{:th}The Model of Circulating Immune Complexes and Interleukin – 6 Improves the Prediction of Disease Activity in Systemic Lupus Erythematosus{:}{:en}The Model of Circulating Immune Complexes and Interleukin – 6 Improves the Prediction of Disease Activity in Systemic Lupus Erythematosus{:}
July 26, 2018
{:th}ภาระทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ในการให้บริการผู้ป่วยต่างด้าวของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี{:}{:en}Medical and Economic Burden of Healthcare Services for Immigrants at Phaholpolpayuhasena Hospital, Kanchanaburi{:}
July 31, 2018

{:th}คุณค่าทางโภชนาการ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระ ของทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี{:}{:en}Biodiversity for Nutritional Values of Indigenous Durian (Durio zibethinus Murr.) in Nonthaburi Province, Thailand{:}

{:th}

คุณค่าทางโภชนาการ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระ ของทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี

สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ผลงานวิจัย :

คุณค่าทางโภชนาการ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และสารต้านอนุมูลอิสระ ของทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี

ผู้วิจัย :

รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์
รศ.ดร.สมศรี เจริญเกียรติกุล
น.ส.ภรัณยา ธิยะใจ

โครงการนี้ศึกษาทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นจำนวน 17 พันธุ์ จากสวนต่าง ๆ ในจังหวัดนนทบุรี เก็บตัวอย่าง และศึกษาเนื้อทุเรียนเฉพาะส่วนที่กินได้ วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ และฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ผลการศึกษาพบว่าทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่นมีประโยชน์หลายด้าน เช่น โปรตีน ไขมันชนิดดี ใยอาหาร โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส แคโรทีนอยด์ และสารต้านอนุมูลอิสระ แต่ทุเรียนมีความหวาน และปริมาณคาร์โบไฮเดรทค่อนข้างมาก เมื่อพิจารณาข้อมูลสารอาหารที่เป็นประโยชน์และโทษต่าง ๆ แล้ว พบว่าทุเรียนพันธุ์ที่ดี ได้แก่ กบวัดกล้วย กบสาวน้อย กบไว กบพิกุล และกำปั่นพวง อย่างไรก็ตาม แนะนำให้จำกัดปริมาณการทานทุเรียนในแต่ละครั้ง หรือแต่ละวันให้เหมาะสม การศึกษานี้จึงมีประโยชน์ในการทำให้ได้ฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการของทุเรียนพันธุ์ท้องถิ่น ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงทางวิชาการ ซึ่งผู้ใช้ข้อมูล โดยเฉพาะชาวสวน สามารถนำไปคัดเลือกพันธุ์ ส่งเสริมการปลูก หรือการใช้ประโยชน์ต่อไป ในขณะที่ผู้บริโภคสามารถเลือกบริโภคได้ถูกต้อง และเหมาะสมกับภาวะแต่ละบุคคล เพื่อให้มีโภชนาการ และสุขภาพที่ดี นอกจากนั้นหลังจากได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติแล้ว ข้อมูลจะบรรจุอยู่ในฐานข้อมูลคุณค่าทางโภชนาการแบบออนไลน์ (http://www.inmu.mahidol.ac.th/thaifcd/home.php)

NU_2561-01-01
NU_2561-01-02

การนำไปใช้ประโยชน์ : เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจคัดเลือกพันธุ์ เพื่อการปลูก และการอนุรักษ์พันธุ์ทุเรียน เป็นประโยชน์ในการประเมินการบริโภคอาหาร และให้ความรู้เพื่อการบริโภคที่เหมาะสมต่อสุขภาพ

การเผยแพร่ผลงาน : นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ในการประชุมนานาชาติ

รางวัลที่ได้รับ : รางวัลนำเสนอผลงานดีเด่นแบบโปสเตอร์ ในการประชุมนานาชาติ International Food Data Conference ครั้งที่ 12 ณ เมืองบัวโนสไอเรส ประเทศอาเจนติน่า

การติดต่อ :
รศ.ดร.ครรชิต จุดประสงค์
สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล
kunchit.jud@mahidol.ac.th

{:}{:en}

Biodiversity for Nutritional Values of Indigenous Durian (Durio zibethinus Murr.) in Nonthaburi Province, Thailand

Institute of Nutrition, Mahidol University

Title :

Biodiversity for Nutritional Values of Indigenous Durian (Durio zibethinus Murr.) in Nonthaburi Province, Thailand

Researchers :

Kunchit Judprasong
Somsri Charoenkiatkul
Parunya Thiyajai

This research investigated 17 varieties of indigenous durian from different garden in Nonthaburi province. Edible part of each variety was collected and studied several nutrients, bioactive compounds and antioxidants. All varieties of durian contained considerable amount of various beneficial nutrient such as protein, monounsaturated fat, dietary fiber, potassium, phosphorus, carotenoids and antioxidants. On the other hand, they contained high amount of carbohydrate which sugar was major component (50-90%). In combination of high benefit compounds and low unhealthy nutrients, best varieties were Kob-wat-kuay, Kob-sao-noi, Kob-wai, Kob-pi-kul, and Kum-pun-puang. However, limit amount of consumption in each time or each day was recommended. This study provides scientific data which could be added to the national database and used for gardener to growing and further utilization, for consumer to understand how to make the right choices for individual health. In addition, these data will be added into the online Thai food composition database (http://www.inmu.mahidol.ac.th/thaifcd/home.php) after published in the international journal.

NU_2561-01-01
NU_2561-01-02

Applied Research Project to Usage : This study provides scientific data which could be added to the national database and used for gardener to growing and further utilization, for consumer to understand how to make the right choices for individual health.

Publishing : Present a Poster at International Conference

Award Grant related to the Project : Best Poster Presentation Award at the 12th International Food Data Conference (12-IFDC); 2017 Oct. 11-13; Buenos Aires, Argentina.

Key Contact Person :
Assoc.Prof.Kunchit Judprasong, Ph.D.
Institute of Nutrition, Mahidol University
kunchit.jud@mahidol.ac.th

{:}