รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล – บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย
ความเป็นมา
การแพทย์และสาธารณสุขของไทย มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาช้านาน ยิ่งวิทยาการมีความทันสมัยมากขึ้น ความพยายามที่จะป้องกันและพิชิตโรคภัยไข้เจ็บ ก็ยิ่งต้องอาศัยความอุตสาหะวิริยะและการสนับสนุนมากยิ่งขึ้น บุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทยเป็นจำนวนมาก ที่ได้อุทิศตน เสียสละ มีความยึดมั่นในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ ปฏิบัติงานเพื่อเกื้อกูลและยังประโยชน์ต่อสุขภาพอนามัยของเพื่อนร่วมชาติ อย่างจริงจัง ไม่ย่อท้อและสม่ำเสมอ โดยมีภาระงานที่แตกต่างกัน อาทิ การอุทิศตนช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยที่ยากไร้ในทุกท้องถิ่นหรือในพื้นที่ห่างไกล และทุรกันดาร การค้นคว้าเพื่อหารทางบำบัดรักษาและบรรเทาความทุกข์ยากจากความเจ็บป่วยของ เพื่อนมนุษย์ การศึกษาวิจัยเพื่อคิดค้นเทคนิคหรือวิธีอันทันสมัยเพื่อการป้องกัน วินิจฉัยและรักษาโรค เป็นต้น
งานอันยิ่งใหญ่ในมิติต่าง ๆ เหล่านี้ จะยังประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ ย่อมต้องดำเนินการต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และด้วยแรงสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในการผลัก ดันภาระงานเหล่านี้ไปสู่ความสำเร็จ โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกัน คือ สุขภาพอนามัยที่ดีของประชาชนชาวไทยโดยส่วนรวม จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งรางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล – บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย ซึ่งเป็นเจตนารมณ์ร่วมกันของภาครัฐและเอกชน ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีหน้าที่ผลิตบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาสังคมไทยมาเป็นเวลานาน และบริษัท บี บราวน์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่ได้ดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมานานหลายสิบปี ด้วยความมุ่งมั่นร่วมกันให้การสนับสนุนการแพทย์และสาธารณสุขไทย
ทั้งนี้ มีบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุขของไทย ได้รับ “รางวัลมหาวิทยาลัยมหิดล – บี บราวน์ เพื่อการแพทย์และสาธารณสุขไทย” ดังนี้
ปี พ.ศ. 2536
ศาสตราจารย์แพทย์หญิงคุณสุภา ณ นคร และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
1.) การวิจัยเรื่อง โรคธาลัสซีเมีย
2.) การวิจัยเรื่อง Aplastic Anaemia
3.) การวิจัยเรื่อง การปลูกถ่ายไขกระดูก
ศาสตราจารย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
1.) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากสมองแกะ
2.) การฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าที่ทำจากเซลล์เพาะเลี้ยง โดยวิธีการฉีดเข้าชั้นผิวหนัง
3.) ผู้ป่วยที่เสี่ยงชีวิตเนื่องจากโรคพิษสุนัขบ้า เนื่องจากความบกพร่องของเซลล์ NK (Natural Killer Cell)
ปี พ.ศ. 2537
ศาสตราจารย์ชวลิต อ่องจริต และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ โดยการนำหัวใจที่ยังเต้นอยู่ (Beating heart donor) ของบุคคลผู้เสียชีวิตแล้วจากสภาวะสมองตาย มาทำการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะและผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจให้ผู้ป่วยโรคหัวใจระยะสุดท้าย”
ปี พ.ศ. 2538
ศาสตราจารย์ศรชัย หลูอารีย์สุวรรณ และคณะ
คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
1.) การวิจัยเรื่องโรคมามาเรีย
2.) การคิดค้นยารักษาโรคมาลาเรีย
3.) การศึกษาเรื่องงูพิษกัดและการรักษา
ปี พ.ศ. 2539
นายแพทย์บุญยงค์ วงศ์รักมิตร
อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลน่าน
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “สี่ทศวรรษโรงพยาบาลน่าน … ผลงานแห่งความสำเร็จ”
ปี พ.ศ. 2540
นายแพทย์สมหมาย ศรีมหาวงษ์ และคณะ
โรงพยาบาลขอนแก่น
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “โครงการควบคุมและป้องกันอุบัติเหตุ จังหวัดขอนแก่น”
นายแพทย์วิทิต อรรถเวชกุล
ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “โครงการบริหารโรงพยาบาลชุมชนแบบรัฐกึ่งเอกชน ในโรงพยาบาลบ้านแพ้ว”
ปี พ.ศ. 2541
นาวาเอก นายแพทย์ปิโยรส ปรียานนท์ ร.น.
โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรมแพทย์ทหารเรือ
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “โครงการต่อต้านความพิการในชนบท มูลนิธิดวงแก้ว”
ปี พ.ศ. 2542
รองศาสตราจารย์จรัญ มหาทุมะรัตน์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
นายแพทย์ช่อเพียว เตโชฬาร
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
“การผ่าตัดรักษาโรคงวงช้าง โดยวิธีจุฬาเทคนิค”
รองศาสตราจารย์ศรีประสิทธิ์ บุญวิสุทธิ์ และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “การผ่าตัดโรคสมองยื่นบริเวณหว่างตา”
ปี พ.ศ. 2543
ศาสตราจารย์เกียรติคุณร่มไทร สุวรรณิก
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “งานวิจัยด้านคอพอกและโรคขาดสารไอโอดีนในประเทศไทย”
ปี พ.ศ. 2544
ศาสตราจารย์ประกิต วาธีสาทกกิจ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “การรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ในประเทศไทย”
รองศาสตราจารย์เทอดชัย ชีวะเกตุ
มูลนิธิขาเทียมในสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “การประดิษฐ์ชิ้นส่วนขาเทียมด้วยวัสดุในประเทศไทย”
ปี พ.ศ. 2545
ศาสตราจารย์เกียรติคุณสุพร เกิดสว่าง
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ศาสตราจารย์กิตติคุณ นพ.นิกร ดุสิตสิน
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
“The Study of Human Reproduction and Family Planning”
ปี พ.ศ. 2546
นายแพทย์พันธุ์พิษณ์ สาครพันธ์
สถาบันโรคหัวใจ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “การผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจและปอด และการค้นพบวิธีการผ่าตัดแก้ความพิการโรคหัวใจชนิดตัวเขียวแต่กำเนิด”
ศาสตราจารย์ยง ภู่วรวรรณ
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “ปัญหาและการป้องกันไวรัสตับอักเสบในประเทศไทย”
ปี พ.ศ. 2547
ศาสตราจารย์เกียรติคุณภัทรพร อิศรางกูร ณ อยุธยา
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
1.) โรคเลือดออกในทารก
2.) โรคไข้เลือดออก
3.) โรคฮีโมฟีเลีย
4.) โรค Acquired Platelet Dysfunction with Eosinophilia (APDE)
5.) การพัฒนางานในการใช้ส่วนประกอบของโลหิตและผลิตภัณฑ์โลหิตในการรักษาโรค
6.) การป้องกันการแพร่เชื้อเอดส์จากการรับโลหิต
7.) การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเตรียมกาวไฟบรินใช้เองในประเทศไทย และประยุกต์ใช้ทางคลินิกทั่วประเทศ
ปี พ.ศ. 2548
ศาสตราจารย์เกียรติคุณเกษม วัฒนชัย
ทำเนียบองคมนตรี พระราชอุทยานสราญรมย์
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
1.) การพัฒนางานด้านหทัยวิทยาของประเทศไทย
2.) การจัดตั้งกลุ่มประชาอาสา เพื่อสนับสนุนโครงการหลวง ให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน ในถิ่นทุรกันดาร เพื่อกระจายโอกาสให้ผู้ด้อยโอกาส ทำให้เกิดความเท่าเทียมกัน ในด้านการรักษาพยาบาล
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ พันเอกหญิงถนอมศรี ศรีชัยกุล และคณะ
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
1.) การวิจัยเรื่อง Malaria แบ่งเป็น 2 ตอน คือ
1.1) Malarial Pigment และการเปลี่ยนแปลงในหน้าที่ของตับ ในผู้ป่วยมาลาเรีย
1.2) การเปลี่ยนแปลงทางเลือดและการเกิดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยมาลาเรีย และการรักษาร่วม (Adjunctive Therapy) โดยการเปลี่ยนถ่ายเลือดในผู้ป่วยมาลาเรีย ที่มีภาวะแทรกซ้อนรุนแรง
2.) การวิจัยเรื่อง การเปลี่ยนแปลงทาง Hemostasis ในผู้ป่วยไข้เลือดออก
3.) การวิจัยเรื่อง Lymphoid Malignancy: Malignant Lymphoma และ Hemophagocytic Syndrome
4.) การวิจัยเรื่อง การรักษาผู้ป่วย Idiopathic Thrombocytopenia Purpura (ITP) ที่มีปัญหาในประเทศไทย
ปี พ.ศ. 2549
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ประเสริฐ ทองเจริญ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
“การศึกษาวิจัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย” ได้แก่
1.) การศึกษาวิจัยโรคหัดเยอรมัน
2.) การศึกษาวิจัยโรคตาแดงชนิดใหม่ (Epidemic Acute HemorrHagic Conjunctivitis)
3.) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคพิษสุนัขบ้า
4.) การให้วัคซีนโปลิโอชนิดกินในประเทศไทย
5.) การศึกษาโรคไข้เลือดออก
6.) โรคไข้สมองอักเสบเจแปนีส เอ็นเซฟาไลติส (Japanese Encephalitis Viral Disease) หรือเจอี
7.) การศึกษาวิจัยโรคเอดส์
8.) การศึกษาวิจัยเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่ โรคซาร์ส โรคติดเชื้ออื่น ๆ ของทางเดินหายใจ
ปี พ.ศ. 2550
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงวันดี วราวิทย์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล :
“การศึกษาวิจัยด้านโรคติดเชื้อไวรัสที่เป็นปัญหาทางสาธารณสุขของประเทศไทย” ได้แก่
1.) การวิจัยเพื่อพัฒนาการใช้สารน้ำเกลือ – น้ำตาลทางปาก รักษาโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันในประเทศไทย
2.) การรักษาและควบคุมโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลันอย่างครบวงจร
นายแพทย์ปรีดา มาลาสิทธิ์ และคณะ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “เครือข่ายงานวิจัยโรคไข้เลือดออกและไวรัสไข้เลือดออก”
ปี พ.ศ. 2551
นายแพทยศัลยเวทย์ เลขะกุล
มูลนิธิหู คอ จมูกชนบท ราชวิทยาลัย โสต ศอ นาสิกแพทย์ แห่งประเทศไทย
ผลงานที่ได้รับรางวัล : “โครงการหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ มูลนิธิหู คอ จมูกชนบท”