ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายภาวะแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในคนไทย
July 24, 2018
The Model of Circulating Immune Complexes and Interleukin – 6 Improves the Prediction of Disease Activity in Systemic Lupus Erythematosus
July 26, 2018

Meta – analysis of Pinning in Supracondylar Fracture of the Humerus in Children

Meta – analysis of Pinning in Supracondylar Fracture of the Humerus in Children

ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

Meta – analysis of Pinning in Supracondylar Fracture of the Humerus in Children

ผู้วิจัย :

ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
ชนิกา อังสนันท์สุข
ศศิวิมล รัตนศิริ
John Attia
ธีระ วรธนารัตน์
อัมรินทร์ ทักขิญเสถียร

วัตถุประสงค์ : เพื่อเปรียบเทียบผลการรักษาด้วย Lateral Pinning กับ Cross Pinnings ในกระดูกข้อศอกหักในเด็กชนิด Supracondylar ของกระดูก Humerus

แหล่งข้อมูล : The Cochrane Library, MEDLINE, CINAHL, วารสารเฉพาะทางออร์โธปิดิกส์ บทคัดย่อ/บทความจากการประชุมวิชาการ และเอกสารอ้างอิงจากผลงานวิจัยที่ค้นหาจนถึงเดือนกันยายน 2550

การคัดเลือกการศึกษา : การศึกษาชนิด Randomized Controlled Trials และ Cohort ทั้งหมดที่มีการเปรียบเทียบผลการรักษา ในแง่การสูญเสียการยึดตรึง เส้นประสาท Ulna บาดเจ็บจากการผ่าตัด และ Flynn Criteria ระหว่างการ Cross และ Lateral Pinnings ได้รับการระบุ

การสกัดข้อมูล : ผู้วิจัยสองท่านประเมินคุณภาพระเบียบวิธีวิจัยอย่างอิสระ โดยใช้แบบสกัดข้อมูลมาตรฐาน

การสังเคราะห์ข้อมูล : ทำการประเมิน Heterogeneity ของการศึกษา โดยใช้ Q Test ประเมิน Pooled Relative Risk โดยใช้ Mantel – Haenszel Method รวบรวมการศึกษาจำนวน 1829 เรื่อง ที่มีกระดูกข้อศอกหักชนิด Supracondylar จำนวน 1615 ศอก (เด็ก 837 และ 778 คน ที่ได้รับการยึดตรึงด้วย Cross และ Lateral Pinning ตามลำดับ) อายุเฉลี่ย 6.1 + 0.9 ปี ความเสี่ยงต่อการเกิดเส้นประสาท Ulna บาดเจ็บ 4.3 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นร้อยละ 95, 2.1 – 9.1) ใน Cross Pinning สูงกว่า Lateral Pinning ไม่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญของการสูญเสียการยึดตรึง ภาวะผิดรูปภายหลัง หรือ Flynn Criteria ระหว่างการยึดตรึงทั้งสองชนิด

สรุป : Lateral Pinning เป็นทางเลือกที่เหมาะสมกว่าการยึดตรึงด้วย Cross Pinning ในการรักษากระดูกข้อศอกหักในเด็กชนิด Supracondylar บริเวณกระดูก Humerus เนื่องจากมีผลลดความเสี่ยงของเส้นประสาท Ulna บาดเจ็บ

การนำไปใช้ประโยชน์ : 44 Citations included Standard Textbook

รางวัลที่ได้รับ : Henry Bensahel Award, SICOT Meeting 2009

การเผยแพร่ผลงาน : Journal Orthopaedic Trauma 2012; 26:48 – 53.

การติดต่อ :
รศ.ดร.พญ.ภัทรวัณย์ วรธนารัตน์
ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล