ทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์”

ในปี 2542 บริษัท ลอรีอัล สำนักงานใหญ่ กรุงปารีส ได้เซ็นสัญญาจับมือกับองค์กรยูเนสโก จัดโครงการรางวัลและทุนวิจัย “For Women In Science” ขึ้น ด้วยวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสนับสนุนและให้เกียรติสตรีแห่งสายงานวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าเธอจะอยู่ในส่วนใดของโลก และในปี 2545 บริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย จำกัด ได้ริเริ่มโครงการดังกล่าวระดับประเทศ ในชื่อ โครงการทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” โดยการสนับสนุนของสำนักเลขาธิการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อ:
1.)   ร่วมรณรงค์สร้างโอกาสให้สตรีมีบทบาท และได้รับการยอมรับในสังคมมากขึ้น
2.)   ร่วมประชาสัมพันธ์ความสามารถของสตรี ที่เป็นกำลังสำคัญเบื้องหลังความสำเร็จของงานวิจัย และวิวัฒนาการสำคัญต่าง ๆ อันมีผลต่อคุณภาพชีวิตของมวลมนุษย์ ให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
3.)   ร่วมสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์และนักวิจัยสตรี มีทุนทรัพย์และความพร้อมในการทำงานวิจัย อันจะเป็นประโยชน์แก่สังคมโดยรวมมากขึ้น
4.)   ร่วมชูความสำคัญของงานวิทยาศาสตร์ และสนับสนุนให้สตรีสนใจสายงานวิทยาศาสตร์มากขึ้น
5.)   เฟ้นหาโครงการงานวิจัยที่น่าสนใจ และสมควรได้รับการนำเสนอ เพื่อชิงทุนวิจัย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ระดับสากลต่อไป
6.)   ถ่ายทอดเจตนารมณ์ของบริษัท ลอรีอัล ประเทศไทย ในความมุ่งมั่นที่จะร่วมสร้างโอกาส และส่งเสริมคุณภาพของสังคมไทย ให้สมดุล สวยงาม และน่าอยู่มากขึ้น

ทั้งนี้ ถึง ณ ปัจจุบัน มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับ ทุนวิจัย ลอรีอัล ประเทศไทย “เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์” ดังนี้

ปี พ.ศ. 2546

ผศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์

รศ.ดร.ศันสนีย์ ไชยโรจน์
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
โครงการวิจัยเพื่อศึกษาวิทยาภูมิคุ้มกัน เกี่ยวกับการติดเชื้อราในผู้ป่วยโรคเอดส์

ศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น

ผศ.ดร.พิมพ์ใจ ใจเย็น
ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์
โครงการวิจัยเพื่อศึกษากลไกการทำงานของเอนไซม์ เพื่อกำจัดสารพิษตกค้างในสิ่งแวดล้อม

ปี พ.ศ. 2548

นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย

นางวรรณสิกา เกียรติปฐมชัย
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์
งานวิจัยเพื่อศึกษาหาพาหะของเชื้อไวรัส Taura syndrome (TSV) ด้วยเทคนิค RT – PCR และการพัฒนาวิธีการเก็บเลือดกุ้งบนกระดาษกรอง เพื่อตรวจหาเชื้อไวรัส TSV สาเหตุของโรคในกุ้งขาว

รศ.ดร.พรทิพย์ เพ็ชรมิตร

รศ.ดร.พรทิพย์ เพ็ชรมิตร
ภาควิชาพยาธิโปรโตซัว คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
งานวิจัยเพื่อศึกษาเอนไซม์ที่สำคัญในขบวนการลอกแบบดีเอ็นเอ และการซ่อมแซมดีเอ็นเอของเชื้อมาลาเรีย ชนิดฟัลซิปารั่ม เพื่อเป็นเป้าหมายของยารักษาโรคมาลาเรีย

ปี พ.ศ. 2550

ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ

ดร.กัลยาณ์ แดงติ๊บ
หน่วยวิจัยเพื่อความเป็นเลิศเทคโนโลยีชีวภาพกุ้ง คณะวิทยาศาสตร์
งานวิจัยกลไกการก่อโรคของไวรัสดวงขาวในกุ้ง เพื่อลดอัตราการตายของกุ้ง
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ผศ.พญ.วัลยา จงเจริญประเสริฐ

ผศ.พญ.วัลยา จงเจริญประเสริฐ
ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
การศึกษาหากลไกทางอณูพันธุศาสตร์ของการเกิดโรคเบาหวาน ซึ่งเป็นการศึกษาหาปัจจัยทางพันธุกรรมที่สัมพันธ์กับการเกิดโรคในผู้ป่วยเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในคน
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ศ.ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์

ศ.ดร.ประมวล ตั้งบริบูรณ์รัตน์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ผลการศึกษาน้ำยางธรรมชาติที่ได้มาจากต้นยางพารา ที่ผ่านกระบวนสังเคราะห์ ทำให้คุณสมบัติความคงทนของยางธรรมชาติดีขึ้น
(สาขาวัสดุศาสตร์)

ปี พ.ศ. 2553

ผศ.ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์
ภาควิชาอายุรศาสตร์เขตร้อน คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
ผลงานวิจัย เรื่อง “ระบาดวิทยาโมเลกุลของการดื้อยาในเชื้อมาลาเรีย โดยเฉพาะเชื้อพลาสโมเดียม ไวแวกซ์”
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ปี พ.ศ. 2554

ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์

ดร.พญ.ณฐินี จินาวัฒน์
สำนักงานวิจัย วิชาการและนวัตกรรม คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
งานวิจัย เรื่อง “การศึกษาความเกี่ยวข้องของปริมาณสารพันธุกรรมดีเอ็นเอ (DNA) บนโครโมโซม กับโรคทางพันธุกรรม โดยใช้ Genome – Wide SNP Array”
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ปี พ.ศ. 2555

ผศ.ดร.อทิตยา ศิริภิญญานนท์

ผศ.ดร.อทิตยา ศิริภิญญานนท์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
งานวิจัย เรื่อง “การศึกษาการกระจายขนาดของอนุภาคนาโนเชิงวิศวกรรมในตัวอย่างอาหาร ผลิตภัณฑ์อุปโภคบริโภค และสิ่งแวดล้อม”
(สาขาเคมี)

ปี พ.ศ. 2556

ผศ.ทพญ.ดร.ศรัณยา ตันเจริญ

ผศ.ดร.ทพญ.ศรัณยา ตันเจริญ
ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะทันตแพทยศาสตร์
งานวิจัย เรื่อง “การผลิตโมโนโคลนอล แอนติบอดีที่จำเพาะกับเปปไทต์ขนาดเล็ก สำหรับรักษาโรคปริทนต์อักเสบชนิดรุกราม”
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ปี พ.ศ. 2558

รศ.ดร.ศิวพร มีจู สมิธ

รศ.ดร.ศิวพร มีจู สมิธ
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ผลงานวิจัย “การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมวัสดุ เพื่อสิ่งแวดล้อม”
(สาขาวัสดุศาสตร์)

ผศ.ดร.ภัทรพร คิม

ผศ.ดร.ภัทรพร คิม
ภาควิชาวิศวกรรมเคมี คณะวิศวกรรมศาสตร์
ผลงานวิจัย “การผลิตก๊าซธรรมชาติสังเคราะห์จากไอน้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ ด้วยเซลล์อิเล็กโตรไลซิสแบบออกไซด์ของแข็ง”
(สาขาวิทยาศาสตร์เคมี)

ผศ.ดร.ดารุณี สู้รักรัมย์

ผศ.ดร.ดารุณี สู้รักรัมย์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ผลงานวิจัย “การสังเคราะห์สารประเภทเซโคลิกแนนที่สกัดได้จากพืชสมุนไพรที่มีฤทธิ์ทางชีวภาพ”
(สาขาวิทยาศาสตร์เคมี)

ปี พ.ศ. 2559

ดร.ภญ.สุดจิต ล้วนพิชญ์พงศ์

ดร.ภญ.สุดจิต ล้วนพิชญ์พงศ์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผลงานวิจัย เรื่อง “บทบาทของอนุพันธ์ออกซิเจนที่ว่องไวต่อลักษณะความเป็นเซลล์มะเร็งต้นกำเนิด และการดื้อต่อยาเคมีบำบัดในมะเร็งต่อมน้ำเหลือง”
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ปี พ.ศ. 2560

MARISA-PONPUAK

ผศ.ดร.มาริสา พลพวก
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
ผลงานวิจัย เรื่อง “การศึกษากระบวนการออโตฟาจี ซึ่งเป็นกลไกทางภูมิคุ้มกันระดับเซลล์ เพื่อค้นหาเป้าหมายของยาตัวใหม่ที่สามารถใช้ในการฆ่าเชื้อมาลาเรีย และวัณโรค”
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ปี พ.ศ. 2561

ดร.จันทร์เจ้า ล้อทองพานิชย์
ศูนย์ความเป็นเลิศทางงานวิจัยสเต็มเซลล์ของศิริราช คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผลงานวิจัย เรื่อง “การเพิ่มอัตราการผลิตเกล็ดเลือดจากเซลล์ต้นกำเนิดเพื่อประโยชน์ทางการรักษาผู้ป่วยเกล็ดเลือดพร่อง”
(สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพ)

ปี พ.ศ. 2562

รศ. ดร.พนิดา สุรวัฒนาวงศ์
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ผลงานวิจัย “การศึกษาการทำงานร่วมกันของโลหะและกรดลิวอิส เพื่อการสลายพันธะคาร์บอนออกซิเจนของแอริลอีเทอร์ ด้วยวิธีคำนวณทางเคมีควอนตัม”

รศ. ดร.ศิริลตา ยศแผ่น
ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์
ผลงานวิจัย “การออกแบบกระบวนการสังเคราะห์สารอินทรีย์วิธีใหม่ ด้วยแนวคิด C-H functionalization สู่การพัฒนากระบวนการสังเคราะห์ทางเลือกใหม่ที่ยั่งยืน”

ปี พ.ศ. 2563

รศ. พญ.อรุณี ธิติธัญญานนท์
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์
โครงการวิจัย เพื่อพัฒนาวิธีการวินิจฉัย วิธีการรักษาโรค วัคซีนของโรค COVID-19 และการติดตามการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางพันธุกรรม และระบาดวิทยา ที่เกิดจากเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

(ทุนพิเศษ ลอรีอัล ประเทศไทย เพื่อสตรีในงานวิทยาศาสตร์ สนับสนุนงานวิจัยโควิด-19)