การวิเคราะห์สารสัญลักษณ์ที่มีฤทธิ์ในสารสกัดหยาบชั้นน้ำจากเปลือกมังคุด และการประเมินประสิทธิผลในการต้านปฎิกิริยาออกซิเดชั่นในผู้ป่วยอัลไซเมอร์
August 6, 2018
Study of Design and Development for Logistics Infrastructure and Integrated Information System and Guidelines of Healthcare Big Data for Thailand Digital Economy Phase II
August 6, 2018

นวัตกรรมการศึกษาที่ใช้ในการทำโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Project)

เพาะพันธุ์ปัญญา : นวัตกรรมการศึกษาที่ใช้ในการทำโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Project)

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

นวัตกรรมการศึกษาที่ใช้ในการทำโครงงานฐานวิจัย (Research – Based Project)

ผู้วิจัย :

ผศ.ดร.ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม
ผศ.ดร.น้ำค้าง ศรีวัฒนาโรทัย
ผศ.ดร.วัชรี เกษพิชัยณรงค์

IL_2561-03-01
IL_2561-03-02

ศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย ในการทำวิจัยเชิงปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบในการจัดการศึกษาเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการสร้าง “กระบวนการคิดอย่างมีระบบ” โดยเฉพาะกระบวนการสร้างความรู้ให้กับตนเองอย่างไม่รู้จบ โดยดำเนินงานร่วมกับโรงเรียนในพื้นที่จังหวัดสมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม และกรุงเทพมหานคร จำนวน 10 โรงเรียน ในการยกระดับการทำโครงงาน (Project) ให้นำไปสู่การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์สร้างความรู้โดยผู้เรียนเอง โดยผู้วิจัยทำหน้าโค้ชครูที่จะเป็นผู้โค้ชนักเรียนออกแบบโครงงานฐานวิจัย (Research Based Project) ด้วยเครื่องมือ 4 ชุด ได้แก่ 1) เครื่องมือ พัฒนาฐานใจ คือ กิจกรรมจิตตปัญญาศึกษา ให้ครูเข้าใจตนเองและจิตวิญญาณความเป็นครู เปลี่ยนบรรยากาศห้องเรียนจากระบบใช้อำนาจมาเป็นระบบความสัมพันธ์แนวราบกับนักเรียน ทำให้เด็กรู้สึกปลอดภัย หลุดจากความกลัว กล้าที่จะคิด พร้อมก้าวเดินและเรียนรู้ไปด้วยกัน 2) เครื่องมือพัฒนากระบวนการคิดเชิงเหตุผล (cause-effect) ซึ่งเป็นผลงานวิจัยของโครงการนี้ ให้ครูสามารถใช้ออกแบบความคิดแบบ backward thinking ในการวิเคราะห์คำตอบของนักเรียน เพื่อประดิษฐ์คำถามใหม่ให้กับนักเรียน เป็นการใช้คำถามแทนการบอกความรู้ ถามเพื่อกระตุ้นให้นักเรียนคิดเชื่อมโยงสิ่งที่เรียนเข้าสู่เป้าหมายการเรียนรู้ที่สูงขึ้น จนร้อง “อ๋อ” ด้วยตนเอง 3) เครื่องมือการทำโครงงานฐานวิจัย คือการทำโครงงานของนักเรียนด้วยกระบวนการวิจัยภายใต้ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบริบทรอบโรงเรียน และ 4) เครื่องมือที่ทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community, PLC) ผ่านระบบ social media ที่ต้องมี feedback อย่างรวดเร็ว การเขียน reflection และทำ After Action Review (AAR) โดยมีพี่เลี้ยงพาทำ และกระตุ้นให้คิดเพื่อประเมินสิ่งที่เกิดขึ้นหรือความเห็นที่ต่างกันอย่างสร้างสรรค์ และให้เกิดการคิดเชิงบวก ที่จะต้องมีข้อสรุปให้เกิดการทำงานต่อไปด้วยตนเองในบริบทของตน

IL_2561-03-03
IL_2561-03-04
IL_2561-03-05

การนำไปใช้ประโยชน์ :
1.) ครูและนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการ มีระบบคิดในวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์ (คิดแบบผลเกิดจากเหตุ) มีทักษะการเรียนรู้และรู้จักสร้างปัญญาเองแบบไม่รู้จบ ซึ่งถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการผลักดันทรัพยากรมนุษย์ให้สามารถเพิ่มขีดความสามารถและศักยภาพต่อไป
2.) การเรียนรู้ผ่านการทำโครงงานฐานวิจัย มีความเป็นรูปธรรมในการทำให้นักเรียนเกิดทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
3.) โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการอย่างน้อย 3 โรงเรียน มีการขยายผลทั้งโรงเรียนภายใต้การให้คำปรึกษาของศูนย์พี่เลี้ยง

รางวัลที่ได้รับ :
ผลงานวิจัยดีเด่นด้านสาธารณะ ประจำปี พ.ศ. 2557 จากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) (21 พฤษภาคม 2558)

การเผยแพร่ผลงาน :
•   ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม (2558). “เพาะพันธุ์ปัญญา…เรียนรู้และเติบโตอย่างช้าๆ กว่าต้นกล้าจะผลิใบ” ใน สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ และคณะ (บรรณาธิการ) “สะท้อนคิดคือเรียน: ความรู้สึกในความงามที่ผลิบาน โครงการเพาะพันธุ์ปัญญาปี 2”. สงขลา: บริษัทนำสินโฆษณาจำกัด. หน้า 21-45.
•   ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม (2557). “พี่เลี้ยง…การเรียนรู้จากประสบการณ์นอกตำรา” ใน สุธีระ ประเสริฐสรรพ์ และคณะ (บรรณาธิการ) “รอยจารึก บนเส้นทางเพาะพันธุ์ปัญญา”. กรุงเทพ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย. หน้า 407-416.
•   ศูนย์พี่เลี้ยงโครงการเพาะพันธุ์ปัญญา มหาวิทยาลัยมหิดล (2559). “ก้าวข้ามสู่ความเปลี่ยนแปลง ของครูเพาะพันธุ์ปัญญา” 65 หน้า.

การติดต่อ :
ผศ.ดร.ปิยะฉัตร จิตต์ธรรม
สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล
  pjittam@gmail.com