รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น

รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น เป็นรางวัลที่มุ่งหวังเชิดชูเกียรตินักเทคโนโลยีไทยที่มีผลงานดีเด่น ไม่ว่าจะเป็นนักเทคโนโลยีในภาครัฐ หรือภาคเอกชน เพื่อสร้างแรงจูงใจให้นักวิชาการ และนักเทคโนโลยีที่มีความสามารถจำนวนมากในประเทศไทย ได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีของไทยให้สามารถแข่งขันในเชิงอุตสาหกรรม และเชิงพาณิชย์ได้อย่างรวดเร็ว

ทั้งนี้ ถึง ณ ปัจจุบัน มีบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับ “รางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น” ของมูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ ดังนี้

ปี พ.ศ. 2546

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี พ.ศ. 2546 [ประเภทบุคคล]
เทคโนโลยีที่ได้รับรางวัล : การพัฒนาอุตสาหกรรมชุดตรวจวินิจฉัยจากนวัตกรรมเทคโนโลยีชีวภาพของไทย (HcV, HbV, HIV เป็นต้น)


ศ.ดร.วิชัย บุญแสง
คณะวิทยาศาสตร์


ศ.ดร.สกล พันธุ์ยิ้ม
คณะวิทยาศาสตร์


ศ.ดร.บุญเสริม วิทยชำนาญกุล
คณะวิทยาศาสตร์


ศ.ดร.ทิมโมที เฟลเกล
คณะวิทยาศาสตร์

กลุ่มพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรมผลิตกุ้งกุลาดำ
นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี พ.ศ. 2546 [ประเภทกลุ่มนักเทคโนโลยี]
เทคโนโลยีที่ได้รับรางวัล : ใช้เทคโนโลยีดีเอ็นเอ (PCR) ในการวินิจฉัยโรคไวรัสชนิดต่าง ๆ การผลิตและพัฒนาสายพันธุ์กุ้งกุลาดำ
(ผลงานร่วมกับสถาบันอื่น)

ปี พ.ศ. 2549

รศ.ดร.ไสยวิชญ์ วรวินิต

รศ.ดร.ไสยวิชญ์ วรวินิต
คณะวิทยาศาสตร์
นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี พ.ศ. 2549 [ประเภทบุคคล]
เทคโนโลยีที่ได้รับรางวัล : เทคโนโลยีการผลิต Rice Starch, Modified Rice Starch เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมยา การค้นพบแป้งเกาะกลุ่มหลัง Spray Dry เพิ่มคุณสมบัติการไหลของแป้ง

ปี พ.ศ. 2554


ภาพจาก : http://www.si.mahidol.ac.th

รศ.วรรณะ มหากิตติคุณ
ศ.พญ.นวลอนงค์ วิศิษฏสุนทร
ศ.เกียรติคุณ พญ.ฉวีวรรณ บุนนาค
รศ.ดร.พญ.อัญชลี ตั้งตรงจิตร
ดร.นิทัศน์ สุขรุ่ง
ผศ.ดร.ณัฐ มาลัยนวล
นายธีรพงษ์ วางอภัย
นางสาวประภากร นิลสนิท

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี พ.ศ. 2554 [ประเภทกลุ่มนักเทคโนโลยี]
เทคโนโลยีที่ได้รับรางวัล : การพัฒนาวัคซีนสารก่อภูมิแพ้ที่ได้มาตรฐานจากไรฝุ่นของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

ปี พ.ศ. 2559

รศ.ดร.มัลลิกา อิ่มวงศ์
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน
นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี พ.ศ. 2559 [ประเภทบุคคล]
เทคโนโลยีที่ได้รับรางวัล : การพัฒนาการตรวจเชื้อมาเลเรียที่มีความไวสูง (Ultra – Sensitive qPCR) เพื่อค้นหาผู้ที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการของโรค

ปี พ.ศ. 2566


ภาพจาก : promotion-scitec.or.th

ศ. นพ.สุรเดช หงส์อิง รศ. นพ.อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ และคณะ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
นักเทคโนโลยีดีเด่น ปี พ.ศ. 2566 [ประเภทกลุ่ม]
ผลงาน “การพัฒนานวัตกรรมการรักษามะเร็งด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดที่ผ่านการแปลงพันธุกรรมตัวรับแอนติเจนจำเพาะ Chimeric Antigen Receptors T – cell (CAR – T) ด้วยเทคโนโลยีเซลล์และยีนบำบัด”