การเพิ่มความเป็นพิษของเจมไซทาบีน ด้วยนาโนพาร์ทิเคิลของกรดไฮยาลูโรนิก ที่เชื่อมต่อกับเคอร์คูมินที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเป้าหมาย CD44 เพื่อรักษามะเร็งตับอ่อน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
การเพิ่มความเป็นพิษของเจมไซทาบีน ด้วยนาโนพาร์ทิเคิลของกรดไฮยาลูโรนิก ที่เชื่อมต่อกับเคอร์คูมินที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเป้าหมาย CD44 เพื่อรักษามะเร็งตับอ่อน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานวิจัย :
การเพิ่มความเป็นพิษของเจมไซทาบีน ด้วยนาโนพาร์ทิเคิลของกรดไฮยาลูโรนิก ที่เชื่อมต่อกับเคอร์คูมินที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อเป้าหมาย CD44 เพื่อรักษามะเร็งตับอ่อน
ผู้วิจัย :
ปาริชาติ ธัมมรติ
ผศ.ดร.จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์
ดร.กฤษดา ศักดิ์ชัยศรี
ศ.ดร.วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ
มะเร็งตับอ่อน เป็นมะเร็งที่หนึ่งในมะเร็งที่นำไปสู่การเสียชีวิตได้ เนื่องจากมีการวินิจฉัย และการรักษาที่ไม่ดี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา กรดไฮยาลูโรนิกซึ่งเป็นพอลิเมอร์ที่ได้จากธรรมชาติ สามารถนำมาใช้เป็นลิแกนด์เป้าหมายได้ เนื่องจากมีความสามารถในการจับกับตัวรับ CD44 ซึ่งพบมากบนผิวเซลล์มะเร็งหลายชนิด การศึกษานี้ได้ทำทดสอบการเสริมฤทธิ์ของเจมไซทาบีน และเคอร์คูมิน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษามะเร็ง ในการนี้ อนุภาคนาโนชนิดพอลิเมอร์คอนจูเกตกับยาได้ถูกพัฒนาขึ้น สำหรับนำส่งแบบควบคู่ของเจมไซทาบีน และเคอร์คูมิน เพื่อเพื่มความจำพาะเจาะจง และประสิทธิภาพของเจมไซทาบีนต่อการรักษามะเร็ง เคอร์คูมินที่ติดกับกรดไฮยาลูโรนิกจะถูกเชื่อมต่อกับเจมไซทาบีน ด้วยพันธะที่ไวต่อพีเอชในรูปแบบแตกต่างกัน และสามารถรวมตัวกันเองเป็นอนุภาคนาโน การปลอดปล่อยเจมไซทาบีน และเคอร์คูมินเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วในตัวกลางที่เป็นกรด แต่ปลดปล่อยช้าในตัวกลางสภาวะร่างกาย จากการศึกษาทางพิษวิทยาในเซลล์ PANC-1 พบว่าอนุภาคนาโนเพิ่มความเป็นพิษ โดยมีค่า IC50 ที่ลดลงถึง 2 เท่า เมื่อทียบกับตัวยาอิสระ และประสิทธิภาพลดลงเมื่อตัวรับ CD44 ถูกปิดกั้น ซึ่งบ่งบอกว่าระบบนำส่งมีความจำเพาะต่อตัวรับ CD44 ดังนั้น การพัฒนาระบบนำส่งยาควบคู่แบบมีเป้าหมาย ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพของเจมไซทาบีน ซึ่งอาจก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการบำบัดมะเร็งทางคลินิกในอนาคต
รางวัลที่ได้รับ : รางวัลทุนสนับสนุนการเดินทางของ นางสาวปาริชาติ ธัมมรติ ในการเข้าร่วมงานประชุมวิชาการสมาคมมะเร็งแห่งญี่ปุ่น ครั้งที่ 77 ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน 2561 ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
การเผยแพร่ผลงาน : การนำเสนอในการประชุมวิชาการสมาคมมะเร็งแห่งญี่ปุ่น ครั้งที่ 77 ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน 2561 ณ เมืองโอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น
การติดต่อ :
ศ.ดร.วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้
Allow All