การเพิ่มความเป็นพิษของเจมไซทาบีน ด้วยนาโนพาร์ทิเคิลของกรดไฮยาลูโรนิก ที่เชื่อมต่อกับเคอร์คูมินที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเป้าหมาย CD44 เพื่อรักษามะเร็งตับอ่อน
October 24, 2019
ประเทศไทยปลอดไขมันทรานส์
October 24, 2019

การตอบสนองทางสรีรวิทยาแบบเฉียบพลันขณะออกกำลังกายท่าทางต่าง ๆ ในหญิงตั้งครรภ์

การตอบสนองทางสรีรวิทยาแบบเฉียบพลันขณะออกกำลังกายท่าทางต่าง ๆ ในหญิงตั้งครรภ์

วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

การตอบสนองทางสรีรวิทยาแบบเฉียบพลันขณะออกกำลังกายท่าทางต่าง ๆ ในหญิงตั้งครรภ์

ผู้วิจัย :

รุ่งชัย ชวนไชยะกูล
เมตตา ปิ่นทอง
อมรพันธ์ อัจจิมาพร

วัตถุประสงค์ : เพื่อวัดการตอบสนองทางสรีรวิทยาของร่างกายที่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด (เฉียบพลัน) ในหญิงตั้งครรภ์ ขณะออกกำลังกายในท่านอนหงาย นอนตะแคง นั่ง และยืน

วิธีวิจัย : เป็นการศึกษาแบบตัดขวาง (Cross – Sectional Study) ในหญิงตั้งครรภ์สุขภาพดี จำนวน 42 คน โดยทำการแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ๆ ละ 14 คน ตามระยะเวลาตั้งครรภ์ คือ ไตรมาสที่ 1 2 และ 3 ตามลำดับ ค่าตัวแปรเริ่มต้นจะถูกวัดในท่านั่งพัก เป็นเวลา 30 นาที จากนั้นค่าต่าง ๆ จะถูกวัดขณะที่มีการออกกำลังกายแบบไม่ใช้แรงต้าน ในท่านอนหงาย นอนตะแคง นั่ง และยืน ตามลำดับ ตัวแปรทางสรีรวิทยาที่วัด ประกอบด้วย อัตราการเต้นของหัวใจ (HR) ปริมาณอากาศที่หายใจเข้าออกต่อหนึ่งนาที (VE) อัตราการใช้ก๊าซออกซิเจน (VO2) อัตราการผลิตก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (VCO2) และค่าอัตราส่วนระหว่างอัตราการใช้ออกซิเจน และอัตราการเต้นของหัวใจ (VO2/HR) โดยตัวแปรจะถูกวัดด้วยเครื่องวัดอัตราการใช้พลังงานแบบอ้อม

ผลการวิจัย : เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเริ่มต้น พบว่าหญิงตั้งครรภ์ทุกไตรมาสมีค่า HR, VE, VO2 และ VCO2 เพิ่มขึ้นขณะออกกำลังกายในท่ายืน ค่า VO2 มีค่าเพิ่มขึ้นในขณะออกกำลังกายในท่านั่ง และค่า VO2/HR มีค่าเพิ่มขึ้นในทุก ๆ ท่าของการออกกำลังกาย ยกเว้น ท่ายืน นอกจากนี้ยังพบอีกว่าหญิงตั้งครรภ์กลุ่มไตรมาส 2 และ 3 มีค่า HR ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในขณะออกกำลังกายในท่านอนหงาย

สรุปผล : การศึกษานี้ชี้ให้เห็นว่า การตอบสนองทางสรีรวิทยาแบบเฉียบพลันมีรูปแบบที่คล้ายกัน ในขณะออกกำลังกายด้วยท่าทางต่าง ๆ ในทุก ๆ ไตรมาสของหญิงตั้งครรภ์ ยิ่งกว่านั้น การออกกำลังกายในท่ายืน จะส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาที่กระทำต่อการทำงานของระบบหัวใจและหายใจมากกว่าการออกกำลังกายท่านอนหงาย นอนตะแคง และท่านั่ง

การนำไปใช้ประโยชน์ : ให้ความรู้แก่บุคลากรทางแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับการดูแลหญิงตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลต่าง ๆ เช่น โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า

การเผยแพร่ผลงาน : Physiotherapy Theory and Practice, 18 มีนาคม 2018, หน้า 1 – 7

การติดต่อ :
ผศ.ดร.อมรพันธ์ อัจจิมาพร
วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา มหาวิทยาลัยมหิดล
g4036011@gmail.com

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อทำให้คุณมีประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ โปรดคลิก "ยอมรับ" หรือสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save