การอนุรักษ์พื้นที่สีเขียวในวัดป่า กรณีศึกษา จังหวัดอุบลราชธานี
October 24, 2019
ความผันแปรของลมมรสุมฤดูร้อนในทวีปเอเชียสมัยโฮโลซีน การศึกษาเพื่อสังเคราะห์ข้อมูลที่บันทึกในหินงอกและวงปีไม้จากประเทศไทยและจีน
December 26, 2019

งานวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรท้องถิ่นในการจัดการศัตรูพืช

งานวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรท้องถิ่นในการจัดการศัตรูพืช

โครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการวิจัย:

โครงการวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรท้องถิ่นในการจัดการศัตรูพืช

ผลงานวิจัย:

งานวิจัยผลิตภัณฑ์ธรรมชาติจากสมุนไพรท้องถิ่นในการจัดการศัตรูพืช

ผู้วิจัย:

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์สิทธิ์ นพเสถียร และคณะ

ในงานวิจัยนี้ มุ่งเน้นในการวิจัย เพื่อค้นหาสารที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพจากพืชสมุนไพรท้องถิ่น ของที่ตั้งโครงการจัดตั้งวิทยาเขตนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืช เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม มีการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรจำนวนมาก แต่พบว่ามีการระบาดของศัตรูทางการเกษตรหลายชนิด ในกลุ่มทีมงานวิจัยได้เลือกศึกษากลุ่มของหนอนกระทู้ (Spodoptera sp.) ที่มีรายงานการระบาดอย่างมากในจังหวัดนครสวรรค์ คือ หนอนกระทู้หอม (Spodoptera exigua Hübner) หนอนกระทู้ผัก (Spodoptera litura) และหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Spodoptera frugiperda)

ชนิดแมลงดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายการเพาะปลูก เนื่องจากไปบริโภคพืชเกษตร โดยในงานวิจัยนี้ได้สกัดสารสมุนไพร โดยใช้สมุนไพรที่มีในท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ยกตัวอย่างเช่น ต้นแจง (Maerue siamensis) ตันเถาวัลย์กรด (Combretum tetralophum Clarke) เป็นต้น

ตัวอย่างพืชนำมาทำให้บริสุทธิ์ จากนั้น จึงนำมาทดสอบโดยวิธีวิธียับยั้งการกิน (Antifeedant Assay) และวิธีรับสัมผัสทางด้านบน (Topical Application Method) และวิเคราะห์อัตราการตายเฉียบพลันในรูปแบบของค่า LD50 (Median Lethal Dose) นอกจากนี้ วิเคราะห์อัตราการตาย และนำมาทดสอบระบบเอนไซม์ทำลายพิษ เอนไซม์ที่มีผลต่อระบบประสาท เพื่อประเมินแนวโน้มการต้านทานต่อการต่อสารกำจัดศัตรูพืช

การเผยแพร่ผลงาน:
•   Nobsathian S, Bullangpoti V, Kumrungsee N, Wongsa N, Ruttanakum D. Larvicidal effect of compounds isolated from Maerua siamensis (Capparidaceae) against Aedes aegypti (Diptera: Culicidae) larvae. Chem Biol Tech Agirc 2018;5(8):1–7.
•   Wiwattanawanichakun P, Poonsri W, Yooboon T, Piyasaengthong N, Bullangpoti V, Ratwatthananon A, Pluempanupat W, and Nobsathian S. The Possibility of Using Isolated Alkaloid Compounds and Crude Extracts of Piper retrofractum (Piperaceae) as Larvicidal Control Agents for Culex quinquefasciatus (Diptera: Culicidae) Larvae. J med entomol. 2018; 55(5), 1231-1236.

การติดต่อ:
วิชาการและหลักสูตร มหาวิทยาลัยมหิดล นครสวรรค์
402/1 หมู่ 5 ตำบลเขาทอง อำเภอพยุหะคีรี
จังหวัดนครสวรรค์ 60130

08 6445 6406, 09 9740 8132
saksit.nob@mahidol.ac.th

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก "ยอมรับ" หรือสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save