จริยธรรมการวิจัยทางชีวนิรภัย
ด้วยมหาวิทยาลัยมหิดล ตระหนักถึงความสำคัญในการควบคุมดูแลความปลอดภัยของบุคลากรและสิ่งแวดล้อม ในการดำเนินงานวิจัยที่มีการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม (Genetically Modified Organisms) เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค (Infectious Agents) แมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะ (Arthropod Vectors) จึงได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ (Mahidol University Biosafety Subcommittee) ขึ้นมาเพื่อ
• วางระบบและมาตรการตรวจสอบและควบคุมงานวิจัย ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนามที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค รวมทั้งแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะ
• ควบคุมดูแลการสั่งซื้อสิ่งมีชีวิตที่เกิดจากงานวิจัยและ/หรือการผลิตสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรม เชื้อจุลินทรีย์ก่อโรค และแมลงและสัตว์ที่เป็นพาหะ หรือมีแผนที่จะปล่อยสิ่งมีชีวิตดังกล่าวสู่สิ่งแวดล้อม
• พิจารณาให้การรับรองโครงการวิจัย พร้อมทั้งติดตามผลประเมินตรวจสอบการดำเนินงาน
• รายงานผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพให้คณะกรรมการความปลอดภัยมหาวิทยาลัยมหิดลทราบ
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
• ระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการเข้าถึงทรัพยากรชีวภาพและการได้รับผลประโยชน์ตอบแทน จากทรัพยากรชีวภาพ พ.ศ. 2554
• เอกสารที่จำเป็นต่อการดำเนินงาน ตามระเบียบคณะกรรมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพแห่งชาติ
• พระราชบัญญัติ คุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
• พระราชบัญญัติเชื้อโรคและพิษจากสัตว์ พ.ศ. 2558
• พระราชบัญญัติ คุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทย พ.ศ. 2542
BIOSAFETY GUIDELINES
แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางชีวภาพ (Biosafety Guidelines)
จัดทำโดย : คณะอนุกรรมการความปลอดภัยทางชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล