Ramathibodi Lung Cancer Consortium Model
August 1, 2018
นวัตกรรมการศึกษาที่ใช้ในการทำโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Project)
August 6, 2018

การวิเคราะห์สารสัญลักษณ์ที่มีฤทธิ์ในสารสกัดหยาบชั้นน้ำจากเปลือกมังคุด และการประเมินประสิทธิผลในการต้านปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในผู้ป่วยอัลไซเมอร์

การวิเคราะห์สารสัญลักษณ์ที่มีฤทธิ์ในสารสกัดหยาบชั้นน้ำจากเปลือกมังคุด และการประเมินประสิทธิผลในการต้านปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

การวิเคราะห์สารสัญลักษณ์ที่มีฤทธิ์ในสารสกัดหยาบชั้นน้ำจากเปลือกมังคุด และการประเมินประสิทธิผลในการต้านปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในผู้ป่วยอัลไซเมอร์

ผู้วิจัย :

ร.อ.ณัฐพล ใจสุภา
ปริ่มเฉนียน มุ่งการดี
วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
ศุภโชค มั่งมูล

งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการต้านออกซิเดชั่นของสารสกัดหยาบ ที่ละลายน้ำจากเปลือกมังคุดในผู้ป่วยโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ โดยเปรียบเทียบกับยาหลอกเป็นระยะเวลา 24 สัปดาห์ โดยความร่วมมือกันระหว่างคณะเภสัชศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ในการศึกษา ทีมวิจัยวัดระดับสาร 4-hydroxyl-2-nonenal (HNE) ซึ่งเป็นผลิตผลที่ได้จากปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดไขมัน และปริมาณสาร Reactive Oxygen Species (ROS) จากเลือดครบส่วน และเม็ดเลือดแดงของอาสาสมัคร นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังศึกษาผลการเหนี่ยวนำให้แสดงออกของ mRNA ที่สร้างเอนไซม์แคตาเลส และฮีมออกซิเจเนส 1 ในเซลล์เพาะเลี้ยง SK-N-SH และ HEK 293 รวมถึงการศึกษาการต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดไขมัน การกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในหลอดทดลอง และการวิเคราะห์สารสำคัญในสารสกัดเพื่อใช้เป็นสารสัญลักษณ์

หลังจากที่อาสาสมัครได้รับสารสกัด พบว่าระดับ HNE ในเลือดครบส่วน และเม็ดเลือดแดงลดลงตามระยะเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และระดับ ROS ในเม็ดเลือดแดงในกลุ่มที่ได้รับสารสกัดมีการเพิ่มขึ้นอย่างช้า ๆ เมื่อเทียบกับกลุ่มยาหลอกที่มีการเพิ่มขึ้นเร็วกว่า กลุ่มอาสาสมัครที่ได้รับสารสกัดไม่มีความผิดปกติใด ๆ ที่รุนแรง ซึ่งบ่งบอกถึงความปลอดภัยของสารสกัดที่จะใช้ในคน นอกจากนี้สารสกัดเปลือกมังคุดยังเหนี่ยวนำให้มีการสร้าง mRNA ที่สร้างเอนไซม์แคตาเลส และฮีมออกซิเจเนส 1 ในเซลล์เพาะเลี้ยง เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้บ่มกับสารสกัด และยังมีฤทธิ์ต้านปฏิกิริยาออกซิเดชั่นของกรดไขมัน การกำจัดไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ในหลอดทดลอง สารสัญลักษณ์ที่วิเคราะห์ได้ 2 ชนิด คือ Epicatechin และ Proanthocyanidin Dimers

การนำไปใช้ประโยชน์ : สารสกัดหยาบเปลือกมังคุดที่ละลายน้ำ มีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาเป็นยาที่ได้จากธรรมชาติ เพื่อใช้ในการรักษาโรคความจำเสื่อมอัลไซเมอร์ร่วมกับยาแผนปัจจุบัน

การเผยแพร่ผลงาน :The data obtained from this study were partially published in Journal of Foodbiochemistry.
Nattapon Jaisupa, Primchanien Moongkarndi, Pattamapan Lomarat, Jutima Samer, Vatchara Tunrungtavee, Weerasak Muangpaisan, Supachoke Mangmool. Mangosteen peel extract exhibits cellular antioxidant activity by induction of catalase and heme oxygenase‐1 mRNA expression. Journal of Food Biochemistry 2018.
DOI: https://doi.org/10.1111/jfbc.12511

การติดต่อ :
รศ.ดร.ศุภโชค มั่งมูล
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
supachoke.man@mahidol.ac.th