ผลประโยชน์ร่วมของสวนดาดฟ้าบำรุงรักษาต่ำ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
October 24, 2019
งานวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรท้องถิ่นในการจัดการศัตรูพืช
October 24, 2019

การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี

ผู้วิจัย:

รศ. ดร.สุระ พัฒนเกียรติ (หัวหน้าโครงการ)
ผศ. ดร.ธรรมรัตน์ พุทธไทย (ผู้ร่วมวิจัย)
อุทัยวรรณ ผิวพรรณ (ผู้ร่วมวิจัย)

การศึกษาวิจัยนี้ ได้ทำการสำรวจพื้นที่สีเขียวในวัดป่า โดยทำการวางแปลงชั่วคราว เพื่อศึกษาสังคมพืชในพื้นที่วัดป่า ขนาด 20×50 เมตร จำนวน 14 แปลง (13 วัด) สามารถจำแนกสังคมพืช ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ป่าดิบแล้ง และป่าเต็งรัง โดยแสดงรายชื่อวัด พรรณไม้เด่น และดัชนีความหลากหลายของ Shannon – Wiener ดังตารางที่ 1

นอกจากนั้น ทำการประเมินสถานภาพของพืชที่อยู่ในพื้นที่สีเขียวของวัดป่า โดยใช้หลักเกณฑ์ของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN พบว่ามีพรรณไม้ที่อยู่ในบัญชีแดงของสหภาพเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN Red List จำนวน 30 ชนิด จากพรรณไม้ทั้งหมด 171 ชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Dipterocarpaceae และ Fabaceae สามารถแบ่งออกได้ตามระดับความเสี่ยง คือ ใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง (Critically Endangered; CR) ใกล้สูญพันธุ์ (Endangered; EN) มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ (Vulnerable; VU) ใกล้ถูกคุกคาม (Near Threatened; NT) และ มีความเสี่ยงน้อย (Least Concerned; LC) โดยตารางที่ 2 แสดงสถานภาพของพันธุ์พืชในระดับ CR ถึง VU

การติดต่อ:
รศ. ดร.สุระ พัฒนเกียรติ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
0 2441 5000 ต่อ 1221 หรือ 3344
sura.pat@mahidol.ac.th

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก "ยอมรับ" หรือสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save