ประสิทธิภาพโรงอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบเรือนกระจก สำหรับการอบแห้งผักตบชวา (Eichhornia crassipes)
October 24, 2019
การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
October 24, 2019

ผลประโยชน์ร่วมของสวนดาดฟ้าบำรุงรักษาต่ำ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ผลประโยชน์ร่วมของสวนดาดฟ้าบำรุงรักษาต่ำ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

วัสดุพืชพรรณ สำหรับสวนดาดฟ้าบำรุงรักษาต่ำ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์

ผลงานวิจัย:

ผลประโยชน์ร่วมของสวนดาดฟ้าบำรุงรักษาต่ำ เพื่อการอนุรักษ์พลังงาน และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

ผู้วิจัย:

อ. ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ
ผศ. ดร.กันต์ ปานประยูร

สวนดาดฟ้าแบบบำรุงรักษาต่ำ เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อการอนุรักษ์พลังงานของอาคารขนาดใหญ่ แต่ฐานข้อมูลประสิทธิภาพเชิงความร้อนของชนิดพืชพรรณ เพื่อใช้เป็นค่าอ้างอิงสำหรับการออกแบบอาคาร หรือปรับปรุงค่าการอนุรักษ์พลังงานจากการลดการใช้ไฟฟ้า และลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ยังมีไม่มากนัก

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบประสิทธิภาพการลดความร้อนเข้าสู่อาคารจากดาดฟ้า ของพืชพรรณที่มีคุณสมบัติเจริญเติบโตได้ดีบนสภาพดาดฟ้าที่มีอากาศร้อน จำนวน 30 ชนิด จากแหล่งขายต้นไม้ และตามธรรมชาติบริเวณภูเขาหินปูน ดำเนินการทดลอง 4 รูปแบบ คือ 1) ดาดฟ้าที่ปลูกพืช 2) ดาดฟ้าที่มีวัสดุปลูกเพียงอย่างเดียว 3) ดาดฟ้าที่ปูแผ่นใยสังเคราะห์และแผ่นระบายน้ำ และ 4) ดาดฟ้าพื้นคอนกรีตเปลือย (ชุดการทดลองควบคุม)

ผลการทดลอง พบว่าค่าความแตกต่างของอุณหภูมิของพื้นดาดฟ้าที่ปลูกพืชกับไม่ปลูกพืช มีค่าเฉลี่ยต่ำกว่า 2.76 – 12.23 องศาเซลเซียส ซึ่งมีประสิทธิภาพลดความร้อนที่ถ่ายเทเข้าสู่อาคาร ร้อยละ 20.98 ถึง 83.73 สามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าจากการลดภาระของเครื่องปรับอากาศ 0.1997 กิโลวัตต์ชั่วโมงต่อตารางเมตรต่อวัน และให้ผลตอบแทนการประหยัดไฟฟ้าคิดเป็นเงิน 0.69 บาทต่อตารางเมตรต่อวัน

สำหรับการดูดกลับคาร์บอนไดออกไซด์ของสวนดาดฟ้า มีค่าระหว่าง 0.04 – 3.01 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ต่อตารางเมตร เมื่อรวมกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทางอ้อมจากการลดการใช้ไฟฟ้า สวนดาดฟ้าแบบบำรุงรักษาต่ ำสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกรวมต่ำสุดระหว่าง 5.19 – 28.46 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อตารางเมตรต่อปี โดยพรรณไม้ที่เจริญเติบโตได้ดี อัตรารอดชีวิตสูง และดูแลรักษาง่าย เหมาะสมสำหรับการจัดสวนดาดฟ้ามากที่สุด 5 ชนิดแรก ได้แก่ จันทร์แดง (Dracaena cochinchinensis) แคสันติสุข (Santisukia kerrii) จันทร์หนู (Dracaera Kawcesakii) โกสน (Codiaeum variegatum (L.)) และฟ้าประดิษฐ์ (Convolvulus mauritianus Boiss) ซึ่งพืชพรรณสามชนิดแรกมีถิ่นกำหนดจากแหล่งธรรมชาติภูเขาหินปูน

โดยสรุป อุณหภูมิของพื้นดาดฟ้าอาคารที่ปลูกพืช มีค่าต่ำกว่าพื้นอาคารคอนกรีตเปลือยอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม พบความผันแปรของประสิทธิภาพของชนิดพืชพรรณ ตามลักษณะทางสัณฐานวิทยา ได้แก่ พื้นที่ใบ รูปทรง ทรงพุ่ม ช่องว่างภายในเรือนยอด ที่มีผลต่อการเป็นฉนวน เพื่อดูดซับความร้อนของต้นไม้ และการลดความร้อนจากการคายระเหยน้ำของพืช

การติดต่อ:
อาจารย์ ดร.บุญลือ คะเชนทร์ชาติ
คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
0 2441 5000 ต่อ 1219
boonlue.kac@mahidol.ac.th

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก "ยอมรับ" หรือสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save