Multi – level Empowerment Intervention
May 17, 2021
แผนดำเนินงานวิจัยภายใต้ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยและขับเคลื่อนนโยบายสังคมไม่ทอดทิ้งกัน
May 17, 2021

การตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

การตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

หน่วยความเป็นเลิศด้านการวิจัยเพศภาวะ เพศวิถีและสุขภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

การเสนอบริการตรวจเอชไอวีผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร (Bangkok Online Testing On MSM)

ผลงานวิจัย:

การตรวจเอชไอวีด้วยตนเองผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับเยาวชนชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย

ผู้วิจัย:

รองศาสตราจารย์ ดร. โธมัส กวาดามูซ

โครงการการเสนอบริการตรวจเอชไอวีผ่านช่องทางออนไลน์ สำหรับกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชายในเขตกรุงเทพมหานคร (Bangkok Online Testing On MSM) วัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและปัจจัยสำเร็จ รวมถึงปัจจัยทางด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่มีผลต่อการตรวจเอชไอวีออนไลน์ในกลุ่มชายรักชาย 2) เพื่อศึกษาการรับรู้อุปสรรค ปัจจัยเอื้อ รวมถึงพฤติกรรม ที่เกี่ยวข้องกับการตรวจเอชไอวีออนไลน์ และความเป็นไปได้ในการจัดบริการตรวจเอชไอวีแบบออนไลน์ 3) เพื่อเสนอรูปแบบบริการการตรวจเอชไอวีผ่านช่องทางออนไลน์ โดยในโครงการได้มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสื่อออนไลน์เข้ามาช่วยในการส่งเสริมการจัดบริการตรวจเอชไอวี โดยให้เยาวชนสามารถตรวจเอชไอวีได้ด้วยตนเองที่บ้าน จากการเก็บข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามออนไลน์จากกลุ่มเยาวชนชายรักชายในเขตกรุงเทพมหานครจำนวน 1,394 คนพบว่ากลุ่มตัวอย่างจำนวน 87% มีความสนใจและพร้อมที่จะตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ในโครงการได้มีการทดลองโดยได้จัดส่งชุดตรวจเอชไอวีด้วยตนเองไปให้กลุ่มตัวอย่างที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และมีเจ้าหน้าที่ของโครงการคอยให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำในการตรวจแบบออนไลน์ ผ่านวิดีโอคอลตลอดกระบวนการของการตรวจด้วยตนเอง อุปกรณ์ที่ใช้การตรวจเอชไอวีด้วยตนเอง ประกอบด้วยชุดตรวจเอชไอวีแบบรู้ผลทันที (the 4th generation Alere™ HIV Combo test) และมีการยืนยันผลการตรวจโดยกระดาษซับเลือด (Dried blood spot: DBS) โดยให้กลุ่มตัวอย่างส่งกระดาษซับเลือดไปยังศูนย์วิจัยทางคลินิก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตรวจยืนยันทางคลินิกโดยใช้เทคนิค HIV PCR LAB testing โดยได้ติดตามอาสาสมัครเพื่อให้มีการตรวจเอชไอวีอย่างต่อเนื่องทุก ๆ 3 เดือน ผลพบว่าอาสาสมัครกลับมาตรวจแบบติดตามสูงถึง 90% และในกลุ่มอาสาสมัครที่ติดเชื้อเอชไอวีเข้าสู่กระบวนการรักษาครบ 100% จึงสามารถสรุปได้ว่าวิธีการตรวจออนไลน์ด้วยตัวเองดังกล่าว ได้รับความสนใจจากเยาวชนกลุ่มเสี่ยง และส่งผลตรวจได้ตามขั้นตอนที่แนะนำผ่านระบบออนไลน์ การตรวจเอชไอวีด้วยตนเองแบบออนไลน์จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยงสูง โดยทำให้พวกเขาสามารถตรวจเอชไอวีด้วยตัวเองที่บ้าน ด้วยขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน และใช้เวลาไม่นาน และที่สำคัญคือไม่ต้องออกไปตรวจข้างนอก เพื่อเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับผู้มีความเสี่ยง สู่การบรรลุเป้าหมาย UNAIDS 90-90-90

การเผยแพร่ผลงาน:
•   Kongjareon, Y., Samoh, N., Lim, S. H., Peerawaranun, P., Jonas, K. J., & Guadamuz, T. E. (2020). Group sex, suicidality and online partners: implications for HIV and suicide prevention: a short report. AIDS care, 32(8), 954-958. DOI:10.1080/09540121.2020.1734174
•   Samoh, N., Peerawaranun, P., Jonas, K. J., Lim, S. H., Wickersham, J. A., & Guadamuz, T. E. (2021). Willingness to Use HIV Self-Testing With Online Supervision Among App-Using Young Men Who Have Sex With Men in Bangkok. Sexually Transmitted Diseases, 48(3), e41-44. DOI: 10.1097/OLQ.0000000000001271

การติดต่อ:
รศ. ดร.โธมัส กวาดามูซ
08 6084 4154
tguadamu@hotmail.com