ประเด็นคำถามการเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ

23/08/2016

1. การเรียงหัวข้อผลงานทางวิชาการในแบบ ก.พ.อ.03ฯ ในหัวข้อ 4 ผลงานทางวิชาการที่เสนอเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง… ควรเรียงอย่างไรจึงจะถูกต้อง?

ตอบ : สำหรับการเรียงหัวข้อผลงานทางวิชาการนั้น ให้เริ่มจากผลงานที่มีชื่อผู้เสนอขอตำแหน่งเป็นชื่อแรก  ต่อจากนั้นจึงเป็นผลงานที่ผู้เสนอขอตำแหน่งเป็น  corresponding author และตามด้วยผลงานที่ผู้เสนอขอตำแหน่งเป็นชื่อที่ ๒ , ๓ , … ตามลำดับ โดยให้เรียงจากปีปัจจุบันลงไป และไม่คำนึงถึงร้อยละการมีส่วนร่วม และควรเขียนรายละเอียดการอ้างอิงและการเผยแพร่ให้ถูกต้องตามรูปแบบ Vancouver หรือ American Psychological Association และแบบ ก.พ.อ.๐๓ฯ ที่กำหนด ตัวอย่างการเรียงผลงานจากชื่อผู้เสนอขอตำแหน่งเป็นชื่อแรก […]
24/08/2016

2. สำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ข้าราชการ) สามารถใช้ผลงานทางวิชาการรับใช้สังคม และหรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และหรือ บทความทางวิชาการ หรือ ตำรา หรือ หนังสือ เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยไม่มีงานวิจัยได้หรือไม่?

ตอบ : ตามเกณฑ์การเสนอขอกำหนดตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ (ข้าราชการ) ผู้เสนอขอกำหนดตำแหน่งสามารถเลือกเสนอผลงานทางวิชาการประเภท งานวิจัย  และหรือ ผลงานวิชาการรับใช้สังคม และหรือ ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น และหรือ บทความทางวิชาการ จำนวนอย่างน้อย ๓ เรื่อง และอย่างน้อย ๒ เรื่อง มีคุณภาพในระดับ “ดี”
25/08/2016

3. กรณีการเสนอขอกำหนดตำแหน่ง ผศ./รศ./ศ./ศ.คลินิก สามารถนำผลงานทางวิชาการที่เกิดขึ้นก่อนตำแหน่งที่จะเสนอขอมาใช้ได้หรือไม่ เช่น ขอ รศ. นำผลงานที่เกิดขึ้นก่อน ผศ. มายื่นเสนอได้หรือไม่?

ตอบ : สามารถนำมาประกอบการขอตำแหน่งได้ แต่ต้องมีผลงานที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนั้นแล้ว เช่น ขอตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ก็ต้องมีผลงานที่เพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์แล้ว
27/08/2016

4. การลาศึกษา การฝึกอบรม ลาเพิ่มพูนความรู้ทางวิชาการ ลาคลอด สามารถยื่นเรื่องเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการได้หรือไม่?

ตอบ  ผู้ที่เสนอจะเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการ ต้องยื่นเรื่องเสนอขอตำแหน่งทางวิชาการก่อนได้รับอนุมัติให้ลาศึกษา