การใช้แบบจําลองทางคณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ เพื่อการประยุกต์ในเกษตรกรรมฟาร์มปศุสัตว์
July 13, 2018
Meta – analysis of Pinning in Supracondylar Fracture of the Humerus in Children
July 26, 2018

ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายภาวะแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในคนไทย

ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายภาวะแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในคนไทย

อนุสาขาโรคภูมิแพ้ อิมมูโนวิทยาและโรคข้อ ภาควิขาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

ลักษณะทางคลินิกและปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายภาวะแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ในคนไทย

ผู้วิจัย :

พญ.พรทิพย์ อินทรพิบูลย์
พญ.วรรณดา ไล้สวน
พญ.ทิชา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์

ความเป็นมา : ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์เป็นสาเหตุการแพ้ยาที่พบได้บ่อย โดยมากมีลักษณะเป็นการแพ้ข้ามกลุ่มกัน ซึ่งมีลักษณะอาการแตกต่างกันตามเชื้อชาติ ในการวินิจฉัยการแพ้ยากลุ่มนี้มักต้องอาศัยการทดสอบโดยการให้ยากลับซ้ำ ซึ่งทำได้ยากเนื่องจากแพทย์เฉพาะทางด้านภูมิแพ้มีจำนวนจำกัด การมีปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายการแพ้ยากลุ่มนี้ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ทั่วไปในการเลือกใช้ยากลุ่มนี้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาลักษณะทางคลินิกของอาการแพ้ยา และศึกษาปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายภาวะแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

วิธี : เป็นการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่สงสัยภาวะแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ ที่มาปรึกษาที่คิลินิกโรคภูมิแพ้และอิมมูโนโลยี่ ณ ภาควิชาอายุรศาสตร์ตั้งแต่มกราคม พ.ศ. 2555 – ธันวาคม พ.ศ. 2559 จำนวนทั้งสิ้น 80 ราย โดยการทบทวนแบบบันทึกอาการแพ้ยาของ European Network for Drug allergy (ENDA) และผลการทดสอบโดยให้ยากลับซ้ำ โดยผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการประเมินอาการภูมิแพ้ โดยให้ตอบแบบสอบถาม และทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง หรือโดยการตรวจระดับแอนติบอดีชนิดอี ที่จำเพาะต่อสารก่อภูมิแพ้ในอากาศ การวินิจฉัยยืนยันการแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ อาศัยประวัติการแพ้ยากลุ่มนี้มากกว่าหรือเท่ากับ 3 ตัวขึ้นไป หรือจากผลทดสอบโดยการให้ยากลับซ้ำเป็นบวก

ผลการศึกษา : จากผู้ป่วยทั้งสิ้น 80 ราย มีผู้ป่วยที่แพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์จำนวน 48 ราย, ผู้ป่วยที่ไม่แพ้ยา 19 ราย (จากการทดสอบโดยการให้ยากลับซ้ำเป็นลบ) และ ที่ทดสอบไม่ครบถ้วนอีก 13 ราย ยาที่เป็นสาเหตุการแพ้ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ Ibuprofen (43.8%) และอาการทางผิวหนังที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ อาการบวม (50%) จากผลการวิเคราะห์แบบ multivariate พบว่าการแพ้ยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์หลาย ๆ ตัว เป็นปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายการแพ้ยากลุ่มนี้ได้ดีที่สุด

สรุป : อาการที่เยื่อเมือกเป็นอาการทางผิวหนังที่พบได้บ่อยที่สุดในการแพ้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ โดยปัจจัยทางคลินิกที่ทำนายการแพ้ยากลุ่มนี้ได้ดีที่สุดคือ ประวัติการแพ้ยากลุ่มนี้หลาย ๆ ตัว

การติดต่อ :
พญ.ทิชา ฤกษ์พัฒนาพิพัฒน์
ภาควิขาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล