial support (the funds) for enhancing the quality of life of the formerly incarcerated
May 17, 2021

แผนดำเนินงานวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน

แผนดำเนินงานวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน

คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

แผนดำเนินงานวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน

ผู้วิจัย:

รศ.ดร.ลือชัย ศรีเงินยวง และคณะ

แผนดำเนินงานวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน เป็นโครงการที่อยู่ภายใต้บันทึกข้อตกลงระหว่างคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และสถาบันวิจัยระบบสุขภาพ (สวรส.) โดยแผนงานนี้ มีเป้าหมายเพื่อการขับเคลื่อนงานระยะยาว ในการใช้งานวิจัย เพื่อขับเคลื่อนให้เกิดสังคมที่เกื้อกูล ไม่ทอดทิ้งกัน โดยเฉพาะการให้การดูแลประชาชนกลุ่มเปราะบางและชายขอบต่างๆ แนวคิดของแผนงานนี้ คือ การผสมผสาน หนึ่ง การสร้างความรู้ สอง การพัฒนาผู้ที่จะไปสร้างความรู้และขับเคลื่อน และ สาม การนำความรู้ไปเป็นฐานในการขับเคลื่อนนโยบายและการเคลื่อนไหวทางสังคม แผนงานวิจัยประกอบไปด้วย 5 โครงการ คือ

•   โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาและขับเคลื่อนสุขภาวะของครอบครัวเปราะบางในสังคมไทย เป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาองค์ความรู้สถานการณ์ปัญหาความซับซ้อนของครอบครัวไทย เพื่อผลักดันให้เกิดความเข้าใจและพัฒนาโจทย์วิจัยด้านครอบครัว และการสร้างเครือข่ายผู้ทำงานแก้ปัญหาครอบครัว
•   โครงการปัญญาประดิษฐ์กับความเป็นธรรมทางสุขภาพและสังคม เป็นโครงการที่ศึกษาความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลและปัญญาประดิษฐ์ ที่อาจส่งผลต่อมนุษย์ ในมิติทางจริยธรรม มิติความเป็นธรรม และมิติสังคม
•   โครงการชีวิต สุขภาพ และ การเข้าถึงระบบสุขภาพของประชากรกลุ่มเปราะบางในเมือง: การศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่เป็นแรงงานย้ายถิ่นในกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการที่ศึกษากลุ่มคนเปราะบาง เช่น พนักงานขับรถแท็กซี่ การศึกษาชีวิตของคนกลุ่มนี้ ทำให้เราได้เห็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่พวกเขาต้องถูกกดทับ และมีความเสี่ยงเรื่องสุขภาพ ทำให้เกิดการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อรองรับคนกลุ่มนี้
•   โครงการชีวิตและสุขภาพของเด็กต่างด้าวและการเข้าถึงบริการสาธารณสุข เป็นโครงการที่เน้นการทำความเข้าใจความซับซ้อนของปัญหาเด็กต่างด้าว และกลไกของการบริการสาธารณสุขที่ไม่ตอบรับกับชีวิตและการเคลื่อนย้าย เด็กจึงมีความเสี่ยงทางสุขภาพและความมั่นคงปลอดภัยในชีวิต
•   โครงการการพัฒนาศักยภาพด้านการวิจัยและขับเคลื่อนงานของ “ครูข้างถนน” เป็นโครงการที่เน้นการพัฒนาศักยภาพของคนทำงานเพื่อเด็กกลุ่มเปราะบาง โดยมุ่งหวังว่า เมื่อเกิดการพัฒนาความรู้ เครื่องมือ เทคนิคการทำงาน ครูข้างถนนเป็นกลไกหนึ่งที่มีประสิทธิภาพในการทำงานช่วยเหลือเด็กที่เข้าถึงได้ยาก

ภายใต้องค์ประกอบของโครงการย่อยดังกล่าว ทำให้แผนงานวิจัยผลักดันนำไปสู่การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงผ่านกลไกระดับนโยบาย โครงสร้างองค์กร และ พื้นที่ปฏิบัติการเฉพาะต่างๆ โดยอาศัยองค์ความรู้ที่พัฒนาขึ้น และการเชื่อมโยงเครือข่ายและพื้นที่ปฏิบัติการจริง การใช้การทำงานกับเครือข่ายในทุกระดับ (จากนโยบายสู่ชุมชน) เป็นพื้นที่ปฏิบัติการ ในการพัฒนาองค์ความรู้ พัฒนาศักยภาพนักวิจัยและคนทำงาน และ การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง จะทำให้การทำงานทุกมิติเกิดบูรณาการ เชื่อมโยง และมีประสิทธิภาพ

การนำไปใช้ประโยชน์: เกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสร้างภาคีเครือข่ายผู้ทำงานเพื่อแก้ปัญหาความเป็นธรรมทางสุขภาพ และปัญหาของกลุ่มเด็กเปราะบาง

การติดต่อ:
นางสาวชุติมา พัฒนพงศ์

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก "ยอมรับ" หรือสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save