5. เรื่องคุณภาพของผลงาน ความหมายของผลงานที่นำเสนอมีคุณภาพในระดับ “ดี” วัดจากอะไร หรือมีหลักเกณฑ์อย่างไร?
30/08/2016

6. ความแตกต่างของ “ชำนาญการ” และ “ชำนาญการพิเศษ”

ตอบ

ตำแหน่งชำนาญการ:  กำหนดให้เฉพาะข้าราชการ ซึ่งบรรจุในคุณวุฒิปริญญาตรี หาก ณ ปัจจุบันอยู่ในระดับปฏิบัติการ (เทียบได้เท่ากับ C3-5) และประสงค์เสนอขอตำแหน่งสูงขึ้น.ให้สามารถยื่นเรื่องเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการ (เทียบเท่า C6 และ C7 ) หลังจากดำรงตำแหน่งระดับชำนาญการมาแล้ว 4 ปี  จึงจะสามารถยื่นเรื่องเสนอขอตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษได้  (เทียบเท่า C8)

ตัวอย่างเช่น ปัจุจบันเป็นข้าราชการ ดำรงตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ระดับปฏิบัติการ …(6 ปี)…….นักรังสีการแพทย์ชำนาญการ………(4 ปี)……..นักรังสีการแพทย์ชำนาญการพิเศษ

สำหรับตำแหน่งชำนาญการพิเศษ :

กรณีที่ 1  # หากปัจจุบัน เป็นข้าราชการ …ต้องได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ระดับชำนาญการ มาแล้ว  4 ปี จึงจะสามารถเสนอขอตำแหน่งระดับชำนาญการพิเศษได้ค่ะ

กรณีที่ 2 # หากปัจจุบันเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย หรือพนักงานมหาวิทยาลัย (ชื่อส่่วนงาน) อยู่ในระดับปฏิบัติการ หากคุณสมบัติครบและประสงค์ยื่นเรื่องเสนอขอตำแหน่งสูงขึ้นได้ โดยได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นระดับชำนาญการพิเศษ ค่ะ

เช่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งนักรังสีการแพทย์ (ระดับปฏิบัติการ) …………….5 ปี ……………….นักรังสีการแพทย์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) ค่ะ

กรณีที่ 3 # หากปัจจุบันเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย ซึ่งเปลี่ยนสถานภาพมาจากข้าราชการ C6 และ C7 ซึ่งมหาวิทยาลัยมีคำสั่งให้เทียบตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการ ……………ซึ่งพนักงานกลุ่มนี้สามารถยื่นเรื่องเสนอขอตำแหน่งเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ ได้เลยค่ะ

เช่น ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง นักรังสีการแพทย์ (ผู้ชำนาญการ) …………….นักรังสีการแพทย์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) ค่ะ
careerpromotion-support-flow

 

ดูรายละเอียดค่าตอบแทนตำแหน่งต่างๆ (เฉพาะ Intranet)