The Model of Circulating Immune Complexes and Interleukin – 6 Improves the Prediction of Disease Activity in Systemic Lupus Erythematosus
หน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยา และโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
The Model of Circulating Immune Complexes and Interleukin – 6 Improves the Prediction of Disease Activity in Systemic Lupus Erythematosus
หน่วยโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยา และโรคข้อ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานวิจัย :
The Model of Circulating Immune Complexes and Interleukin – 6 Improves the Prediction of Disease Activity in Systemic Lupus Erythematosus
ผู้วิจัย :
นพ.โชคชัย ธนาเดชสุนทร
อ.พญ.พิณทิพย์ งามจรรยาภรณ์
นายชวชล เศรษฐอุดม
Dr.Kenneth Hodge
นิสรา แสงปิยะ
อ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล
โรคแอสแอลอี เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองที่มีการผลิตแอนติบอดี้ต่อต้านเนื้อเยื่อตนเอง และเกิดการสร้างและสะสมของ Immune Complex และทำให้เกิดการอักเสบตามมา การติดตามความรุนแรงของโรคแอสแอลอีโดยวิธีมาตรฐาน โดยการใช้ Anti – dsDNA และ Complements (C3 และ C4) นั้น ไม่ได้สัมพันธ์กับความรุนแรงของโรคแอสแอลอีเสมอไป ซึ่งสาเหตุอาจเกิดจากความหลากหลายของอาการแสดง และระดับความรุนแรงของโรคในผู้ป่วยโรคแอสแอลอี ดังนั้นการค้นหาตัวชี้วัดมีความไวและจำเพาะต่อโรค ที่สามารถพยากรณ์ความรุนแรงของโรคแอสแอลอีได้จึงมีความสำคัญ
การศึกษานี้มีจุดประสงค์ที่จะศึกษาว่า Circulating Immune Complex (CIC) และ Interleukin – 6 (IL – 6) นั้น จะสามารถพยากรณ์ความรุนแรงของโรคแอสแอลอีได้หรือไม่ การศึกษานี้มีผู้ป่วยโรคแอสแอลอีจำนวน 91 คน เข้าร่วมการศึกษานี้ และมีการประเมินความรุนแรงของโรค โดยใช้ SLEDAI – 2K และ Modified SLEDAI – 2K และวัดระดับของ Anti – dsDNA, C3, C4, ESR, IL – 6 และ CIC โดยพบว่า IL – 6 และ CIC เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางคลินิกในผู้ป่วยโรคแอสแอลอีที่มีอาการกำเริบ การใช้ Biomarkers หลายตัวรวมกัน จะเพิ่มความสามารถในการพยากรณ์ความเสี่ยงต่อการมีโรคแอสแอลอีกำเริบสูงกว่าการใช้ Biomarker ตัวใดตัวหนึ่ง การใช้ IL – 6 ร่วมกับ CIC ให้ค่า OR เท่ากับ 7.27 (95% CI (1.99 – 26.63), p = 0.003) ในขณะที่ใช้ Complement หรือ dsDNA ให้ค่า OR เท่ากับ 3.14 (95% CI (1.16 – 8.48), p = 0.024) ในการคาดการณ์อาการกำเริบของโรคแอสแอลอี ดังนั้นการใช้ CIC และ IL – 6 ร่วมกัน สามารถนำมาพยากรณ์ความรุนแรงของโรคแอสแอลอีได้ดีมากกว่าการใช้ Biomarker ที่มีใช้กันอยู่ทั่วไปทางคลินิก ซึ่งจะสามารถทำให้แพทย์ผู้ดูแลให้การรักษาโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การนำไปใช้ประโยชน์ : การนำไปใช้เชิงสาธารณะ (การทดสอบ CIC ได้นำมาใช้ในโรงพยาบาลรามาธิบดี ในการดูแลผู้ป่วยโรคแอสแอลอี)
การเผยแพร่ผลงาน : Scientific Reports, Sci Rep. 2018 Feb 8; 8(1):2620.
DOI : https://doi.org/10.1038/s41598-018-20947-4
การติดต่อ :
อ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
prapaporn.pis@mahidol.ac.th
นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้
Allow All