การพัฒนาแบบจำลองเซลลูลาร์ ออโตมาตา เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นข้าว และทำนายผลผลิตข้าว ในแปลงนาที่เพาะปลูกด้วยระบบการเพิ่มผลผลิต สำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
การพัฒนาแบบจำลองเซลลูลาร์ ออโตมาตา เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นข้าว และทำนายผลผลิตข้าว ในแปลงนาที่เพาะปลูกด้วยระบบการเพิ่มผลผลิต สำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานวิจัย:
การพัฒนาแบบจำลองเซลลูลาร์ ออโตมาตา เพื่อศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นข้าว และทำนายผลผลิตข้าว ในแปลงนาที่เพาะปลูกด้วยระบบการเพิ่มผลผลิต สำหรับข้าวขาวดอกมะลิ 105
ผู้วิจัย:
ดร.มนต์อมร ปรีชารัตน์
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากสภาวะโลกร้อนในปัจจุบัน ส่งผลต่อการก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อกิจกรรมทางการเกษตรในหลายมิติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการผลิตในระดับไร่นา ระบบทางการเกษตรที่หลากหลาย ต้องพบกับความเสี่ยงทั้งภายในระบบการผลิต ระบบตลาด และระบบองค์กร ซึ่งความเสี่ยงของระบบทั้งหมดนี้ เนื่องมาจากผลลัพธ์ที่ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย หรือวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตั้งแต่ตอนต้น โดยส่วนใหญ่ปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวมาจากการขาดแคลนทรัพยากรน้ำ และ/หรือการขาดกระบวนการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับกระบวนการผลิตที่เหมาะสม โครงการวิจัยนี้ คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่อาศัยทฤษฎีเซลลูลาร์ ออโตมาตา เป็นฐาน เพื่อใช้ในการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตของต้นข้าวในเชิงพื้นที่ และพยากรณ์ปริมาณผลผลิตข้าวในระดับแปลงนา ที่ทำการเพาะปลูกด้วยระบบการเพิ่มผลผลิต และพัฒนาโปรแกรมให้คำแนะนำการปลูกข้า วด้วยระบบการเพิ่มผลผลิต สำหรับแต่ละพื้นที่เพาะปลูก โดยการศึกษาในเบื้องต้นนี้ จะมุ่งประเด็นไปที่พันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 เป็นหลัก เนื่องจากเป็นพันธุ์ข้าวที่นิยมปลูกกันมากที่สุด และเป็นพันธุ์ข้าวเศรษฐกิจที่มีมูลค่าการส่งออกมากที่สุดของประเทศไทย
การเผยแพร่ผลงาน:
• Precharattana M, Kajonphol T. A stochastic cellular automata model for rice tillering in the system of rice intensification. InJournal of Physics: Conference Series 2018 Jul (Vol. 1053, No. 1, p. 012104). IOP Publishing.
• Kajonphol T, Seetaput N, Precharattana M, Sangsiri C. Correlation and multiple regression model for economic traits of local rice (Oryza sativa L.) in upland rice system. InApplied mechanics and materials 2018 (Vol. 879, pp. 71-77). Trans Tech Publications.
การติดต่อ:
ดร.มนต์อมร ปรีชารัตน์
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
นโยบายความเป็นส่วนตัว เว็บไซต์ของมหาวิทยาลัยมหิดลใช้คุกกี้เพื่อจำแนกผู้ใช้งานแต่ละคน โดยทำหน้าที่หลักคือประมวลทางสถิติ ตลอดจนลักษณะเฉพาะของกลุ่มผู้ใช้บริการนั้นๆ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะนำมาใช้ในการวิเคราะห์รูปแบบพฤติกรรมของผู้ใช้บริการ และมหาวิทยาลัยจะนำผลลัพธ์ดังกล่าวไปใช้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการ และการใช้งานของผู้ใช้บริการให้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามข้อมูลที่ได้และใช้ประมวลผลนั้นจะไม่มีการระบุชื่อ หรือบ่งบอกความเป็นตัวตนของผู้ใช้บริการแต่อย่างใด อีกทั้งไม่มีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ, นามสกุล, อีเมล เป็นต้น และใช้เป็นเพียงข้อมูลทางสถิติเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้มหาวิทยาลัยสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์สำหรับคุณ และช่วยให้สามารถปรับปรุงเว็บไซต์ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้ในเวลาเดียวกัน ทั้งนี้คุณสามารถเลือกตัวเลือกในการใช้งานคุกกี้ได้
Allow All